แม้กระทรวงการคลัง และ Fed จะมีมาตรการที่ออกมาสร้างความเชื่อมั่นให้กับ สถาบันการเงินอย่างทันท่วงที แต่เชื่อว่าปัญหายังมีโอกาสที่ขยายวงออกไปได้อีก ล่าสุดจับตาที่ First Republic Bank ซึ่งวานนี้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงกว่า 61% ทั้งนี้ 5 มุมมองต่อปัญหานี้ที่เรานำเสนอยังคงใช้ได้ 1) ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมา จากการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed กดดันคุณภาพสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน 2) คาด ว่า Fed น่าจะทบทวนท่าที่ในการปรับขึ้นดอกเบี้ย 3) ค่าเงิน USD น่าจะมีแนวโน้ม อ่อนค่า 4) โอกาสที่จะนำไปสู่ภาวะ Recession ในสหรัฐ เพิ่มขึ้น และ 5) ความผัน ผวนต่อตลาดการเงินโลกจะมีมากขึ้นในช่วงจากนี้ไป สำหรับวันนี้ติดตามตัวเลขเงิน เฟ้อเดือน ก.พ.ของสหรัฐ หากออกมาสูงกว่าคาด ก็จะเป็นแรงกดดันต่อตลาดหุ้น เพิ่มเติม ส่วนทิศทางของ Fund Flow ยังคงเห็นการไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย
Sentiment ที่สืบเนื่องมาจากปัญหาในสหรัฐ ยังคงสร้างแรงกดัดนต่อ SET Index โดยจะทำให้อยู่ในความผันผวนและเปิด Downside วันนี้ประเมินกรอบ 1550 – 1580 จุด Top Pick เลือก CBG, HMPRO และ MAJOR และ ถือเงินสดเพิ่มขึ้น
สถานการณ์วิกฤตธนาคารในสหรัฐฯ ยังเสี่ยงขยายวง
ปัญหาการปิดตัวลงของสถาบันการเงิน 3 แห่ง (Silvergate Capital, Silicon Valley Bank, Signature Bank) ภายในระยะเวลาเพียงแต่ 1-2 สัปดาห์ โดยต้นเหตุของปัญหา สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป เกิดจากการขาดสภาพคล่องและการปล่อยเงินกู้ให้กับ อุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยง อย่าง Start up หรือ Digital Asset มากจนเกินไป บวกกับผล จากการที่ Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยแรง ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์ของสถาบันการเงินลดลง ซึ่ง ความเสี่ยงเหล่านี้อาจขยายวงกว่าไปยังธนาคารต่างๆ ได้เช่นกัน ล่าสุดต้องจับตา สถานการณ์ของ First Republic Bank ซึ่งวานนี้ราคาหุ้นปรับลดลงกว่า 61%
ขณะที่ปัจจัจจุบันเริ่มเห็นสัญญานการเกิดเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะ Recession มากขึ้น ตั้งแต่ เหตุการณ์แห่ซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ทำให้ Bond yield สหรัฐ 2 ปี และ 10 ปี ปรับตัวลงมาเกิน 1% ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 3 วัน ประกอบกับ Fed มีโอกาส ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกเพียง 0.25% ในรอบเดือน มี.ค. (ล่าสุด Fed Watch Tool ให้น้ำหนัก สูงถึง 65%) และดอกเบี้ยอาจทยอยลดลงในช่วง 2H66 เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในอดีต ประกอบ เห็นได้ว่าในช่วงที่ Fed เร่งปรับลดดอกเบี้ย มักจะเป็นเกิดวิกฤตในช่วงนั้น ส่งผล ให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงหลังจากนั้น (ไฮไลท์สีเทา)
สำหรับการตอบสนองของ SET Index กับภาวะ Recession ในเศรษฐกิจสหรัฐฯ SET Index ค่อนข้างมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับ Dow Jones Index เฉพาะอย่าง ยิ่งในช่วง Hamburger Crisis ในปี 2008 ตลาดหุ้นบ้านเราติดลบไปมากกว่า 32% ทำให้ สถานการณ์วิกฤตธนาคารในสหรัฐในปัจจุบัน เป็น Sentiment เชิงลบต่อบ้านเราที่น่าจะ หลีกเลี่ยงได้ยาก
สรุป ต้นเหตุของปัญหาการปิดตัวลงของสถาบันการเงิน 3 แห่งของสหรัฐ เป็นความ เสี่ยงทั่วไป ทำให้มีโอกาสลุกลามไปยังสถาบันการเงินอื่นได้เช่นกัน และอาจส่งผลให้ ภาพรวมเศรษฐกิจเผชิญกับความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ Recession ตลอดจนเกิดความผัน ผวนในตลาดการเงิน ซึ่งเป็น Sentiment เชิงลบต่อบ้านเราที่น่าจะหลีกเลี่ยงได้ยาก
ส่วนในวันนี้เวลา 19.30 น. รอติดตามการประกาศเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน ก.พ. โดยตลาด คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ +6.0%YoY และ +0.4%MoM ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้หากเงินเฟ้อต่ำกว่าคาดการณ์ น่าจะเป็นแรงหนุนให้ Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ย และเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น
หลบความผันผวนจากปัจจัยภายนอก กับหุ้น DOMESTIC แนะ MAJOR CBG HMPRO
กระแส SVB Bank ปิดกิจการ ยังกดดันหุ้นธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ในสหรัฐ ปรับตัวลดลงต่อ ในวานนี้อาทิ หุ้น FRC (First Republic Bank) ปรับตัวลง -61.8% และมีอีกหลายๆ ธ.พ. ปรับตัวลงมากกว่า 10%
ขณะเดียวกันเม็ดเงินไหลทะลักเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้ สะท้อนได้จากBond Yield สหรัฐ 2 ปี ปรับตัวลงเร็วกว่า 100 bps. ในช่วง 3 วัน จนล่าสุดอยู่ที่ 3.97% ซึ่งต่ำกว่าดอกเบี้ย นโยบายล่าสุดที่ 4.75% แสดงให้เห็นว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากความกังวล เรื่อง Recession รวมถึง Fed มีโอกาสเร่งชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในระยะถัดไป
ตัดกลับมาที่ตลาดหุ้นไทย วานนี้ปรับตัวลดลง 26.58 จุด หรือ 1.7% มากสุดในปีนี้ และทำ จุดต่ำสุดของปี โดยกลุ่มหุ้นที่ปรับตัวลงแรง คือ ส่วนใหญ่เป็นสถาบันทางการเงิน อย่าง INSUR -5.3%, BANK -2.9%, FIN -3.3% เป็นต้น ส่วนกลุ่มที่แข็งแกร่งกว่าตลาด ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่ม Domestic อย่าง COMM, FOOD, HELTH, PROP เป็นต้น
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities