รับส่วนลด 40%
🔥 กลยุทธ์การหุ้นคัดเลือกโดย AI ของเรา หุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่ ทะยานขึ้น +7.1% ในเดือน พฤษภาคม เข้าเทรดขณะหุ้นกำลังมาแรงรับส่วนลด 40%

เงินเฟ้อเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 5.89% เฉลี่ยทั้งปี 2022 อยู่ที่ระดับ 6.08%

เผยแพร่ 05/01/2566 15:14
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Headline Inflation December 2022Actual: 5.89% Previous: 5.55%

KTBGM: 5.90% Consensus: 5.90%

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนธันวาคมปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 5.89% จากฐานราคาสินค้าและบริการในเดือนธันวาคมปีก่อนหน้าที่ไม่สูงมากนัก ขณะที่ราคาสินค้าพลังงานและอาหารยังคงอยู่ในระดับที่สูงจากเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า

  • ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มองว่า อัตราเงินเฟ้อในปี 2023 มีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างชัดเจนจากปี 2022 เนื่องจากราคาสินค้าหลายรายการเริ่มทรงตัวและบางส่วนก็ปรับลดลง ขณะที่ราคาพลังงานอาจปรับตัวลดลงตามแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ อานิสงส์จากมาตรการดูแลค่าครองชีพของภาครัฐ และฐานราคาสินค้าที่สูงในปี 2022 ก็อาจช่วยลดทอนการปรับขึ้นของเงินเฟ้อได้

  • แม้เงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มชะลอลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่ากรอบ 1%-3% ของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้เรายังคงมองเดิมว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ครั้งละ 0.25% จนแตะระดับ 2.00% ในกลางปีนี้

  • เรามองว่า ระดับบอนด์ยีลด์ระยะสั้นของไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ช่วง 5 ปี ลงมา ถือว่า อยู่ในระดับที่ต่ำเกินไปและไม่น่าสนใจ โดยเฉพาะ หากดอกเบี้ยนโยบายสามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจนแตะระดับ 2.00% ได้

กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ 5.89% เพิ่มขึ้นจากระดับ 5.55% ในเดือนพฤศจิกายน

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนล่าสุด ลดลง -0.06% จากเดือนก่อนหน้า ชะลอลงอย่างต่อเนื่องจากจุดสูงสุดในเดือนตุลาคม โดยมีปัจจัยกดดันจากการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าหมวดพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง -1.86% ส่วนราคาในหมวดอาหารและครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย +0.32% โดยมีสินค้าสำคัญหลายรายการปรับตัวลดลง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ และผลไม้สด

  • เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 5.89% จาก 5.55% ในเดือนก่อนหน้า โดยปัจจัยหนุนยังคงเป็นราคาสินค้าพลังงานและราคาหมวดอาหารที่อยู่ในระดับสูงจากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ระดับฐานราคาในปี 2021 ก็อยู่ในระดับที่ต่ำ ทั้งนี้ เมื่อหักราคาอาหารสดรวมถึงพลังงานออก อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 3.23% สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

  • กระทรวงพาณิชย์ มองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2023 มีแนวโน้ม “ชะลอลงอย่างชัดเจน” จากในปี 2022 หลังราคาสินค้าและบริการส่วนใหญ่ได้ปรับตัวขึ้นไปพอสมควรตามต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นในปีนี้ ทำให้ราคาเริ่มมีแนวโน้มทรงตัวและบางส่วนก็มีการปรับลดของราคาลงมาบ้าง นอกจากนี้ ราคาสินค้าพลังงานก็มีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันมาตรการดูแลค่าครองชีพและระดับฐานราคาที่สูงในปี 2022 ก็จะช่วยลดทอนแรงกดดันต่อเงินเฟ้อได้ ทั้งนี้ ความเสี่ยงเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ ตามภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ดีขึ้น การส่งผ่านต้นทุนของผู้ผลิต การปรับขึ้นค่าจ้างทั้งระบบและความความไม่แน่นอนของการปรับค่าไฟฟ้า อนึ่ง กระทรวงพาณิชย์คงประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปที่ระดับ 2.0%-3.0% ในปีนี้ (ค่ากลาง 2.5%)

เงินเฟ้อไทยชะลอลงชัดเจน ในบริบทเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง ทำให้ กนง. สามารถทยอยขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% จนแตะระดับ 2.00% ได้ในกลางปีนี้

  • จากรายงานเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุด หากพิจารณาโมเมนตัมของราคาสินค้าและบริการ (เทียบจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาสินค้าและบริการจากเดือนก่อนหน้า) จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปนั้นชัดเจนมากขึ้น ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานก็ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ตามภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ทำให้เรามั่นใจว่า แรงกดดันต่อเงินเฟ้อได้คลี่คลายลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะหากเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละไม่ถึง +0.2% ที่เราเคยประเมินไว้ว่าจะเป็นระดับที่ทำให้เงินเฟ้อทยอยปรับตัวกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเป็นไปตามที่ ธปท. คาดการณ์ได้ในปีหน้า ดังนั้น การเร่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะไม่เกิดขึ้น และเราคงมุมมองเดิมว่า กนง. จะทยอยขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% จนแตะระดับสูงสุด (Terminal Rate) 2.00% ในช่วงกลางปี ซึ่งต้องจับตามองผลการประชุมของ กนง. ในเดือนมีนาคมอย่างใกล้ชิด ว่าจะมีคณะกรรมการบางท่านสนับสนุนการคงดอกเบี้ยที่ระดับ 1.75% หรือไม่ และมุมมองของ กนง. ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และปัจจัยเสี่ยงอย่างโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในฝั่งสหรัฐฯและยุโรป เป็นอย่างไร

  • อนึ่ง ความเสี่ยงต่อแนวโน้มเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะทิศทางราคาพลังงาน โดยเฉพาะความไม่แน่นอนของการปรับค่าไฟฟ้า เพราะหากมีการปรับเพิ่มขึ้นมาก ก็อาจหนุนให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นได้ นอกจากนี้ ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้นต่อเนื่อง อาจทำให้การส่งผ่านต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นได้ และอีกประเด็นสำคัญที่ควรจับตาอย่างใกล้ชิด คือ ราคาสินค้าพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบ โดยหากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวดีขึ้นมากหลังการทยอยเปิดประเทศ ก็อาจช่วยหนุนให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นได้ แต่เรามองว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอาจช่วยจำกัดไม่ให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นแรงไปมากได้

  • เรามองว่า ระดับบอนด์ยีลด์ของไทยตั้งแต่ช่วงอายุ 5 ปี ลงมานั้นอยู่ในระดับที่เรามองว่า “ไม่น่าดึงดูด” เมื่อเทียบกับมุมมองของเราต่อ Terminal Rate ของ กนง. ที่ระดับ 2.00% ยกเว้นบอนด์ยีลด์ 5 ปี ที่ปัจจุบันอยู่ ณ ระดับ 1.94% ก็อาจพอจะมองได้ว่า เหมาะสม หากดอกเบี้ยนโยบายจะขึ้นได้เพียงแค่ 1.75% ซึ่งจากการเข้าร่วมประชุม Analyst meeting ล่าสุดกับทาง ธปท. เรามองว่า ธปท. ยังมีมุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและยังมีท่าทีระมัดระวังต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ ทำให้เรามองว่าดอกเบี้ยนโยบายไม่น่าจะหยุดอยู่ที่ระดับ 1.75% ซึ่งหากผลการประชุม กนง. ในเดือนมีนาคม สะท้อนว่าคณะกรรมการทุกท่านยังสนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง เรามองว่า บอนด์ยีลด์ระยะสั้นของไทย “เสี่ยง” ที่จะปรับตัวขึ้น เพื่อรับรู้แนวโน้มดังกล่าว ซึ่งนักลงทุนควรรอจังหวะให้ บอนด์ยีลด์ระยะสั้น รวมถึงระยะปานกลางมีการปรับตัวสูงขึ้นบ้าง เพื่อทยอยเข้าซื้อ หรือ Buy on Dip นอกจากนี้ เราคงมองว่า เศรษฐกิจในปีนี้จะเผชิญความท้าทายมากขึ้นและเศรษฐกิจหลักมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ได้ ในขณะที่ นโยบายการเงินของบรรดาธนาคารกลางได้เริ่มเข้าใกล้ “จุดจบของดอกเบี้ยขาขึ้น” ทำให้ การทยอยลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย อย่าง พันธบัตรรัฐบาล โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว หรือ ระยะกลาง ก็เป็นทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ แต่นักลงทุนอาจพิจารณาทยอยเพิ่มสถานะการถือครองในจังหวะที่บอนด์ยีลด์ดังกล่าวมีการปรับตัวสูงขึ้น มากกว่าที่จะไล่ราคาซื้อในจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวลดลง

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย