📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

เราคงมุมมองเดิมว่า การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำอาจเริ่มจำกัดลง

เผยแพร่ 15/10/2567 09:28

Economic Highlight

ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) และผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย พร้อมติดตามรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนและพัฒนาการของสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางอย่างใกล้ชิด  

**ราคาทองคำ = Spot Gold price (XAUUSD

FX Highlight

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะในช่วงต้นสัปดาห์ ตามการปรับลดความคาดหวังการเร่งลดดอกเบี้ยของเฟด และความต้องการถือเงินดอลลาร์ในช่วงตลาดกังวลความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
  • อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์มีจังหวะชะลอการแข็งค่าขึ้นบ้าง หลังยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน (U of Michigan Consumer Sentiment) ออกมาแย่กว่าคาด 
  • ในส่วนของเงินบาทนั้น แม้จะอ่อนค่าลงบ้าง ตามจังหวะการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ในช่วงต้นสัปดาห์ แต่เงินบาทก็ไม่ได้อ่อนค่าต่อเนื่องไปมาก ตามแรงขายเงินดอลลาร์ของผู้เล่นในตลาด ทั้งฝั่งผู้ส่งออกและผู้ที่มีสถานะ Long USDTHB (มองเงินบาทอ่อนค่า) นอกจากนี้ เงินบาทยังได้แรงหนุนในช่วงปลายสัปดาห์จากจังหวะอ่อนค่าลงบ้างของเงินดอลลาร์ การรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ และการแข็งค่าขึ้นของเงินหยวนจีน (CNY)
  • เราคงมุมมองเดิมว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทนั้นยังมีอยู่ แต่ในระยะสั้นโมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทได้ชะลอลง เปิดโอกาสให้เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นได้บ้างในระยะสั้น หรืออาจกล่าวได้ว่าเงินบาทอาจแกว่งตัวในกรอบ sideways
  • โดยเราจะยังคงมั่นใจในแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาท ตราบใดที่เงินบาทไม่ได้แข็งค่าทะลุโซน 33.00-33.10 บาทต่อดอลลาร์ อย่างชัดเจน
  • ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย โดยหาก กนง. ลดดอกเบี้ย เซอร์ไพรส์ตลาด และส่งสัญญาณพร้อมลดดอกเบี้ยลงเพิ่มเติม หรือ ในกรณีที่ กนง. คงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ แต่ส่งสัญญาณชัดเจน พร้อมลดดอกเบี้ยลง (อาจเห็นจำนวนคณะกรรมการโหวตลดดอกเบี้ยที่มากขึ้น พร้อมการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจ) ก็อาจกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้ไม่ยาก แต่หาก กนง. คงดอกเบี้ยตามเดิมและย้ำจุดยืนไม่รีบลดดอกเบี้ย ก็อาจทำให้เงินบาททรงตัวหรือแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย
  • ในส่วนของแนวโน้มเงินดอลลาร์นั้น เรามองว่า เงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้นต่อได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ออกมาแย่กว่าคาด โดยเฉพาะในส่วนของยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (แต่มีความเสี่ยงที่ข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ในระยะสั้นอาจออกมาไม่ดี จากผลกระทบของสภาพอากาศที่แปรปรวน/พายุเฮอริเคน) 
  • เงินดอลลาร์อาจได้แรงหนุนเพิ่มเติม หากเงินยูโร (EUR) อ่อนค่าลงบ้าง ในกรณีที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ลดดอกเบี้ยตามคาดและส่งสัญญาณที่ชัดเจนพร้อมเดินหน้าลดดอกเบี้ยเพิ่ม ทว่า การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์อาจเป็นไปอย่างจำกัดและอาจถูกชะลอลงได้ ในกรณีที่ เงินปอนด์อังกฤษ (GBP) แข็งค่าขึ้นบ้าง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจอังกฤษในสัปดาห์นี้ออกมาดีกว่าคาด
  • เรามองว่า ควรจับตาทิศทางเงินหยวนจีน (CNY) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเงินบาทได้ โดยต้องจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีนในสัปดาห์นี้ ว่าจะทำให้ผู้เล่นในตลาดเชื่อมั่นในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ เราประเมินว่า เงินหยวนจีนจะไม่ได้แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องชัดเจนจนทะลุระดับ 7 หยวนต่อดอลลาร์ ได้ง่ายนัก จนกว่าตลาดจะรับรู้ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน
  • นอกเหนือจากปัจจัยข้างต้น เรามองว่า  ควรจับตารายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้ พร้อมจับตาทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ
  • ทั้งนี้ โฟลว์ธุรกรรมทองคำและสินค้าโภคภัณฑ์พลังงาน อาจส่งผลกระทบต่อทิศทางเงินบาทได้พอสมควร ซึ่งต้องจับตาพัฒนาการของสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางอย่างใกล้ชิด 
  • ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI MACD และ Stochastic ใน Time Frame รายวัน สำหรับ USDTHB สะท้อนว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทนั้นชะลอลงชัดเจนขึ้น และมีโอกาสที่เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นได้บ้างในระยะสั้น หรือ อย่างน้อยอย่างแกว่งตัวในกรอบ sideways
  • ส่วนสัญญาณจาก RSI Stochastic และ MACD ใน Time Frame H4 สะท้อนว่า โมเมนตัมการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทยังมีอยู่ ทว่าสัญญาณจาก RSI, Stochastic และ MACD สำหรับ Time Frame H1 สะท้อนว่าการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาอาจเริ่มชะลอลงแถวโซนแนวรับ 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์
  • โดยรวม เราประเมินว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทยังมีอยู่ แต่ก็ชะลอลง ทำให้มีโอกาสที่เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นบ้างในระยะสั้น หรืออย่างน้อยก็แกว่งตัว sideways ไปก่อน ซึ่งเราจะยังคงมุมมองเดิมว่าเงินบาทอาจอ่อนค่าลงต่อได้ ตราบใดที่เงินบาทไม่ได้แข็งค่าขึ้นจนทะลุโซน 33.00-33.10 บาทต่อดอลลาร์ ได้อย่างชัดเจน
  • เงินบาทอาจยังติดแนวต้านแถว 33.50 บาทต่อดอลลาร์ แต่หากอ่อนค่าผ่านได้ก็อาจมีแนวต้านถัดไปแถว 33.65 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่โซนแนวรับแรกจะอยู่แถว 33.00 บาทต่อดอลลาร์ โดยจะมีแนวรับถัดไปแถว 32.85 บาทต่อดอลลาร์

Gold Highlight

  • แม้ราคาทองคำจะยังคงได้แรงหนุนจากความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ทว่าจังหวะการปรับตัวขึ้นของเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ก็มีส่วนกดดันราคาทองคำในช่วงต้นสัปดาห์ก่อน
  • เราคงมุมมองเดิมว่า การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำอาจเริ่มจำกัดลง และราคาทองคำก็อาจยังอยู่ในช่วงของการพักฐาน หรือการทำฐานราคา เพื่อรอรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม
  • อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำจะยังพอได้แรงหนุน จากแรงซื้อ “Buy on Dip” ของผู้เล่นในตลาด ตราบใดที่ตลาดยังคงกังวลสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง 
  • เรามองว่า หากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางไม่ได้ทวีความรุนแรงและบานปลายมากขึ้น ราคาทองคำก็อาจขาดปัจจัยหนุนและยังคงปรับฐานต่อได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ผู้เล่นในตลาดยังคงปรับมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดไปมา 
  • สำหรับแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดนั้น ผู้เล่นในตลาดเริ่มให้โอกาสที่เฟดจะคงดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพฤศจิกายนนี้ พร้อมทั้งมุมมองใหม่ว่า เฟดอาจไม่ได้เร่งลดดอกเบี้ยหรือลดดอกเบี้ยไปมากเหมือนที่เคยประเมินไว้ ซึ่งต้องจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด
  • ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI MACD และ Stochastic ในTime Frame รายวัน ชี้ว่า ราคาทองคำยังคงมีโอกาสย่อตัวลงต่อได้บ้าง หรือ อย่างน้อยก็อาจแกว่งตัว sideways  
  • ในส่วน Time Frame H4 สัญญาณจากทั้ง RSI Stochastic และ MACD สะท้อนว่า การย่อตัวลงของราคาทองคำได้ชะลอลง เปิดโอกาสให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้น หรืออาจแกว่งตัว sideways ได้
  • แต่สัญญาณจาก RSI Stochastic และ MACD ของ Time Frame H1 สะท้อนความเสี่ยงที่ราคาทองคำอาจย่อตัวลงบ้าง โดยเราเห็นการเกิดภาพ RSI Bearish Divergence ขึ้น
  • โดยรวม เราประเมินว่า ราคาทองคำยังมีแนวโน้มอยู่ในช่วงการปรับฐานและอาจแกว่งตัว sideways แต่หากตลาดคลายกังวลปัญหาในตะวันออกกลาง ในช่วงที่ไม่มั่นใจแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ราคาทองคำก็มีโอกาสย่อตัวลงต่อได้ไม่ยาก 
  • โซนแนวต้านของราคาทองคำยังคงอยู่ในช่วง 2,670 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยมีแนวต้านถัดไปแถว  2,686 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่วนโซนแนวรับจะอยู่แถว 2,640 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยมีแนวรับถัดไปในช่วง 2,620 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และโซนแนวรับสำคัญในระยะสั้นแถว 2,600 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย