US INVERTED YIELD CURVE 1.03% 

เผยแพร่ 08/03/2566 10:07
อัพเดท 09/07/2566 17:32
SETI
-

ถ้อยแถลงของประธาน Fed สร้างความกังวลว่าอาจเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ย นโยบายที่แรงกว่าคาด และคงไว้ที่ระดับสูงนานขึ้น เพื่อกดดันเงินเฟ้อให้ลงมาอยู่ใน กรอบ ขณะที่ภาวะ Inverted Yield Curve ของพันธบัตร 10 ปี กับ 2 ปี ในสหรัฐ ติดลบมากถึง 1.03% สูงสุดในรอบ 42 ปี ภาวะแวดล้อมดังกล่าวสร้างแรงกดดัตต่อ ตลาดหุ้นสหรัฐ ให้ปรับลดลงแรง และน่าจะสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นไทยในเช้า วันนี้ด้วย สำหรับในบ้านเรามีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.พ.66 อยู่ที่ 3.79% YoY และ -0.12% MoM ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าความคาดหมาย และ น่าจะมีส่วนช่วยทำให้แนวทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ช้าลงได้ แต่ ทั้งนี้อาจต้องติดตามทิศทางของค่าเงินบาทอีกระยะหนึ่งหลังกลับไปอ่อนค่าเกิน 35 บาท/USD ส่วน Theme การลงทุนเน้นหุ้นที่เห็นการฟื้นตัวของกำไรเป็นหลัก

การปรับตัวขึ้นของ SET Index มาอยู่เหนือ 1610 จุด ถือเป็นสัญญาณที่ดี แต่การ ที่ตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงแรง อาจทำให้เกิดความผันผวนได้อีกระยะหนึ่ง คาด เคลื่อนไหวในกรอบ 1600 – 1620 จุด Top Pick เลือก HMPRO, SCGP และ NER

วงจรดอกเบี้ยขาขึ้นกลับมา อาจพาตลาดหุ้มซึมในช่วงสั้น

วานนี้นายเจอโรม พาวเวล ประธาน Fed ได้แถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำ วุฒิสภา พร้อมกับส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงกว่าคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ (ที่ ระดับ 5.1% ในปี 2566) เพื่อให้เงินเฟ้อปรับตัวลงสู่กรอบที่ระดับ 2% ขณะที่สถานการณ์ ปัจจุบันแม้เงินเฟ้อชะลอตัว แต่หนทางยังอีกยาวไกลและไม่ราบรื่น เนื่องจากตัวเลข เศรษฐกิจยังคงมีความแข็งแกร่ง เฉพาะอย่างยิ่งในภาคตลาดแรงงานสหรัฐที่การจ้างงานยัง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เงินเฟ้อยืดเยื้อมากขึ้น

สัญญาณดังกล่าว ทำให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed เพียง 0.25% ในเดือนที่ผ่านมา อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และส่งผลให้แนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม วันที่ 22 มี.ค. นี้ มีโอกาสมากขึ้นที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.5% เป็น 5.25% สะท้อนจาก Fed Watch Tool ที่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 69.8% (ก่อนหน้านี้อยู่ราว 30%) ขณะที่เพดาน การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed อาจพุ่งสูงถึง 5.75% ในเดือน มิ.ย. และคงไว้ในระดับดังกล่าว จนถึงปลายปีนี้

การดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ที่มีแนวโน้มเข้มงวดมากขึ้น กดดันให้ตลาดหุ้น ต่างประเทศร่วงลงแรงวานนนี้ โดยในฝั่งสหรัฐดิ่งลงราว -1.1% ถึง -1.7 ส่วนฝั่งยุโรปปิดตัว ในแดนลบราว -0.1% ถึง -0.8% ทำให้เม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างดอลลาห์ ที่ พลิกกลับมาแข็งค่ากว่า 1.2% มาอยู่ที่ 105.6 จุด ขณะที่ Bond Yield สหรัฐฯ 2 ปีพุ่งแตะ 5% ทำให้เกิด Inverted Yield Curve สูงถึง -103 bps. เป็น Spread ที่กว้างสุดในรอบ 42 ปี นับตั้งแต่ปี 1981 ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเศรษฐกิจ Recession ในระยะ ถัดไป

สรุป ประธาน Fed ส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยสูงขึ้นและอาจยาวนานกว่าคาด เพื่อ สกัดให้เงินเฟ้อเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 2% หลังตัวเลขเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง โดย ถ้อยแถลงที่ออกมาค่อนข้าง Surprise กดดันเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยงเข้าสู่ สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างค่าเงินดอลลาร์ ขณะที่ Bond Yield สหรัฐฯ พุ่งสูงขานรับ ดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอาจกดดันให้ตลาดหุ้นซึมลงไปอีกระยะหนึ่ง

ส่วนวันศุกร์นี้ (10 มี.ค.) รอติดตามการประกาศตัวเลขภาคแรงงานสหรัฐเดือน ก.พ. โดยตลาคาดว่าตัวการจ้างงาน (Nonfarm Payrolls) จะปรับตัวลดลงมาจากเดือน ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 224,000 ตำแหน่ง ทั้งนี้หากตัวเลขออกมาดีกว่าคาดอาจส่งผลให้ Fed ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นก็เป็นได้

เงินเฟ้อไทยขาลง มีโอกาสให้ กนง.ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยช่วงปลายเดือนนี้ บวกต่อ SET INDEX ระยะสั้น

กระทรวงพาณิชย์เผยตัวเลขเงินเฟ้อไทยเดือน ก.พ.66 อยู่ที่ระดับ +3.79%YoY (ต่ำกว่า ตลาดที่ +4.18%) ปรับตัวลดลงจจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ +5.02%YoY และยังเป็นจุด ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชะลอตัวลงตามตลาดโลก รวมทั้งสินค้า กลุ่มอาหารบางรายการปรับตัวลง อาทิ ข้าวสาร เนื้อหมู ไก่ ไข่ ผักและผลไม้สด น้ำมันพืช ฯลฯ ขณะที่ Core CPI เดือน ก.พ.66 อยู่ที่ระดับ +1.93%YoY ซึ่งปรับตัวลดลงชัดเจน เช่นกันจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ +2.48%YoY

อีกทั้งกระทรวงพาณิชย์ยังคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อในช่วง 2H66 มีโอกาสจะได้เห็นเงิน เฟ้อลดลงไปอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ 0% เนื่องจากฐาน CPI Index ในเดือน มี.ค.65 อยู่ใน ระดับสูง อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกซบเซา โดยกระทรวงพาณิชย์ยังคงกรอบ อัตราเงินเฟ้อในปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 2.5%YoY

อัตราเงินเฟ้อไทยที่ลดลงมากกว่าคาด ถือเป็นสัญญาณที่ดีและเข้าใกล้กรอบเป้าหมายของ ธปท. มากขึ้นที่ระดับ 1%-3% ประกอบกับเศรษฐกิจไทยในช่วง 4Q65 ขยายตัวได้น้อย กว่าช่วงไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2565 หลังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่ง อาจจะทำให้ กนง. คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.5% ในการประชุมวันที่ 29 มี.ค.66 ซึ่ง หากคงดอกเบี้ยจริง จะทำให้ Target SET คงไว้ที่ระดับเดิมที่ระดับ 1610 จุด โดยกำไร บริษัทจดทะเบียนปี 2566 อยู่ที่ 1.12 ล้านล้านบาท และ EPS66F 91.8 บาท/หุ้น เมื่อคูณ กับ P/E 17.54 เท่า (ที่คำนวณจาก MEYG 4.2% ภายใต้ดอกเบี้ยนโยบาย 1.50%)

สรุป อัตราเงินเฟ้อที่ออกมาดีกว่าตลาดคาด บวกกับตัวเลขเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ของไทย ออกมาไม่สู้ดีนัก ทำให้มีโอกาสที่ กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ระดับเดิมที่ 1.50% ซึ่งหากเป็นไปตามคาด จะทำให้เป้าหมาย SET Index ยังคงไว้ที่ระดับ 1610 จุด ถือเป็นแรงหนุน SET Index ระยะสั้น

คัดหุ้นน่าทยอยสะสม...ราคาลงลึก + กำไรผ่านจุดเลวร้าย

บริษัทจดทะเบียนกำไร 4Q65 ออกมา 1.65 แสนล้านบาท ลดลง -30%QoQ และ -40YoY กำไรที่ลดลงแรงส่วนหนึ่งเกิดจากการแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นจากการเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ กดดันให้ อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ลดลงเหลือเพียง 3.84% (ต่ำกว่าระดับปกติ ที่ 7 – 8%)

อย่างไรก็ตามคาดหวังว่า ภาพรวมกำไรบริษัทจดทะเบียนงวด 1Q66 มีโอกาสฟื้นตัว QoQ สะท้อนได้จากเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 66 ที่ชะลอตัวลงเหลือ 3.79%YoY (ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน) ขณะเดียวกันบริษัทจดทะเบียนน่าจะเตรียมรับมือกับเงินเฟ้อ โดยการบริหารจัดการ ต้นทุนให้กระชับมากขึ้น รวมถึงช่วงไตรมาสที่ 1 มักจะเป็น High Season หรือมีกำไรสูงสุด เมื่อเทียบกับไตรมาสอื่นๆ

ปัจจัยดังกล่าวยังสอดคล้องกับการศึกษาทิศทางตลาดหุ้นของฝ่ายวิจัยฯ คือ หลังจากที่ บริษัทจดทะเบียนรายงานงบที่แย่เสร็จสิ้น และหลังจากนั้นกำไรมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง QoQ ตลาดหุ้นหรือ SET Index มักจะฟื้นตัวขึ้นได้ดีในระยะถัดไปเสมอ

ดังนั้นภายใต้ตลาดหุ้นไทยแตะเบรก...หาหุ้นที่แตะคันเร่ง อย่าง “หุ้นกำไร 4Q65 ต่ำ ราคาลงลึก แต่คาดหวังกำไร1Q66 ฟื้น QoQ” โดยผ่านเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้
1. ผลประกอบการ Bottom Out -> หุ้นกำไร 4Q65 ลดลงเกิน 30%QoQ และมี โอกาสฟื้นตัวในงวด 1Q66

2. ราคาหุ้น Laggard -> Return

3. มีพื้นฐานรองรับ -> Upside > 10%

ได้ผลลัพธ์14 หุ้น ดังตารางทางด้านล่าง

ส่วน SET Index วันนี้ ถูกกดันจากปัจจัยภายนอก คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1600 – 1620 จุด Top pick แนะนำหุ้นในตาราง อย่าง SCGP, NER และยังคงชื่นชอบ HMPRO

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย