ถือเป็นการปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของดัชนีดาวโจนส์ที่ตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ปรับตัวขึ้นมาแล้วมากกว่า 900 จุดคิดเป็นการปรับตัวขึ้นเกือบ 4% ซึ่งสาเหตุที่ดันให้ดัชนีดาวโจนส์สามารถขึ้นได้อย่างมั่นใจมีเหตุผลประกอบอยู่ 3 ประการด้วยกัน
- บริษัทโมเดอร์นา (NASDAQ:MRNA) ซึ่งเป็นบริษัทในธุรกิจไบโอเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกามีรายงานข่าวดีเกี่ยวกับกับการทดสอบวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาในมนุษย์
-
การให้สัมภาษณ์ของประธานเฟดนายเจอโรม พาวเวลล์มีท่าทีที่ดีขึ้น เขากล่าวว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังไม่หมดกระสุนกระตุ้นเศรษฐกิจในเร็วๆ นี้แน่นอนหลังจากที่ก่อนหน้านี้เขาได้เป็นคนพูดเองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เตรียมซึมยาวไปอย่างน้อย 18 เดือน
- สหรัฐฯ และประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกเริ่มกลับมาเปิดเมืองแล้ว
เมื่อนำข่าวปัจจัยพื้นฐานทั้งสามมารวมกันจึงไม่แปลกใจเลยที่ทำไมนักลงทุนในตลาดถึงได้เชื่อมั่นในขาขึ้นขนาดนี้ ในฐานะนักวิเคราะห์เราก็อยากจะเห็นด้วยกับตลาดเพียงแต่ว่าชุดของแท่งเทียนขาลงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องทำให้เราอดคิดไม่ได้เลยว่าดัชนีดาวโจนส์จะยังสามารถขึ้นต่อไปได้จริงหรือไม่
ทำไมเราถึงเอาแต่มองว่ากราฟมีแต่จะเข้าสู่แนวโน้มขาลง? ก่อนอื่นเราเรียกแนวโน้มขาขึ้นตอนนี้ว่า “แนวโน้มขาขึ้นระยะสั้น” ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 7 เมษายนหลังจากที่ราคาสร้างชุดรูปแบบ peak & trough ขาขึ้นติดต่อกันได้สำเร็จ จากนั้นในช่วงปลายเดือนเมษายนจะเห็นว่านักลงทุนในตลาดไม่สามารถประคองขาขึ้นที่มีให้ดำเนินต่อไปได้และนั่นก็นำมาสู่รูปแบบสามเหลี่ยมลู่ขึ้น (Rising Wedge) โดยปกติรูปแบบนี้จะนำไปสู่แนวโน้มขาลง จุดนี้ทำให้เราเชื่อในระดับหนึ่งว่ากราฟมีสิทธิ์จะกลับเข้าไปในแนวโน้มขาลงต่อ
ที่กล่าวมานั่นคือสัญญาณขาลงสัญญาณแรกและในตอนนี้เราก็ได้เห็นสัญญาณขาลงที่สองเกิดขึ้นเมื่อกราฟได้สร้างรูปแบบหัวไหล่ของขาลงขึ้นมา นอกจากการเกิดขึ้นของหัวไหล่จะเป็นการยืนยันรูปแบบสามเหลี่ยมลู่ลงก่อนหน้าแล้ว ราคายังสามารถลงมาทำรูปแบบให้สมบูรณ์ได้ด้วยการทะลุเส้น neckline เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม
สิ่งที่เกิดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคมคือความพยายามที่จะปรับตัวลดลงตามรูปแบบขาลงทั้งหมดที่เกิดขึ้นแต่ราคาก็ยังสามารถดีดกลับขึ้นมาได้เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้วและมีราคาปิดเหนือกว่าเส้น neckline เล็กน้อย ตอนแรกแท่งเทียนแท่งนี้ก็ยังไม่มีความสำคัญมากจนกระทั่งวันศุกร์ที่ผ่านมาเมื่อราคายังคงวิ่งสูงขึ้น คราวนี้สามารถยืนเหนือเส้น neckline ได้แต่ก็ยังไม่ผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 200 DMA ขึ้นมาซึ่งแสดงให้เห้นว่าขาลงยังเป็นผู้คุมเกมอยู่
และเมื่อวันจันทร์ล่าสุดดัชนีดาวโจนส์สามารถปรับตัวขึ้นได้อีกครั้งและสามารถขึ้นยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 DMA ไปได้ที่สำคัญยังสามารถขึ้นไปทดสอบส่วนหัวของรูปแบบหัวไหล่อีกด้วย คำถามคือแล้วทำไมเราถึงยังมองว่ากราฟจะปรับตัวลดลง? คำตอบคือเราค่อนข้างเป็นกังวลว่าเมื่อดัชนีสามารถวิ่งกลับขึ้นมาถึงจุดสูงสุดตรงนี้ได้อีกรอบจะมีนักลงทุนบางส่วนที่ตัดสินใจปิดออเดอร์เพื่อทำกำไรไปก่อน พวกเขาจะรอให้ราคาปรับตัวลดลงก่อนที่จะไปรอซื้ออยู่ด้านล่าง
ถึงกระนั้นเราจะยังไม่ยอมเรียกขาขึ้นในตอนนี้ว่าขาขึ้นจริงๆ แม้รูปแบบหัวไหล่ที่พูดถึงอาจจะไม่สามารถพาราคาลงไปได้สำเร็จ แต่หากจะเป็นขาขึ้นแล้วดาวโจนส์ต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยการสร้างจุดสูงสุดใหม่ให้ได้เสียก่อน ที่สำคัญคือต้องทะลุเส้นแนวต้านจากรูปแบบ Rising Wedge ให้ได้และทำลายรูปแบบ double-top ทิ้งไป สุดท้ายเรามองว่ายังมีแนวต้านจิตวิทยาอยู่ที่ 25,000 ซึ่งจะส่งผลต่อทิศทางการวิ่งของราคาอย่างมีนัยสำคัญ
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่าราคาจะสามารถทะลุจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 29 เมษายนขึ้นไปได้อย่างน้อย 3% และยืนเหนือระดับราคา 25,500 จุดตามด้วยการวิ่งกลับลงมาทดสอบแนวรับใหม่ หรืออีกทางหนึ่งหากจะให้มองว่าจะทำการขาย นักลงทุนกลุ่มนี้จะรอขายต่อเมื่อกราฟลงมาต่ำกว่า 22,130 จุดโดยมีแท่งเทียนยืนยันขาลงเช่นเดียวกับที่รอในตลาดขาขึ้น
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะเข้าซื้อเช่นกันแต่จะรอให้ราคาทะลุแนวต้านเพียง 2% จากนั้นกราฟต้องสามารถวิ่งขึ้นเหนือแนวต้านที่ 29 เมษายนให้ได้และมีระดับราคาสูงกว่า 25,250 จุด ส่วนขาลงขอเพียงกราฟหลุดระดับราคาที่ 22,345 ลงมาได้ก็พอ
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะเสี่ยงเทรดสวนแนวโน้มหลักซึ่งพวกเขาเชื่อในภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจระยะยาวที่ประธานเฟดพูดเอาไว้ในครั้งที่แล้วมากกว่า ตอนนี้ยากที่จะตัดสินใจว่าแนวโน้มไหนจะเป็นฝ่ายกุมตลาดได้นานกว่า อย่างไรก็ตามการจะเทรดสวนแนวโน้มมีความเสี่ยงสูงและนักลงทุนในกลุ่มนี้จะต้องเป้นคนที่มีวินัยในการลงทุนสูงพอ
ตัวอย่างการเทรด (สำหรับขาขึ้น)
- จุดเข้า: 24,700
- Stop-Loss: 25,000
- ความเสี่ยง: 300 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:23,200
- ผลตอบแทน: 1,500 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:5
ไม่อยากพลาดบทวิเคราะห์ดีๆ อย่าลืมกด "ติดตาม" นะครับ
.......
ดูกราฟดัชนีหุ้นในอเมริกา