จับตารายงานตลาดแรงงานสหรัฐฯ ทั้งยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) และอัตราการเติบโตของค่าจ้าง นอกจากนี้ ควรจับตาสถานการณ์การเมืองไทยอย่างใกล้ชิด
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค.
FX Highlight
- สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน โดยมีจังหวะพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้น จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาด ก่อนที่จะอ่อนค่าลงในช่วงวันศุกร์หลังอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ออกมาต่ำกว่าคาด
- เราพบว่า สถานะการถือครองเงินดอลลาร์ยังคงเป็น Net Short (ผู้เล่นในตลาดมองเงินดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าลง) และผู้เล่นในตลาดได้มีการทยอยเพิ่มสถานะดังกล่าว ทำให้ หากข้อมูลเศรษฐกิจออกมาแย่กว่าคาด เช่น ข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ หรือ ดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ ต่ำกว่าคาด ก็อาจทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อได้
- อย่างไรก็ดี ควรระวังความผันผวนจากปัจจัยการเมืองในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ แม้ว่านักลงทุนต่างชาติจะเริ่มกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย แต่หากสถานการณ์การเมืองมีแนวโน้มวุ่นวายมากขึ้น ก็อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติสามารถกลับมาขายหุ้นไทยต่อได้
- สำหรับฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติในส่วนตลาดบอนด์ เราเห็นสัญญาณการกลับมาซื้อบอนด์ระยะกลาง-ระยะยาว ซึ่งฟันด์โฟลว์ดังกล่าวอาจช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้บ้าง
- อีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทิศทางค่าเงินบาท คือ โฟลว์ธุรกรรมทองคำ โดยเรายังคงเห็นทั้งแรงซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว และโฟลว์ขายทำกำไรการรีบาวด์ของราคาทองคำ ตามแนวโน้มการเคลื่อนไหว sideway ของราคาทองคำในช่วงนี้
- ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD ชี้ว่า โมเมนตัมฝั่งอ่อนค่าของเงินบาทเริ่มแผ่วลง ทำให้เรามองว่า เงินบาทอาจเคลื่อนไหว Sideway หรือ อาจทยอยแข็งค่าแบบ Sideway Down
- เรามองว่า เงินบาทจะแกว่งตัวในกรอบใหม่ หลังเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีแนวต้านใหม่ คือ โซน 35.65-35.75 บาทต่อดอลลาร์ ในส่วนของแนวรับนั้น อาจอยู่ในช่วง 35.15-35.25 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งหากเงินบาทแข็งค่าหลุดโซนดังกล่าวก็อาจแข็งค่าต่อทดสอบแนวรับสำคัญแถว 35.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้ไม่ยาก
Gold Highlight
- ราคาทองคำเคลื่อนไหว sideway down กดดันจากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และแนวโน้มการใช้เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของบรรดาธนาคารกลางหลัก ที่หนุนให้บอนด์ยีลด์ระยะยาวต่างปรับตัวสูงขึ้น
- ในช่วงต้นสัปดาห์ หากตลาดเปิดรับความเสี่ยงต่อเนื่อง ก็อาจกดดันให้ราคาทองคำย่อตัวลงได้บ้าง แต่เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดต่างก็รอจังหวะราคาทองคำย่อตัวในการทยอยเข้าซื้อ (Buy on Dip)
- ควรจับตา การปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มนโยบายการเงินเฟด ซึ่งต้องรอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่าง ข้อมูลการจ้างงานล่าสุด รายงานการประชุมเฟด และ ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด
- ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD เริ่มชี้ว่า ราคาทองคำมีโอกาสแกว่งตัว sideway up หรือทยอยปรับตัวขึ้นได้
- เราคงเป้าราคาทองคำไว้ที่ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้เรายังคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะราคาทองคำปรับฐานในการทยอยเข้าซื้อได้ ซึ่งอาจรอสัญญาณการกลับตัวที่ชัดเจนก่อนทยอยเข้าซื้อได้เช่นกัน
Economics Highlight