Highlight ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคําในวันนี้ (18 ม.ค.) แกว่งตัวในกรอบ 1914.65-1,895.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (16.40 น.) ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลง จึงส่งผลให้ราคาทองคํามีแนวโน้มปิดตัวบวกจากวันก่อนหน้า ทั้งนี้ แม้ว่ากรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้แถลงมติคงการดําเนินนโยบายการเงินไว้ จากครั้งที่ผ่านมา สวนทางกับคาดการณ์ของนักลงทุนที่ว่า อาจมีการดําเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ไม่ว่าจะในลักษณะปรับกรอบควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตร รัฐบาลญี่ปุ่น (YCC) อีกครั้ง หรือยกเลิกการใช้นโยบาย YCC ทําให้หลังจากการแถลงมติดังกล่าว ค่าเงินเยนจึงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ดัชนีนิกเกอิ ตอบรับด้วยการปิดตัวบวก อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์ยังมีปัจจัยกดดันที่สําคัญอย่าง แนวโน้มการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐ โดยวานนี้ (17 ม.ค.) ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) ที่ดิ่งตัวลงสู่ระดับ -32.9 ในเดือนม.ค. นับเป็นระดับต่ําสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. ปี 2020 และต่ํากว่า คาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ -7 จากระดับ -11.2 ในเดือนธ.ค. จึงบ่งชี้ถึงภาวะหดตัวของภาคการผลิตในนิวยอร์ก ซึ่งนิวยอร์กเป็นรัฐที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหรัฐ นอกจากนั้น สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจของเดือนธ.ค. เพิ่มเติม อาทิ ดัชนีราคาผู้ผลิตทั่วไป (PPI) และดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน (Core PPI) ในคืนนี้ ช่วง 20.30 น. ซึ่งคาดการณ์ว่าตัวเลขดัชนีดังกล่าวจะชะลอตัวลงจากเดือนที่ผ่านมา ส่งเสริมให้เฟดปรับลดอัตราขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.พ. นี้ อนึ่ง การหดตัวลงของ เศรษฐกิจสหรัฐจะส่งผลต่อการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ สอดคล้องกับที่ นางคริสตาลินา กอร์เกียวา กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า เศรษฐกิจโลกจะแตะจุดต่ําสุดในปี 2023 ก่อนจะฟื้นตัวได้ในปีถัดไป
คําแนะนํา
• เสี่ยงเปิดสถานะซื้อทํากําไรระยะสั้น หากราคาสามารถยืนเหนือแนวรับโซน 1,900-1,894 ดอลลาร์ต่อออนซ์
• สถานะซื้อตัดขาดทุนหากราคาหลุด 1,894 ดอลลาร์ต่อออนซ์
• ปิดสถานะซื้อทํากําไรหากราคาปรับตัวขึ้นไม่ผ่านแนวต้าน 1,920-1,928 ดอลลาร์ต่อออนซ์
บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th