ภาพเศรษฐกิจในต่างประเทศส่งสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจนขึ้นตามลำดับ โดย ล่าสุดตัวเลข PMI ภาคการผลิต มี.ค.67 ของจีน กลับมาอยู่ที่ 50.8 จุด ขณะที่ สหรัฐฯ ช่วงที่ผ่านมามีการปรับเพิ่มคาดการณ์GDP GROWTH ปี 2567 ขึ้นมา อยู่ที่ 2% ส่วนสัญญาณเงินเฟ้อก็อยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ดีขึ้น โดย PCE เดือน ก.พ.67 อยู่ที่ 2.5%YOY ตามคาด ทำให้ภาพการปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรก ชัดเจนมากขึ้นว่าจะอยู่ที่เดือน มิ.ย.67 ในอีกด้านหนึ่งบ้านเรา สัญญาณการฟื้น ตัวทางเศรษฐกิจยังแผ่วเบา ก่อนหน้านี้มีการปรับลดคาดการณ์ GDP GROWTH ปี 67 ลงมาอยู่บริเวณ 2.5 –2.8% ส่วนทิศทางดอกเบี้ยก็ยังไม่ชัดเจน เท่าที่ควร ภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าว เห็นได้ว่า เราอยู่ในภาวะที่ยังไม่มีแรง ดึงดูดให้FUND FLOW ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นบ้านเรา ขณะที่มูลค่าการซื้อขายของ นักลงทุนในประเทศก็มีไม่เพียงพอขับเคลื่อนตลาด ทำให้ยังอยู่ในโหมดรอฟื้นตัว
การซื้อขายที่เบาบาง ไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อน SET INDEX ให้เดินไปข้างหน้าได้ ขณะที่ยังไม่เห็นการไหลกลับของ FUND FLOW คาด SET INDEX อยู่ในกรอบ 1372 –1385 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BGRIM, TASCO และTU
ทิศทางดอกเบี้ย + การฟื้นตัวเศรษฐกิจบ้านเราชัดเจนเมื่อไหร่ คาดหนุน FLOW ไหลเข้าไทยมากขึ้น
วันศุกร์ที่ผ่านมามีรายงานดัชนีเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ เดือน ก.พ.67 ออกมา +2.5%YOY ตามคาด ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ +2.4% อย่างไร ก็ตาม นักลงทุนยังคงมีมุมมองว่า FED จะเห็น FIRST RATE CUT ในการประชุมรอบ วันที่ 12 มิ.ย. นี้ ด้วยโอกาสสูงถึง 66% และตลอดทั้งปีจะปรับลดดอกเบี้ยทั้งหมด 3 ครั้ง สอดคล้องกับคาดการณ์ DOT PLOT ทั้งนี้ แนวทางการดำเนินนโยบายการเงิน สหรัฐที่ค่อนข้างชัดเจน บวกกับภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังดูดี ช่วยหนุนให้เม็ดเงิน ไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงต่อเนื่อง ขณะที่ DOW JONES FUTURES เช้านี้บวกไปแล้วราว 140 จุด หรือ +0.34%
ในส่วนของบ้านเรา ธปท. ได้มีการแถลงภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน ก.พ.67 ซึ่งโดยรวม ยังขยายตัวอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ภาคบริการยังขยายตัวต่อเนื่องตามรายรับและจำนวน นักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ด้านการลงทุนภาคเอกชนและการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับ ดีขึ้นในบางหมวด ขณะที่การส่งออกสินค้าไม่รวมทองคำลดลงจากเดือนก่อน ภาวะดังกล่าว สะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวได้ยังไม่ชัดเจนมากนัก จึง ต้องการแรงกระตุ้นทั้งในส่วนของนโยบายการคลังที่เข้มข้น และนโยบายการเงินที่ผ่อน คลายมากขึ้น เพื่อหลีกหนีจากภาวะชะลอตัว
ขณะเดียวกันยังคงมีกระแสเรียกร้องห้ ธปท. ปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้ง จากนายกฯ ที่มี การกล่าวในงาน NEXT REAL หลังดอกเบี้ยไทยยืนอยู่ในระดับสูงที่ 2.5% เป็น ระยะเวลานาน นอกจากนี้เงินเฟ้อไทยยังติดลบมานานติดต่อกับเป็นเดือนที่ 5 ขณะที่ CONSENSUS คาดการณ์เงินเฟ้อไทยเดือน ก.พ. 67 ยังคงดิบลบที่ -0.4%YOY ทั้งนี้จึงต้องรอติดตามการประชุม กนง. วันที่ 10 เม.ย. นี้อย่างใกล้ชิด โดยช่วงการ เริ่มต้นลดดอกเบี้ย มักจะเป็นจุดเริ่มต้นการขึ้นรอบใหญ่ของ FIN เสมอ อาจจะหา โอกาสเข้าเก็งกำไร KTC, AEONTS,TIDLOR, MTC ได้
PMI จีนฟื้นเด่น โอกาสเก็บหุ้นอิงจีนในตลาดฯ
วันศุกร์ที่ผ่านมา สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS)รายงานตัวเลข ดัชนีผู้จัดการฝ่าย จัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนมี.ค. 2567 พลิกกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน โดยเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 50.8 จุด ในเดือนมี.ค.67 (สูงสุดในรอบ 1 ปี) จากระดับ 49.1 จุด ในเดือนก.พ.67 และ สูงกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 50.1 จุด ทั้งนี้ ดัชนี PMI ที่ ระดับสูงกว่า 50 บ่งชี้ว่ากิจกรรมทางธุรกิจอยู่ในภาวะขยายตัว ส่วนดัชนี PMI นอกภาค การผลิตซึ่งรวมภาคบริการและการก่อสร้าง ปรับตัวขึ้นสู่ 53.0 จุด ในเดือนมี.ค.67 จาก 51.4จุด ในเดือนก.พ.67ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ ก.ย.66
ถ้าดูข้อมูลตลาดหุ้นจีน CSI300 พบว่า เริ่มปรับตัวขึ้นมา 4.5%YTD และในช่วง 1 ปี เหลือ -11.7% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยยังปรับตัวขึ้นได้น้อยกว่าตลาดหุ้นจีนทั้ง 2 ระยะ คือ -2.7%(YTD) และในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา -14.5%
ด้วย PMI ที่ฟื้นตัวขึ้น ทำให้เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจจีนระยะ ถัดไป ทำให้หุ้นไทยที่อิงจีนมีโอกาส OUTPERFORM SET ในระยะถัดไป มิหนำซ้ำในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่หุ้นไทยที่อิงรายได้จากจีน ราคาหุ้นยัง LAGGARD กว่า ทั้ง ตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นจีน คือ SCGP IVL CENTEL HANA SCC PTTGC เป็นต้น
อย่างไรก็ตามภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังคงอยู่ในภาวะตกต่ำอย่างหนัก และเป็น อุปสรรคสำคัญต่อการเติบโต ส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของรัฐบาลท้องถิ่น และธนาคารรัฐวิสาหกิจหลายแห่งที่มีหนี้สินมาก
สรุป PMI จีนฟื้นเด่น ถือเป็นโอกาสเก็บหุ้นอิงจีนในตลาดหุ้นไทย โดยหุ้นที่ฝ่ายวิจัยฯ ชื่นชอบ คือ หุ้นไทยที่อิงรายได้จากจีน และราคาหุ้นยังลงเยอะกว่า SET คือ SCGP IVL CENTEL HANA SCC PTTGC เป็นต้น ส่วนวันนี้คาดกรอบการเคลื่อนไหวของ SET INDEX 1372-1385 จุด
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities