รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

มาอัพเดตข่าวเกี่ยวกับ SVB กันต่อครับ Part 1

เผยแพร่ 13/03/2566 19:00
อัพเดท 09/07/2566 17:32

มาอัพเดตข่าวเกี่ยวกับ SVB กันต่อครับ Part 1

บรรดานักลงทุนในซิลิคอน วัลเลย์และภาคการเงินต่างออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลกลางสหรัฐเข้ามาจัดการให้ธนาคารรายอื่นรับเอาสินทรัพย์และหนี้สินของซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) หลังสถาบันการเงินแห่งนี้ล้มในวันศุกร์ที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า บรรษัทค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC) จะจ่ายเงินคืนผู้ฝากได้รายละ 250,000 ดอลลาร์ โดยอาจสามารถเริ่มจ่ายเงินให้กับผู้ฝากได้อย่างเร็วที่สุดในวันจันทร์ที่ 13 มี.ค.

แต่ลูกค้าส่วนใหญ่ของ SVB นั้นเป็นกลุ่มธุรกิจที่ฝากเงินเอาไว้มากกว่า 250,000 ดอลลาร์ โดยเอกสารที่ยื่นต่อหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบระบุว่า ณ เดือนธ.ค. การฝากเงินที่ธนาคาร SVB กว่า 95% นั้นเป็นการฝากแบบไม่มีประกัน โดยผู้ฝากเงินจำนวนมากเป็นสตาร์ตอัป โดยจำนวนมากวิตกกังวลว่าจะไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนพนักงานในเดือนนี้ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจประสบปัญหาและเกิดการปลดพนักงานแบบเป็นวงกว้างในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

นักลงทุนวิตกกังวลว่าปัญหาเหล่านี้จะลดความเชื่อมั่นในภาคธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารขนาดกลางที่มียอดเงินฝากต่ำกว่า 2.5 แสนล้านดอลลาร์ โดยที่ผ่านมานั้นธนาคารเหล่านี้ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นธนาคารที่ "มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะยอมให้ล้มได้" ดังนั้นจึงไม่ต้องเข้ารับการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test)

นายเดวิด แซกส์ นักธุรกิจการร่วมลงทุนและอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทเทคโนโลยีเรียกร้อง ให้รัฐบาลกลางสหรัฐเข้ามาผลักดันให้ธนาคารรายอื่นเข้าซื้อสินทรัพย์ของ SVB โดยระบุผ่านทางทวิตเตอร์ว่า "นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อยู่ที่ไหน นางเจเนต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐอยู่ที่ไหน เข้ามาหยุดวิกฤตนี้เดี๋ยวนี้ ประกาศว่าผู้ฝากเงินทุกคนจะปลอดภัย ส่งมอบ SVB ให้กับธนาคารระดับท็อป 4 จงดำเนินการตามนี้ก่อนเปิดตลาดวันจันทร์นี้ มิฉะนั้นวิกฤตจะแพร่กระจาย"

นายมาร์ก ซัสเตอร์ นักธุรกิจการร่วมลงทุนอีกรายกล่าวในทำนองเดียวกันว่า "ผมคิดว่านี่คือสิ่งที่พวกเขากำลังดำเนินการ ผมคาดหวังว่าจะได้เห็นแถลงการณ์ภายในวันนี้ (12 มี.ค.) แล้วเราจะได้เห็นกัน มิฉะนั้นสถานการณ์ในวันจันทร์นี้ต้องเลวร้ายแน่"

ด้านนายบิล แอกแมน นักลงทุนอีกรายหนึ่งระบุว่า "รัฐบาลมีเวลา 48 ชั่วโมงในการแก้ไขปัญหานี้ก่อนที่จะกอบกู้สถานการณ์ไม่ได้ การปล่อยให้เอสวีบี ไฟแนนเชียล (SVB Financial) ล้มโดยไม่ปกป้องผู้ฝากทุกคนนั้นทำให้โลกตื่นรู้ว่าเงินฝากแบบไม่มีประกันคืออะไร"

เซอร์เคิล (Circle) บริษัทคริปโทเคอร์เรนซีของสหรัฐระบุผ่านทางทวิตเตอร์เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มี.ค.ว่า เซอร์เคิลฝากเงิน 3.3 พันล้านดอลลาร์เอาไว้ในธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) ซึ่งเงินก้อนดังกล่าวนั้นเป็นเงินสำรองส่วนหนึ่งของเหรียญคริปโทฯ USDC จากทั้งหมด 4 หมื่นล้านดอลลาร์

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เซอร์เคิลออกมาประกาศเรื่องนี้หลังจากที่ธุรกิจ SVB ล้มในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ธนาคารล้มครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหญ่เมื่อปี 2551

ขณะนี้นักลงทุนต่างระมัดระวังตัวเกี่ยวกับการเกิดผลกระทบแบบเป็นวงกว้างในภาคการเงินและภาคอื่น ๆ จากปัญหาที่เกิดขึ้นกับ SVB และซิลเวอร์เกต แคปิตอล (Silvergate Capital) ผู้ปล่อยสินเชื่อรายสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมคริปโทฯ โดยซิลเวอร์เกตเพิ่งออกมาประกาศว่าจะยุติการดำเนินงานและขายสินทรัพย์ของธนาคารซิลเวอร์เกต แบงก์ (Silvergate Bank) เพื่อชำระหนี้

ทั้งนี้ เซอร์เคิลเปิดเผยในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า บริษัทได้ทำการย้ายเงินสำรองส่วนเล็ก ๆ ของเหรียญ USDC จากซิลเวอร์เกตไปยังธนาคารพันธมิตรแห่งอื่น ๆ

นอกจากนี้ เซอร์เคิลระบุในวันศุกร์ว่า เซอร์เคิลและเหรียญ USDC ยังดำเนินงานตามปกติ ในขณะที่จับตามองว่าการสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัท SVB นั้นจะส่งผลกระทบต่อผู้ฝากเงินอย่างไร

ส่วนบริษัทคริปโทฯรายอื่น ๆ หลายแห่งต่างออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับ SVB โดยนายจ้าว ฉางเผิง ซีอีโอของไบแนนซ์ระบุเมื่อวันศุกร์ว่า บริษัทไม่มีความเกี่ยวข้องกับ SVB เช่นเดียวกับนายเปาโล อาร์โดอิโน ซีอีโอของเทเธอร์ (Tether) ด้านเจมิไน (Gemini) แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีรายใหญ่ของสหรัฐก็ออกมาระบุว่า ไม่มีความสัมพันธ์ข้องเกี่ยวกับ SVB เช่นกัน

กระแสการแห่ถอนเงินเข้ามาเพิ่มปัญหาให้กับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จากเดิมที่ต้องแก้ปัญหาหลายประการอยู่แล้ว ทั้งเงินเฟ้อ ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ และความเสี่ยงเรื่องเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่นักลงทุนเผชิญปัจจัยที่สร้างความตื่นตระหนกมากมายตลอดช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า สำหรับนักลงทุนแล้ว ปัญหาคือเมื่อปัจจัยเสี่ยงหนึ่งจบลง ก็พลันเกิดปัจจัยเสี่ยงใหม่ขึ้นอีก เดี๋ยวเศรษฐกิจสหรัฐก็ร้อนแรงเกินไป เดี๋ยวก็เสี่ยงที่จะถูกกดดันทางการเงิน วันหนึ่งผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลก็พุ่งทะยานขึ้น เนื่องจากวิตกกังวลว่า เงินเฟ้อสูงจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ยแรง แต่วันต่อมากลับทรุดตัวลง เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ย

"สัปดาห์หน้าจะเป็นช่วงเวลาอันยากลำบาก สิ่งที่ตลาดหุ้นต้องการคือการไม่เกิดผลกระทบแบบเป็นวงกว้างและเฟดชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ย" นายจิม เบียนโกจากบริษัทเบียนโก รีเสิร์จกล่าว

ในสัปดาห์ที่เกิดกรณีซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) ล้ม ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ธนาคารล้มครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่าหนึ่งทศวรรษของสหรัฐและหุ้นร่วงหนักสุดในรอบ 5 เดือน เหตุการณ์ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนที่สุดคือ การที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐร่วงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบสองวันนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อปี 2551

นอกเหนือไปจากผลกระทบที่มีต่อนักเก็งกำไรแล้ว ภาวะผันผวนในตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวันพฤหัสบดีและศุกร์ที่ผ่านมาส่งสัญญาณที่น่าวิตกกังวลต่อภูมิทัศน์สินทรัพย์ทุกประเภทและเศรษฐกิจสหรัฐ โดยบีสโปก อินเวสต์เมนต์ กรุ๊ป (Bespoke Investment Group) ระบุว่า ในช่วงเกือบ 50 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐสัญญา 2 ปีเคยปรับตัวลดลงในรอบสองวันที่ 0.45% ทั้งหมด 79 ครั้ง โดยเกือบทุกครั้งจะตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐในช่วง 6 เดือน ยกเว้นเพียงปี 2530 และ 2532

ด้านนักลงทุนแห่เทขายหุ้นโดยไม่รอให้ทราบแน่ชัดว่า สุดท้ายแล้วการที่ธุรกิจ SVB ล้มนั้นจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงินหรือไม่ โดยดัชนี S&P500 ร่วงลง 4.6% ในช่วง 5 รอบการซื้อขาย ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. โดยหุ้นกลุ่มบริษัทการเงินบนกระดาน S&P500 ทรุดลงถึง 8.5%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานเมื่อวันเสาร์ (11 มี.ค.) ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และบรรษัทค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC) กำลังพิจารณาก่อตั้งกองทุนที่จะเปิดทางให้หน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบสามารถเข้าไปช่วยสนับสนุนด้านการฝากเงินได้มากขึ้น เมื่อธนาคารต่าง ๆ ประสบปัญหาจากผลพวงของกรณีธุรกิจซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) ล้ม

ทั้งนี้ แหล่งข่าวเปิดเผยว่า หน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบของสหรัฐได้หารือเกี่ยวกับเครื่องมือพิเศษชนิดใหม่นี้ในการสนทนากับบรรดาผู้บริหารภาคธนาคาร โดยหวังว่ามาตรการดังกล่าวจะเรียกความมั่นใจให้กับผู้ฝากเงินและช่วยควบคุมความตื่นตระหนก

รายงานระบุต่ออีกว่า เครื่องมือชนิดใหม่ดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนฉุกเฉินของหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบสหรัฐ ในขณะที่เกิดความตื่นตระหนกเกี่ยวกับความเข้มแข็งของธนาคารที่มุ่งความสนใจไปยังธุรกิจการร่วมทุนและสตาร์ตอัป

อย่างไรก็ตาม เฟดและ FDIC ยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าว
ในวันเดียวกัน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐได้หารือกับนายเกวิน นิวซัม ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจ SVB ล้มและวิธีการแก้ไขสถานการณ์

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า SVB ล้ม หลังจากที่ผู้ฝากเงินวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของ SVB จนพากันแห่ถอนเงินฝาก โดยกรณีดังกล่าวนำไปสู่ภาวะตื่นตระหนกในตลาดเงิน จนขจัดมูลค่าตลาดของธนาคารในสหรัฐไปกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์

เหรียญ USDC ของเซอร์เคิล (Circle) บริษัทคริปโทเคอร์เรนซีจากสหรัฐหลุดระดับ 1 เหรียญต่อดอลลาร์และร่วงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อช่วงเช้าวันเสาร์ (11 มี.ค.) ตามเวลาสหรัฐ หลังเซอร์เคิลเปิดเผยว่า บริษัทได้ฝากเงินสำรองสำหรับเหรียญ USDC เกือบ 8% หรือประมาณ 3.3 พันล้านดอลลาร์จากเงินสำรองทั้งหมด 4 หมื่นล้านดอลลาร์เอาไว้ที่ธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB)

ทั้งนี้ เหรียญ USDC นั้นเป็นเหรียญสเตเบิลคอยน์ โดยผูกเอาไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐแบบหนึ่งต่อหนึ่ง แต่คอยน์เดสก์ (CoinDesk) ระบุว่า เหรียญ USDC ร่วงหลุดระดับ 87 เซนต์ในวันเสาร์ที่ผ่านมา

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า หน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบได้ทำการปิดธุรกิจ SVB ในวันศุกร์ที่ 10 มี.ค. พร้อมยึดเงินฝากทั้งหมด โดยถือเป็นเหตุการณ์ธนาคารล้มครั้งใหญ่ที่สุดในสหรัฐนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อปี 2551

เหตุการณ์ SVB ล้มนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อช่วงดึกวันพุธที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมาตามเวลาสหรัฐ เมื่อ SVB สร้างความประหลาดใจให้กับบรรดานักลงทุนด้วยการระบุว่า ทางธนาคารมีความจำเป็นที่จะต้องระดมทุน 2.25 พันล้านดอลลาร์ เพื่อนำมาใช้ในการพยุงงบดุล จากนั้น SVB ก็ล้มลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นการล่มสลายของธนาคารที่เติบโตมาพร้อม ๆ กับลูกค้ากลุ่มเทคโนโลยี

อย่างไรก็ตาม บริษัทคริปโทฯรายอีกหลายแห่งต่างออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับ SVB โดยนายจ้าว ฉางเผิง ซีอีโอของไบแนนซ์ระบุเมื่อวันศุกร์ที่ 10 มี.ค.ว่า บริษัทไม่มีความเกี่ยวข้องกับ SVB เช่นเดียวกับนายเปาโล อาร์โดอิโน ซีอีโอของเทเธอร์ (Tether) ด้านเจมิไน (Gemini) แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีรายใหญ่ของสหรัฐก็ออกมาระบุว่า ไม่มีความสัมพันธ์ข้องเกี่ยวกับ SVB เช่นกัน

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย