🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

ห่วงหน้า พะวงหลัง 

เผยแพร่ 27/03/2566 09:19
SETI
-

แม้ทางการของทั้ง สหรัฐฯ และ ยุโรป จะออกมาสร้างความมั่นใจในระบบสถาบัน การเงิน แต่ดูเหมือนว่า ยังไม่สามารถขจัดความกังวลของนักลงทุน และผู้ฝากเงิน ออกไปได้ทั้งหมด ซึ่งปรากฎให้เห็นผ่านการถอนเงินออกจากสถาบันการเงินขนาด กลาง-เล็ก ขณะที่ราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์การปรับตัวลดลง ผลดังกล่าวทำ ให้ธนาคารกลางต้องอัดฉีดเงินเข้าสู่สถาบันการเงินที่มีปัญหา ดังจะเห็นได้จาก ขนาดงบดุลของ Fed ที่กลับมาเพิ่มขึ้น ซึ่งที่สุดก็จะกลายเป็นเม็ดเงินที่ไหลเข้าสู่ ระบบเศรษฐกิจ สิ่งที่ห่วงไปข้างหน้าก็คือปัญหาเงินเฟ้อที่อาจลดลงช้ากว่าที่คาด หรืออาจกลับมาสูงขึ้น ขณะที่ก็ต้องพะวงหลังในเรื่องของปัญหาสถาบันการเงินที่ ยังไม่จบ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวอาจเกิดเหตุการณ์ที่สร้างผลกระทบในเชิง Sentiment ให้กับตลาดหุ้นบ้านเราได้ในอนาคต

แม้ SETIndex จะดีดตัวขึ้น แต่สิ่งที่เห็นลดลงสวนทางก็คือ มูลค่าการซื้อขาย ส่วน ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐาน ก็ยังอยู่ในภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง คาด SET Index อยู่ในกรอบ 1582 – 1600 จุด Top Pick เลือก CBG, CK และ PTTEP

ปัญหาสถาบันการเงินสหรัฐ-ยุโรปเข้ามากวนใจต่อเนื่อง คาดเป็น SENTIMENT เชิงลบต่อตลาดหุ้นในช่วงนี้

ผลพวงจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างๆ กำลังส่งผ่านปัญหาให้ยังสถาบัน การเงินมากขึ้น รวมถึงโอกาสในการลุกลามยังคงอยู่ ทำให้ระดับความกังวลในภาค ธนาคารเพิ่มขึ้นเช่นกัน สะท้อนจากยอดเงินฝากในธนาคารทั่วสหรัฐฯ ช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน มาลดลงหนักสุดในรอบเกือบ 1 ปีกว่า 9.84 หมื่นล้านเหรียญฯ เหลือเพียง 17.5 ล้านล้าน เหรียญฯ ขณะที่เงินฝากของธนาคารขนาดเล็กลดลงราว 1.2 แสนล้านเหรียญฯ สวนทาง กับธนาคารขนาดใหญ่ 25 แห่งที่เพิ่มขึ้นเกือบ 6.7 หมื่นล้านเหรียญฯ

ขณะเดียวกันความกังวลต่อระบบธนาคารล่าสุดตกมาอยู่ที่ Deutsche Bank ซึ่งเป็น ธนาคารยักษ์ใหญ่ของเยอรมนี หลังจาก Credit Default Swap (CDS) ซึ่งเป็นอนุพันธ์ ป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของดอยช์แบงก์พุ่งสูงสุดในรอบ 4 ปี นอกจากนี้ สัปดาห์ก่อน ทางธนาคารมีการประกาศว่าจะซื้อ Tier 2 Subordinated Debt ก่อน กำหนดที่ระยะเวลา 5 ปีจนทำให้เกิดแรงเทขายในหุ้น Deutsche Bank ปรับตัวลดลง กว่า -8.5% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยดังกล่าวยังกดดันตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง แรงราว -1.3% ถึง 1.8%

จากปัญหาภาคธนาคารที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน บวกกับปัญหาเงินเฟ้อในสหรัฐปละยุโรปที่ อาจมีแนวโน้มชะลอตัวได้ช้ากว่าคาด หลังตัวเลข PMI ภาคบริการในเดือน มี.ค. สูงกว่า คาดและเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และอาจทำให้ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินเชิง รุก จนนำไปสู่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวในระยะถัดไป ทั้งนี้จากความเสี่ยงดังกล่าว ฝ่ายวิจัย ประเมินว่าการประชุม กนง. ในวันที่ 29 มี.ค. นี้ บ้านเราไม่น่าจะมีความเร่งด่วนในการปรับ ขึ้นดอกเบี้ยแรง โดยคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 1.50% - 1.75% อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตาม ตัวเลขเงินเฟ้อต่อไป

สรุป ปัญหาสถาบันการเงินสหรัฐ-ยุโรปในปัจจุบัน โดย Deutsche Bank เป็นธนาคาร ที่ 5 ที่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงระบบธนาคาร หลัง CDS ของทางธนาคารพุ่งสูงสุดใน รอบ 4 ปีทำให้ระดับความกังวลเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็น Sentiment เชิงลบต่อตลาดหุ้น ในช่วงนี้

ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ผลักราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่งต่อถึง CPI

ความขัดแย้งระหว่างประเทศในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม โดย ล่าสุดประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ประกาศเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (25 มี.ค.66) ว่า รัสเซีย จะประจำการอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธี ในดินแดนของเบลารุส และมีแผนที่จะสร้างโรง เก็บอาวุธนิวเคลียร์ในเบลารุส ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ก.ค.66 ซึ่งการกระทำดังกล่าว ถือเป็น ครั้งแรกตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1990 ที่รัสเซียติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์นอกประเทศ ขณะที่ ประเทศเบลารุสมีพรมแดนติดกับประเทศสมาชิกนาโตถึง 3 ประเทศ คือ โปแลนด์ ลัตเวีย และลิทัวเนีย ซึ่งต้องติดตามท่าทีทางฝั่งสหรัฐฯ ว่ามีจะการตอบโต้อย่างไรบ้าง

ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีโอกาสทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นอีกครั้ง หากรัสเซียมีพัฒนาการ เชิงลบมากขึ้นต่อประเทศปฏิปักษ์มากขึ้น และหนุน Supply ในระบบหายไปเพิ่มเติม เฉก เช่นในอดีตที่ราคาน้ำมันดิบ WTI อยู่ที่ 92.81 เหรียญฯ(รัสเซียบุกยูเครน) และปรับตัวขึ้น สู่ระดับ 120 เหรียญฯ

ขณะที่ผลกระทบต่อมา คือ อัตราเงินเฟ้อมีโอกาสทรงตัวระดับสูง (5%YoY-7%YoY) โดย ล่าสุดเดือน ก.พ.66 CPI สหรัฐฯอยู่ที่ +6.0%YoY บวกกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมา ส่วนใหญ่ดีกว่าคาดทั้งสิ้น อาทิ PMI Manufacturing, Unemployment Rate, Nonfarm-Payroll, Initial Jobless Claims เป็นต้น ซึ่งเป็นงานที่ท้าทายของ Fed ที่จะ ทำให้ CPI กลับสู่ระดับเป้าหมายที่ระดับ 3%

สรุป ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่กลับมามีสัญญาณลบอีกครั้ง กดดันสินสรัพย์เสี่ยง ผันผวน แต่อาจหนุนให้ราคาน้ำมันยืนในระดับสูง ปัจจุบัน ราคาน้ำมัน WTI ใน ปัจจุบันอยู่ที่ 69.70 เหรียญฯ/บาร์เรล (+7.8% ในช่วง 5 วันทำการ) ซึ่งจะกระทบกับ ภาคการค้าระหว่างประเทศที่ต้องอาจต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และส่งผลให้อัตรา เงินเฟ้อของสหรัฐ-ยุโรป ยังทรงตัวในระดับสูงต่อไป

ตลาดหุ้นยังเผชิญปัจจัยกดดัน แต่สภาพคล่องคอยช่วยพยุงดัชนีหุ้น

ปัจจัยภายนอกยังคงเห็นความกังวล ธ.พ. ล้ม อย่างต่อเนื่อง สร้างความผันผวนให้ สินทรัพย์เสี่ยงในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามเห็นการเข้ามาแก้ปัญหา และเพิ่มสภาพคล่องใน ระบบธนาคาร ซึ่ง Fed ประกาศอัดฉีดเงิน เข้าสู่งบดุล (Balance Sheet) แล้วกว่า 3.9 แสนล้านเหรียญ ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หนุนงบดุลของสหรัฐล่าสุดอยู่ที่ 8.78 ล้านล้าน เหรียญ

สภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น เป็นหนึ่งในปัจจัยช่วยคอยพยุงดัชนีหุ้น เนื่องจากในอดีตจะสังเกตได้ ว่า เวลามี QE เข้ามาในระบบมักจะช่วยแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจให้ฟื้นได้ดีในระยะถัดไป สะท้อนได้ช่วงที่เกิด Covid-19 ในช่วงเดือน มี.ค. มีการเพิ่ม QE เข้าเข้ามาในระบบกว่า 3 ล้านล้านเหรียญ หนุน SET ฟื้นขึ้นมาได้เร็ว แม้ยังเผชิญวิกฤตโควิดอยู่ เช่นเดียวกับช่วง หลังวิกฤตซับไพร์ม ปี 2009 – 2012 มีการใช้ QE1, QE2 และ QE3 หุ้นไทยก็ปรับตัวฟื้น ขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะหุ้นใหญ่อย่าง ดัชนี SET50 ปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าหุ้นเล็ก อย่างดัชนี MAI ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากสถาพคล่องจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเข้ามาช่วยหนุนดัชนี ประเด็นดังกล่าวยังสอดคล้องกับปัจจุบัน ที่เริ่มเห็น Fund Flow ขายสุทธิน้อยลง และมี การสลับมาซื้อบ้างในบางวัน หลัง Fed มีการเพิ่มสภาพคล่อง

ขณะที่หุ้นใหญ่ SET50 และหุ้นเล็ก MAI เคยปรับตัวลงไปเกือบ -7% ในเดือนนี้ แต่ SET50 ฟื้นขึ้นมาได้เร็วกว่าเหลือ -1.37%mtd ส่วนหุ้นเล็กอย่าง MAI ยังฟื้นช้ากว่า -5.2%mtd
ดังนั้นยามปัจจัยภายนอกยังไม่แน่นอน แต่มีสภาพคล่องคอยพยุงสินทรัพย์เสี่ยง กล ยุทธ์เน้นเลือกหุ้นใหญ่มากกว่าหุ้นเล็ก ส่วน Top pick วันนี้ แนะนำหุ้นใหญ่อิงราคา น้ำมัน PTTEP, หุ้นรับเหมาขนาดใหญ่สุด CK และหุ้นขนาดใหญ่รับธีมหน้าร้อน CBG

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย