Economic Highlight
ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ และของไทย นอกจากนี้ ควรรอลุ้น รายงานผลประกอบการบรรดาบริษัทจดทะเบียน และจับตาสถานการณ์การเมืองไทย ที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูงในช่วงนี้
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.
FX Highlight
- สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงตลาดปิดรับความเสี่ยง ทว่า เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลงบ้าง หลังยอดการจ้างงานสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าคาด
- หากตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) เงินดอลลาร์ก็มีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อได้บ้าง
- ทั้งนี้ เรามองว่า เงินดอลลาร์อาจอ่อนค่าลงต่อเนื่องได้พอสมควร หากรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ในวันพฤหัสฯ นี้ ชะลอลงต่อเนื่อง ทำให้ผู้เล่นในตลาดยิ่งมองว่า เฟดอาจจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว
- ในส่วนค่าเงินบาท สถานการณ์การเมืองของไทยที่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติยังไม่กลับเข้ามาซื้อสินทรัพย์ไทยและอาจทยอยขายสินทรัพย์ไทยเพิ่มเติม กดดันให้เงินบาทมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าได้
- อีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทิศทางค่าเงินบาท คือ โฟลว์ธุรกรรมทองคำ ซึ่งต้องรอลุ้นว่า ราคาทองคำจะสามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องได้หรือไม่ (ผู้เล่นในตลาดต่างรอทยอยขายทำกำไรทองคำ ซึ่งจะช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น)
- ส่วนโฟลว์ธุรกรรมในช่วงนี้ เราประเมินว่า บรรดาผู้ส่งออกอาจรอทยอยขายเงินดอลลาร์ในจังหวะเงินบาทอ่อนค่าลง (Sell on Rally) ส่วนผู้เล่นต่างชาติที่มีมุมมองเชิงบวกต่อค่าเงินบาท ต่างก็รอทยอยเพิ่มสถานะ Long ทำให้เรามองว่า เงินบาทอาจไม่ได้อ่อนค่าไปมากจนทะลุโซนแนวต้าน 34.90-35.00 บาทต่อดอลลาร์
- ในเชิงเทคนิคัล หลังจากที่เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงในสัปดาห์ก่อนหน้า สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ต่างชี้ว่า เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง แต่เริ่มมีสัญญาณความลังเล (แท่งล่าสุดอาจเป็น Doji หรือ Spinning Top)
- นอกจากนี้ ในส่วนของ Time Frame ที่สั้นลง เช่น H4 และ H1 สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD ชี้ว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทเริ่มแผ่วลง และมีโอกาสที่เงินบาทจะผันผวน sideway ในกรอบ โดยเงินบาทยังคงมีโซนแนวต้านแรกแถว 34.75 บาทต่อดอลลาร์ (แนวต้านถัดไป 34.90-35.00 บาทต่อดอลลาร์) ขณะที่แนวรับจะอยู่ในช่วง 34.50 บาทต่อดอลลาร์ เป็นโซนแรก และแถว 34.25 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวรับถัดไป
Gold Highlight
- ราคาทองคำปรับตัวลดลง ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ก่อนที่ราคาทองคำจะรีบาวด์ขึ้นได้บ้าง หลังยอดการจ้างงานสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด
- สัปดาห์นี้ รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ รวมถึงรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงิน เงินดอลลาร์ บอนด์ยีลด์ระยะยาวและราคาทองคำ
- เราประเมินว่า ราคาทองคำอาจยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ชัดเจน จนกว่าตลาดจะคลายกังวลประเด็นสหรัฐฯ ถูกปรับลดเครดิตเรทติ้ง รวมถึงตลาดมองว่า เฟดไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยต่อได้แล้ว ซึ่งต้องเห็นการชะลอลงต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อ CPI (โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI)
- หากทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ทยอยปรับตัวลดลง เรามองว่า ราคาทองคำก็สามารถปรับตัวขึ้นทดสอบโซนแนวต้านได้ไม่ยาก
- ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ยังคงชี้ว่า ราคาทองคำอาจแกว่งตัวในกรอบ หรือมีโอกาสย่อตัวลงบ้าง แต่หากพิจารณา Time Frame ที่สั้นลง อย่าง H4 และ H1 จะเห็นว่า ราคาทองคำยังมีแนวโน้มรีบาวด์ขึ้นได้บ้าง แต่อาจติดโซนแนวต้าน 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์
- เราคงเป้าราคาทองคำไว้ที่ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้เรายังคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะราคาทองคำปรับฐานในการทยอยเข้าซื้อได้