3 วันทำการที่ผ่านมา SET Index ปรับตัวลดลงมากว่า 90 จุด จากประเด็นความ กังวลเรื่องการปิดธนาคารในสหรัฐฯ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็น Sentiment ที่เข้ามา กระทบ โดยไม่มีแรงกดดันในทางพื้นฐานทำให้ต้องมีการปรับลดประมาณการกำไร และในอีกทางหนึ่ง น่าจะมีส่วนทำให้ทิศทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยในบ้านเรายากขึ้น ภาพดังกล่าวทำให้เมื่อมองในมุม Valuation ของตลาดหุ้นบ้านเราแล้วมีความ น่าสนใจมากขึ้น โดยที่ดัชนีปัจจุบันมีค่า Market Earning Yield Gap 4.52% และมีค่า PER ณ สิ้นปี 2566 ที่ 16.6 เท่า และเปิด Upside เมื่อเทียบกับเป้าหมาย SET Index ที่เราวางไว้ที่ 1610 จุด ส่วนตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน ก.พ. ที่ ประกาศออกมาอยู่ที่ 6% YoY เท่ากับ Consensus ช่วยลดแรงกดดันที่ Fed จะ ปรับขึ้นดอกเบี้ย โดยล่าสุดเพดานปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ลงมาอยู่ที่บริเวณ 5%
ในเชิงกลยุทธ์ ให้นำเงินสดที่สำรองไว้กลับมาทยอยซื้อหุ้นเข้าพอร์ตรอบใหม่ โดย เชื่อว่า SET Index น่าจะมีโอกาส Rebound ประเมินกรอบ 1517 – 1550 จุด Top Pick เลือก AMATA, GPSC, JMT และ ORI โดยให้ลดระดับเงินสดลง
อารมณ์ตลาดผ่อนคลายลง หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ ลดลงตามคาด
วานนี้ตลาดหุ้นต่างประเทศดีดตัวกลับขึ้นมาหลังปรับตัวลงแรงตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ โดยใน ฝั่งสหรัฐปรับตัวขึ้นกว่า +1.1% ถึง +2.1% ส่วนในฝั่งยุโรปปิดตัวในแดนบวกเช่นกันราว +1.2% ถึง +2.0% ขณะที่ Bond Yield สหรัฐ อายุ 2 ปีและ 10 ปี ปรับตัวขึ้นราว 6.9% และ 3.3% ตามลำดับ ทำให้ตัวเลข Inverted Yield Curve ระหว่าง Bond Yield 10 – 2 ปี ติดลบน้อยลง โดยล่าสุดอยู่ที่ -0.43% (เคยลงไปจุดต่ำสุดในรอบปีนี้ที่ระดับ -1.03%) เนื่องจาก ความกังวลเริ่มผ่อนคลายมากขึ้น ปัจจัยทั้งอัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่ทยอยปรับตัวลดลง บวกกับทางการสรัฐฯ เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนจากวิกฤตระบบธนาคารสหรัฐ
โดยอัตราเงินเฟ้อสหรัฐเดือน ก.พ. +6.0%YoY (ระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน นับตั้งแต่ เดือน ก.ย. 64) และ +0.4%MoM ตามคาด โดยชะลอตัวจากเดือน ม.ค. 66 ที่ระดับ +6.2%YoY และ +0.5%MoM หลังอาหารและพลังงานปรับตัวลดลง อย่างไรตามเงินเฟ้อ ภาคบริการยังคงทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง ซึ่งมาจากหมวดค่าเช่าที่พักอาศัยเป็นหลัก ทำ ให้ Core CPI เดือน ก.พ. +5.5%YoY ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ระดับ +5.6%YoY ส่งผลให้ Real Interest Rate (ดอกเบี้ย 4.75% - เงินเฟ้อ 6.0%) ยังติดลบอยู่ ที่ระดับ -1.25%
อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อสหรัฐในปัจจุบันที่ยังสูงกว่ากรอบเป้าหมายระดับ 2% น่าจะทำให้ Fed คงอัตราดอกเบี้ยทรงตัวไว้ในระดับสูงระยะหนึ่ง เพื่อให้ Real Interest Rate พลิก กลับมาเป็นบวก ซึ่งอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ Recession มากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่การดอกเบี้ยสหรัฐที่ขึ้นมาเร็วและแรงตั้งแต่ปี 2565 เริ่มเห็นผลกระทบที่ชัดขึ้น จาก สัญญาณการปิดตัวลงของสถาบันการเงินของสหรัฐ 3 แห่ง (Silvergate Capital, Silicon Valley Bank, Signature Bank) ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจทำให้ ปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูงกลับมาอีกครั้ง โดยสถานการณ์ล่าสุดทางการสหรัฐฯ เผยว่าเครื่องบิน ขับไล่ของรัสเซียได้ยิงโดรนลำหนึ่งของสหรัฐที่ปฏิบัติภารกิจเหนือทะเลดำ
สรุป อัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่ทยอยปรับตัวลดลง บวกกับทางการสหรัฐฯ เร่งสร้างความ เชื่อมั่นให้กับประชาชนจากวิกฤตระบบธนาคารสหรัฐ ทำให้ความกังวลเริ่มผ่อนคลาย ลง หนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงอย่าง ตลาดหุ้นมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังมี ความเสี่ยงที่ยังต่องติดตามอย่างใกล้ชิด ทั้งผลกระทบของดอกเบี้ยสหรัฐที่ขึ้นมาเร็ว และแรงตั้งแต่ปี 2565 อาจคงไว้ในระดับสูงต่อไปเพื่อกดเงินเฟ้อให้เข่าสู่กรอบเป้าหมาย ที่ 2% รวมถึงความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจทำให้ปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูงกลับมาอีก ครั้งหนึ่ง
TECHNICALของ SET INDEX เริ่มน่าสนใจไหม … มาดูกัน
การปรับลงของ SET Index วานนี้แรงมากถึง -3.13% มากกว่าดัชนี MSCI Asia Ex Japan ที่ลดลง -2.19% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเร่งปิดสถานะใน Single Stock Futures ที่ระดับสถานะคงค้างลดลงมากถึง 10% ซึ่งถือเป็นลดลงภายในวันเดียวมาก ที่สุดในรอบปีนี้ แต่อย่างไรก็ตามระดับสถานะคงค้าง (OI) ลดลงมาเหลือ 2.63 ล้าน สัญญาเป็นระดับต่ำสุดนับจาก ส.ค.ปี 2021
ถึงเชื่อว่าแรงกดดันจากประเด็นนี้จะลดลง ขณะที่หากประเมินในมุมของสัญญาณทาง เทคนิคพบว่าการปรับลงแรงของ SET Index วานนี้ได้ทำให้เกิดสัญญาณ Superoversold ในหลายเครื่องมือ อาทิ จำนวนหุ้นที่ยืนเหนือ Simple Moving Average (SMA) 10 วันที่เหลือเพียง 6% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ถือว่าเป็นระดับต่ำสุดใกล้เคียงกับ ช่วง COVID-19 ในเดือน มี.ค. 2020 หรือในมุมของ RSI ที่ลงมาที่ 16.09% ต่ำสุดเป็น อันดับ 4 นับจากปี 2000 สัญญาณ ซึ่งจากปี 2000 ที่ผ่านมาหาก RSI ลงมาต่ำกว่าระดับ 20% พบว่า SET Index จะสามารถปรับขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ในช่วง 1.72% - 1.90% ด้วยความน่าจะเป็น 65%
ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เชื่อว่าแรงกดดันต่างๆจะลดลงจึงคาด SET Index มีโอกาสรีบาวน์ ระยะสั้นตามกรอบ 1517-1550 จุด โดยฝ่ายวิจัยฯคัดกรองหุ้นที่มีโอกาสรีบาวน์หลังวาน นี้ลงแรงจากการเร่งปิดสถานะใน Single Stock Futures เกินระดับ 10% ในวันเดียว ราคาลงแรงกว่า 3% และฝ่ายวิจัยฯแนะซื้อ ชอบ ORI GPSC STEC และ CBG
ตลาดหุ้นไทยลงลึกเกิน...น่าทยอยสะสมหุ้นเพิ่ม แนะนำ AMATA, GPSC, JMT, ORI
SET Index ถูกกดดันจากปัจจัยภายนอก อย่าง การล้มละลายของ SVB Bank กระจายวง กว้าง, ความกังวลเงินเฟ้อที่ยังยืนในระดับสูงนาน รวมถึงแรงกดดันจากการปรับประมาณ การลง หลังเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดทะเบียนในงวด 4Q65ออกมาต่ำกว่าคาด โดยวาน นี้ตลาดหุ้นไทยปรับฐานลงแรงอีก -49.18 จุด หรือ -3.13% เหลือ 1523 จุด ซึ่งเป็นการ ปรับลงภายในวันเดียวสูงสุดในรอบ 2 ปี 3 เดือน ด้วยมูลค่าซื้อขาย 1.03 แสนล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของปีนี้
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยฯ มีมุมมองว่า SET Index ลงลึกและเร็วเกินไป น่าจะดีดกลับได้ได้ บ้าง อีกทั้งยังเป็นโซนที่น่าสะสมในเชิงพื้นฐาน ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังนี้
1. หุ้นไทยในสัปดาห์นี้(13 – 14 มี.ค. 66) ปรับฐานลงมาแรงกว่า 76 จุด หรือ - 4.7%wtd ซึ่งถือว่าลงมาลึกกว่าตลาดหุ้นโลกในหลายๆ ประเทศ มากเกินไป ขณะที่ตลาดหุ้นบางประเทศยังฟื้นมาจนให้ผลตอบแทนเป็นบวก เช่น NASDAQ +2.6%wtd, S&P500 +1.5%wtd
2. ปกติวันไหน SET ลงหนักเกิน 35 จุด วันถัดมามักจะฟื้นขึ้นมากกว่า 3 ใน 10 ส่วนของที่ลง หรือเฉลี่ยฟื้นมาครึ่งหนึ่งของที่ลง สะท้อนได้จากสถิติในอดีต ย้อนหลัง 5 ปี (ไม่นับช่วงเผชิญ COVID-19 หนักๆ หรือช่วง ม.ค. - มี.ค. 2563) วันที่ SET ปรับฐานลงมากกว่า 35 จุด วันถัดมามักจะมีการรีบาวน์เสมอ
3. ณ ดัชนีที่ 1523 จุด ในมุม Valuation ตลาดหุ้นไทย อยู่ในโซนน่าสะสมหุ้น มากขึ้น สะท้อนได้จาก SET Index ปรับตัวลงแรงในช่วง 2 วันที่ผ่านมากว่า 80 จุด กดดันให้ Tailing PE ลดระดับลงจาก 19.6 เท่าเหลือ 18.7 เท่า ถือว่าถูกกว่า ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ 20.4 เท่า ในมุมมองของฝ่ายวิจัยฯ ที่ดัชนีปัจจุบันมี MEYG สูงถึง 4.52% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 4.2% อีกทั้งดัชนีปัจุบัน Upside ยังเปิดกว้าง มากขึ้น เมื่อคำนวณจาก EPS66F 91.8 บาท/หุ้น คูณกับ PE66F ที่เหมาะสม 17.54 เท่า ที่ปรับลดลงมาค่อนข้างแรงในช่วงก่อนหน้า 99.2 บาท/หุ้น ได้ดัชนี เป้าหมายทีเหมาะสม 1610 จุด
สรุปคือ ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสดีดตัวกลับได้ หลังจากที่ปรับฐานแรงในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ค่าเงินสหรัฐกลับมาอ่อนค่า และค่าเงินในเอเชีย รวมถึงบาทที่พลิกกลับมาแข็ง ค่าต่ำกว่า 35 บาท/เหรียญ อีกครั้ง หนุนต่างชาติที่ลงทุนในไทยมีโอกาสได้กำไรจาก อัตราแลกเปลี่ยน และตัดสินใจย้ายเม็ดเงินจากสหรัฐบางส่วนกลับมาสะสมตลาดหุ้น ไทย
กลยุทธ์การลงทุนแนะนำถือเงินสดบางส่วนราว 10 – 15% และเลือกหุ้นที่พื้นฐาน แข็งแกร่ง กำไรเติบโตในอนาคตอย่าง JMT ORI GPSC รวมถึง AMATA ที่ฝ่ายวิจัยฯ เพิ่งจะ Initial Coverage เป็นหุ้น Top picks
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities