รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

เตรียมรับมือความผันผวน จากรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ

เผยแพร่ 11/03/2567 08:13
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่มั่นใจว่า เฟดจะลดดอกเบี้ยได้ในปีนี้ราว 3 ครั้ง เป็นอย่างน้อย จากทั้งถ้อยแถลงประธานเฟดและรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ชะลอลงมากขึ้น 
  • ควรจับตา รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด โดยเตรียมรับมือความผันผวนในช่วงตลาดรับรู้ รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI หากออกมาดีกว่าคาด
  • แม้เงินดอลลาร์จะย่อตัวลงตามคาดในสัปดาห์ก่อนหน้า ทว่าในสัปดาห์นี้ เรามองว่า ควรระวังการกลับมาแข็งค่า เร็วและแรงของเงินดอลลาร์ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดชัดเจน หรือ ตลาดพลิกกลับมาปิดรับความเสี่ยง ในส่วนของค่าเงินบาท เรามองว่าเงินบาทอาจแกว่งตัว sideways โดยโมเมนตัมการแข็งค่าอาจชะลอลงบ้าง และต้องระวังในกรณีที่ ราคาทองคำพลิกกลับมาปรับตัวลง หากเผชิญปัจจัยกดดัน อาทิ ตลาดกลับมากังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติอาจทยอยขายทำกำไรการรีบาวด์ของตลาดหุ้นไทย ที่มาพร้อมกับการแข็งค่าของเงินบาทได้ และที่สำคัญ ควรจับตาทิศทางสกุลเงินเอเชีย ทั้งเงินหยวนจีน (CNY) และเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ที่ส่งผลต่อเงินบาทพอสมควรในช่วงนี้
  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    35.00-35.80
    บาท/ดอลลาร์
  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯไฮไลท์สำคัญของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะอยู่ที่ รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนกุมภาพันธ์ โดยหากอัตราเงินเฟ้อ CPI ชะลอตัวลงต่อเนื่อง สู่ระดับ 3.1% หรือต่ำกว่า ส่วนโมเมนตัม (%m/m) ก็ชะลอลงเช่นกัน และเมื่อหักผลของราคาพลังงานและอาหารสด อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ก็ชะลอลงสู่ระดับ 3.7% หรือต่ำกว่า ก็อาจทำให้ ผู้เล่นในตลาดยังคงประเมินว่า การชะลอตัวลงต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อ จะทำให้เฟดมีโอกาสลดดอกเบี้ยลงได้ในปีนี้ ทว่า ต้องระวังในกรณีที่ อัตราเงินเฟ้อ ออกมาสูงกว่าคาด หรือ มีการเร่งตัวขึ้นมาก สวนกับสิ่งที่ตลาดคาดหวัง เพราะจะทำให้ ผู้เล่นในตลาดเริ่มกลับมากังวลว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่าที่ประเมินไว้ หรือ เฟดอาจชะลอการลดดอกเบี้ยไปจากที่ตลาดคาดว่า เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิถุนายน ซึ่งในกรณีดังกล่าว อาจทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ พลิกกลับมาปรับตัวขึ้นเร็วและแรงได้ นอกจากรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อื่นๆ อาทิ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนกุมภาพันธ์, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนกุมภาพันธ์ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน (U of Michigan Consumer Sentiment) เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ทั้งนี้ ในสัปดาห์นี้จะเข้าสู่ช่วง Black Out period ของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด (ไม่มีการให้ถ้อยแถลงเกี่ยวกับเศรษฐกิจและนโยบายการเงิน) ทำให้ ผู้เล่นในตลาดจะให้ความสำคัญต่อรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้ตลาดการเงินผันผวนสูงขึ้นได้ ในช่วงทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว    
    • ฝั่งยุโรปผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม รายงานข้อมูลการจ้างงานของอังกฤษ เพื่อประกอบการพิจารณา แนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) โดยหากยอดการจ้างงาน รวมถึงอัตราการว่างงานยังคงออกมาสดใสหรือดีกว่าคาด ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างมองว่า BOE อาจยังไม่รีบปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย (อาจเริ่มลดดอกเบี้ยในช่วงปลายไตรมาสที่ 2) นอกจากนี้ ตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) แนวโน้มเศรษฐกิจของทั้งฝั่งอังกฤษ ยูโรโซนและทิศทางนโยบายการเงินของบรรดาธนาคารกลางหลักดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร (EUR) และค่าเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) ได้ในระยะสั้น
    • ฝั่งเอเชียตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราการเติบโตเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 4 (คาดการณ์ครั้งสุดท้าย) ที่อาจออกมาขยายตัวเล็กน้อย +0.3%q/q สะท้อนว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่น ได้รอดพ้นจากภาวะ Technical Recession หลังจากคาดการณ์ในครั้งแรกนั้น เศรษฐกิจได้หดตัว -0.1%q/q นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามผลสำรวจครั้งแรกของการเจรจาต่อรองค่าจ้าง (Shunto) เพื่อประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่วนในฝั่งจีน ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาว่า ธนาคารกลางจีน (PBOC) จะมีการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย MLF 1 ปี ลงจากระดับ 2.50% ได้หรือไม่ โดยผู้เล่นในตลาดบางส่วนต่างคาดหวังว่า PBOC อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ย MLF-1 ปี ลง -15bps สู่ระดับ 2.35% เพื่อช่วยพยุงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายของทางการที่ +5% 

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย