What happened? มองปัญหาที่เกิดขึ้นในฝั่งสถาบันการเงินสหรัฐฯ ตอนนี้ เป็นปัญหาทางด้านสภาพคล่องเป็นหลัก ซึ่งมีที่มาจากการสะสม ของปัจจัยกดดันต่างๆ ทั้งการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด, การถอดถอน สภาพคล่องของ Fed, ภาวะ Earning contraction และภาวะขาลงของ สินทรัพย์ Digital และ cryptocurrency ส่งผลให้เมื่อบริษัทที่เผชิญปัญหาเหล่านี้ต้องการสภาพคล่องแบบ ทันทีทันใด ธนาคารหรือสถาบันการเงิน ที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดหาสภาพ คล่องให้ก่อนหน้านี้จึงเตรียมการไม่ทัน และเมื่อต้องการเตรียมการ ก็เผชิญ กับผลขาดทุนทางด้านราคาสินทรัพย์เข้าไปอีก จากการที่อัตราดอกเบี้ย ปัจจุบันอยู่สูงกว่าระดับในอดีต ส่งผลให้สถาบันการเงินเหล่านี้เผชิญกับ วิกฤติสภาพคล่องแบบทันทีทันใด และทําให้ถูกสั่งปิดกิจการลงทันที Crisis of confidence: มองผลกระทบที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาทางด้าน สภาพคล่องและความเชื่อมั่นของนักลงทุนเป็นหลัก ซึ่งถึงแม้ปัญหาแรก อาจยังต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไข ปัญหาที่สองดูเหมือนจะได้รับการ เยียวยาในเชิงบวกบ้างแล้ว หลังจากที่ล่าสุดทางการสหรัฐฯได้ทําตัวเป็น The last resort ออกมาตรการ Backstop เพื่อจัดหาสภาพคล่องฉุกเฉิน (Funding program) ให้กับธนาคารที่ประสบปัญหา และการันตีเงินฝาก ของผู้ฝากเงินทั้งในส่วนที่ได้รับความคุ้มครองและไม่ได้รับความคุ้มครอง ด้วยเหตุนี้ จึงทําให้ล่าสุดสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหลายตอบรับเชิงบวกขึ้นได้บ้าง Still in check: อีกทั้งนั้น จากการตรวจสอบสัญญาณต่างๆล่าสุดในตลาด
พบว่าเครื่องชี้สภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินสหรัฐฯแม้ได้รับ ผลกระทบบ้าง แต่ถือว่าส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ว่าจะดูจาก เครื่องชี้ LIBOR-OIS spread (รูปที่ 1), TED spread (รูปที่ 2), หรือ CDS ของธนาคารขนาดใหญ่ต่างๆในสหรัฐฯ ไม่ต้องพูดถึงสัญญาณ สภาพคล่องในตลาดบ้านเราซึ่งก็ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติมากเช่นเดียวกัน มองผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับบ้านเราอาจจะมาผ่านช่องทาง Wealth effect ของนักลงทุนบางส่วนที่มี Exposure กับหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน สหรัฐฯ ซึ่งบางกองทุนนั้นมีการลงทุนในหุ้น SVB อยู่ประปราย โดยภาพรวม ผลกระทบส่วนนี้ในเชิงตัวเลขจึงไม่น่าจะมีนัยสําคัญมากนัก Positive knock-on: ทั้งนี้ มองปัญหาที่เกิดขึ้นล่าสุดอาจกลับกลายเป็น
ปัจจัยบวกทางอ้อมต่อมายังภาวะการลงทุนในตลาดทุนโลกช่วงต่อไป ผ่านช่องทางการปรับเปลี่ยนโหมดนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง ของสหรัฐ โดยเฉพาะตัวของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เอง ที่ล่าสุดเรา มองว่ามีโอกาสเพิ่มขึ้นแล้วที่ Fed จะมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพียงแค่ 0.25% ในการประชุมวันที่ 21-22 มีนาคมนี้ ซึ่งล่าสุดดู เหมือนว่าตลาดจะเชื่อแล้ว 100% เช่นกัน (รูปที่ 4) ซึ่งหากเกิดขึ้น จริง มองว่าจะกลายมาเป็น Positive knock-on effect ทําให้ปัจจัย ปัญหาวิกฤติสภาพคล่องที่เกิดขึ้นตอนนี้ผ่อนคลายลงต่อได้อีก
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities