Economic Highlight
ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ อาทิ ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม และอัตราการเติบโตของค่าจ้าง นอกจากนี้ ควรจับตา ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก โดยเฉพาะ เฟด และ ECB
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.
FX Highlight
- สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อ หลังผู้เล่นในตลาดยังคงเพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและโอกาสเฟดคงดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน
- แนวโน้มเงินดอลลาร์อาจขึ้นกับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด รวมถึงบรรยากาศในตลาดการเงิน
- หากบรรยากาศในตลาดการเงินยังไม่กลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง เงินดอลลาร์ก็อาจยังคงแกว่งตัว sideway หรือ แข็งค่าขึ้นได้ ในกรณีที่ตลาดปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น
- และที่สำคัญ ต้องจับตาการปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด โดยล่าสุด จาก CME FedWatch Tool ตลาดให้โอกาสราว 56% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยต่อ ซึ่งหากโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยต่อ รวมถึงโอกาสเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูง เพิ่มขึ้นอีก ก็อาจหนุนให้เงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้น พร้อมกับบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ได้
- ในส่วนค่าเงินบาท ต้องจับตาฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติว่าจะทยอยไหลเข้าสินทรัพย์ไทยต่อเนื่องได้มาก น้อยเพียงใด หลังการโหวตเลือกนายกฯ ได้เสร็จสิ้นลง
- โดยข้อมูลสถิติในอดีตชี้ว่า หากฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติไหลเข้าหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 3 หมื่นล้านบาท ก็อาจช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นราว +1% ได้
- ทั้งนี้ เรามองว่า นักลงทุนต่างชาติอาจจับตาดูความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลและคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะในส่วนของนโยบายด้านเศรษฐกิจ ก่อนที่จะเพิ่มสถานะการถือครองสินทรัพย์ไทยที่ชัดเจน
- อีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทิศทางค่าเงินบาท คือ โฟลว์ธุรกรรมทองคำ ซึ่งต้องรอลุ้นว่า ราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่องหรือไม่ หลังราคาทองคำได้รีบาวด์ขึ้นจริงตามที่เราประเมินไว้ในสัปดาห์ก่อน
- ส่วนโฟลว์ธุรกรรมในช่วงนี้ เรายังคงเห็นแรงซื้อเงินดอลลาร์จากบรรดาผู้นำเข้า ซึ่งอาจช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้โซนแนวรับของเงินบาทจะอยู่ในช่วง 34.90-35 บาทต่อดอลลาร์ และโซน 34.75 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวรับสำคัญถัดไป
- ขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกส่วนใหญ่ต่างก็รอจังหวะทยอยขายเงินดอลลาร์ ในช่วงเงินบาทอ่อนค่าลง (Sell on Rally) ส่วนผู้เล่นต่างชาติที่มีมุมมองเชิงบวกต่อค่าเงินบาท ต่างก็รอทยอยเพิ่มสถานะ Long ทำให้เรามองว่า เงินบาทอาจติดอยู่ในโซนแนวต้าน 35.50 บาทต่อดอลลาร์
- ในเชิงเทคนิคัล โมเมนตัมการแข็งค่าของเงินบาทเริ่มชะลอลงบ้าง หลังเงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับสัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ที่ชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideway หรือ sideway down (ทยอยแข็งค่า)
- นอกจากนี้ ในส่วนของ Time Frame ที่สั้นลง เช่น H4 และ H1 สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD ชี้ว่า โมเมนตัมการแข็งค่าของเงินบาทเริ่มแผ่วลง และมีโอกาสที่เงินบาทจะผันผวน sideway หรืออ่อนค่าลงได้บ้าง
Gold Highlight
- ราคาทองคำรีบาวด์ขึ้นได้จริงตามคาดและทยอยปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง หลังบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องได้ ทว่า การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำก็ถูกจำกัดโดยการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์
- สัปดาห์นี้ ลุ้นรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ที่อาจชี้ชะตาทิศทางราคาทองคำในระยะสั้นได้
- เราประเมินว่า ราคาทองคำอาจยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ชัดเจน จนกว่าตลาดจะทยอยปรับลดโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย หรือ โอกาสเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน ซึ่งต้องอาศัยภาพตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง
- ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ยังคงชี้ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อ หรือ แกว่งตัว sideway อย่างไรก็ดี หากพิจารณา Time Frame ที่สั้นลง อย่าง H4 และ H1 จะเริ่มเห็นสัญญาณว่า โมเมนตัมการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำเริ่มแผ่วลง จนกว่าราคาทองคำจะสามารถปรับตัวขึ้นยืนเหนือโซนแนวต้าน 1,950 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้
- เราคงเป้าราคาทองคำไว้ที่ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้เรายังคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะราคาทองคำปรับฐานในการทยอยเข้าซื้อได้
-
แสดงความคิดเห็น
เราสนับสนุนให้ท่านได้ใช้ช่องทางการแสดงความคิดเห็นนี้เพื่อสื่อสารสัมพันธ์กับผู้ใช้เว็บไซต์อื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนในทัศนคติและสอบถามข้อสงสัยกับผู้เขียนและสอบถามซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตามเพื่อให้การสื่อสารสัมพันธ์นี้เป็นไปอย่างเรียบร้อยที่เราทุกคนต้องการและคาดหวังดังนี้กรุณาพึงระลึกในข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้:
ผู้ที่โพสต์เนื้อหาข้อความสแปมหรือใช้เว็บไซต์นี้ไปในทางผิดจะถูกลบรายชื่อทิ้งจากเว็บไซต์และถูกปิดกั้นการลงทะเบียนเป็นสมาชิกในอนาคตซึ่งเป็นไปตามดุลพินิจของเว็บไซต์ Investing.com