รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐหนุน BTC ให้พุ่งขึ้น แต่วิกฤตพลังงานได้กดดัน BTC ให้ร่วงลง

เผยแพร่ 05/09/2565 19:16
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมานั้น ตลาดหุ้นทั่วโลก ทองคำ และ BTC ได้มีความผันผวนเป็นอย่างมาก

หลังการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐในเวลา 19:30 เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลขออกมาดังนี้

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 315,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 300,000 ตำแหน่ง และชะลอตัวจากระดับ 526,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค.

ส่วนอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.7% จากระดับ 3.5% ในเดือนก.ค.

กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้ปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนมิ.ย. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 293,000 ตำแหน่ง จากเดิมรายงานว่าเพิ่มขึ้น 398,000 ตำแหน่ง และปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนก.ค. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 526,000 ตำแหน่ง จากเดิมรายงานว่าเพิ่มขึ้น 528,000 ตำแหน่ง

กระทรวงแรงงานสหรัฐระบุว่าภาคเอกชนมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 308,000 ตำแหน่ง ขณะที่ภาครัฐจ้างงานเพิ่มขึ้น 7,000 ตำแหน่ง

ขณะเดียวกัน ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน ดีดตัวขึ้น 0.3% เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 0.4% และยังออกมาลดลงจากตัวเลขครั้งก่อนที่ 0.5% อีกด้วย

และเพิ่มขึ้น 5.2% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะออกมาที่ 5.3% และออกมาเท่ากับตัวเลขครั้งก่อนที่ 5.2% ไม่เปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงนับเป็นข้อมูลที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อ

ส่วนตัวเลขอัตราการเข้าสู่ตลาดแรงงานของสหรัฐ ซึ่งแสดงสัดส่วนของกำลังแรงงานต่อจำนวนประชากรทั้งหมด อยู่ที่ระดับ 62.4%

ถึงแม้ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐจะออกมาสูงมากกว่าคาดก็จริง แต่ยังมีอีก 2 ตัวเลขสำคัญที่เราต้องจับตาครับ นั่นคือ อัตราการว่างงาน และ รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง

เนื่องจากตัวเลขรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงหรือที่เรียกกันว่าตัวเลขค่าจ้างนั้นสามารถบ่งชี้ถึงอัตราเงินเฟ้อในอนาคตได้อย่างมาก ดังนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลขที่เฟดจะให้ความสนใจมากเช่นกัน

และบทสรุปของตัวเลขที่สำคัญทั้ง 3 ตัวออกมาเป็ฌนดังนี้ครับ

1. รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงเมื่อเทียบรายเดือนและเมื่อเทียบรายปีออกมาต่ำกว่าคาดทั้งคู่ และรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงเมื่อเทียบรายเดือนยังออกมาลดลงจากตัวเลขครั้งก่อนอีกด้วย ซึ่งจะบ่งชี้ถึงเงินเฟ้อที่จะลดลงในอนาคต เนื่องจากผู้บริโภคจะมีกำลังซื้อลดลงจากตัวเลขค่าจ้างที่ออกมาลดลง

2. การจ้างงานนอกภาคการเกษตรออกมาสูงกว่าคาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และน้อยลงจากตัวเลขครั้งก่อนพอสมควรเลยทีเดียว หรือหมายความว่าตัวเลขการจ้างงานยังไม่แข็งแกร่งมากพอ

3. อัตราการว่างงานออกมาอยู่ที่ 3.7% ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 3.5% ซึ่งเป็นตัวเลขในครั้งก่อน อันนี้เรื่องใหญ่ครับ อัตราการว่างงานออกมาสูงขึ้นค่อนข้างมากเลยทีเดียว

แบบนี้คือ ตลาดแรงงานเริ่มได้รับผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดครับ รวมทั้งเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มลดลงอีกด้วย ซึ่งจะหมายความได้ว่า...โอกาสที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยสูงถึง 0.75% ในการประชุมในเดือนนี้จะน้อยลงทันที

ในกรณีนี้จะตีความได้ว่าการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดทำให้ตลาดแรงงานมีการชะลอตัว และสามารถกดความต้องการซื้อของผู้บริโภคได้ เนื่องจากธุรกิจต่างๆในสหรัฐต้องแบกรับภาระต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด จึงทำให้แบกรับภาระด้านค่าจ้างไม่ไหว ทำให้มีการปลดพนักงานบางส่วนออกไป จึงทำให้มีคนตกงานเพิ่มขึ้น และการที่ธุรกิจเหล่านี้แบกรับภาระด้านค่าจ้างไม่ไหวเลยส่งผลให้มีการลดค่าแรงของพนักงานลง สะท้อนจากรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงที่ออกมาลดลง ซึ่งหมายความว่าเฟดสามารถกดความต้องการซื้อของผู้บริโภคได้จริง และอาจทำให้เงินเฟ้อลดลงในอนาคตได้เช่นกัน ดังนั้นเฟดจึงไม่จำเป็นที่จะต้องขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้นในอนาคตเนื่องจากไม่ต้องการให้ตลาดแรงงานต้องชะลอตัวลงไปมากกว่านี้ และได้ส่งผลให้ตลาดหุ้น ทองคำ และ BTC พุ่งขึ้นทันทีครับ ในขณะที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ DXY ได้ร่วงลงทันทีหลังจากการประกาศตัวเลขออกมาเช่นกัน

ดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในการเปิดตลาดในช่วงแรก โดยได้ทะยานขึ้นกว่า 300 จุด ใกล้ทะลุแนว 32,000 จุด ขานรับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ชะลอตัวลงในเดือนส.ค. ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทจะปิดทำการในวันจันทร์ที่ 5 ก.ย.เนื่องในวันแรงงานสหรัฐ

ณ เวลา 22.08 น.ตามเวลาไทยในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์อยู่ที่ 31,958.68 จุด บวก 302.26 จุด หรือ 0.95%

นักลงทุนลดการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในเดือนก.ย. หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 57% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนัก 43% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50%

ก่อนหน้านี้ นักลงทุนให้น้ำหนักมากถึง 74.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนก.ย. และให้น้ำหนัก 25.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50%

ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ชะลอตัวลงในเดือนส.ค. ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ณ เวลา 20.14 น.ตามเวลาไทยในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลบ 0.68% สู่ระดับ 109.19 ขณะที่ยูโรปรับตัวขึ้น 0.75% สู่ระดับ 140.45 เยน และแข็งค่า 0.68% สู่ระดับ 1.001 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ขยับขึ้น 0.06% สู่ระดับ 140.29 เยน

นักลงทุนลดการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในเดือนก.ย. หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร

ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลง หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ชะลอตัวลงในเดือนส.ค. ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อนโยบายการเงินของเฟดร่วงลง หลังจากพุ่งขึ้นเหนือระดับ 3.5% แตะระดับสูงสุดในรอบ 15 ปีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

ณ เวลา 20.31 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 3.424% หลังจากพุ่งแตะระดับ 3.55% เมื่อวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2550 ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 5 ปี อยู่ที่ระดับ 3.325% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี อยู่ที่ระดับ 3.227%

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ กล่าวว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ชะลอตัวลงในเดือนส.ค. อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อได้เริ่มอ่อนตัวลงแล้ว

"การจ้างงานยังคงเพิ่มขึ้น ค่าจ้างเพิ่มขึ้น ประชาชนได้กลับมาทำงาน และเรากำลังเห็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเงินเฟ้ออาจเริ่มอ่อนตัวลงแล้ว" ปธน.ไบเดนกล่าว

แต่สุดท้ายแล้วตลาดมาถูกกดดันอย่างหนักหลังจากการปิดตลาดหุ้นยุโรปในช่วงเวลา 23:00 ในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้นายดมิทรี เพสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวว่า การส่งก๊าซผ่านท่อส่ง Nord Stream 1 ยังคงเผชิญความเสี่ยง เนื่องจากมีกังหันที่ทำงานได้เพียงเครื่องเดียว"มีกังหันเพียงเครื่องเดียวที่ทำงานได้ ทำให้ความน่าเชื่อถือของระบบทั้งหมดตกอยู่ในความเสี่ยง และนี่ไม่ใช่ความผิดของก๊าซพรอม" นายเพสคอฟกล่าว

ทั้งนี้ ก๊าซพรอม ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานรายใหญ่ของรัสเซีย ประกาศปิดท่อส่ง Nord Stream 1 ซึ่งจัดส่งก๊าซไปยังเยอรมนี ในวันที่ 31 ส.ค.-2 ก.ย. โดยอ้างว่าเพื่อทำการซ่อมบำรุง

ก๊าซพรอมมีกำหนดเปิดท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 ในวันที่ 3 ก.ย. เวลา 08.00 น.ตามเวลาไทย หลังเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุง

อย่างไรก็ดี หลายฝ่ายกังวลว่าก๊าซพรอมจะยังคงปิดท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 ในวันพรุ่งนี้ ขณะที่รัสเซียอ้างว่ามาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกเป็นอุปสรรคต่อการซ่อมบำรุง แต่ยุโรปมองว่ารัสเซียกำลังใช้อุปทานพลังงานเป็นอาวุธสงครามเพื่อตอบโต้ต่อการที่ชาติตะวันตกให้การสนับสนุนยูเครนในการทำสงครามกับรัสเซีย

ในขณะที่รัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทั้ง 7 หรือ G7 เห็นพ้องกันในการประชุมในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาเพื่อกำหนดเพดานราคาน้ำมันของรัสเซีย

ทั้งนี้ รัฐมนตรีคลังของกลุ่ม G7 จัดการประชุมผ่านระบบออนไลน์ในความพยายามที่จะบั่นทอนฐานะทางการคลังของรัสเซีย โดยมิให้นำรายได้ไปสนับสนุนการทำสงครามกับยูเครน

นอกจากนี้ ข้อตกลงของ G7 ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของราคาพลังงานในตลาดโลก และคลายความกดดันต่อเงินเฟ้อ ท่ามกลางการทำสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน

มาตรการกำหนดเพดานราคาน้ำมันดิบรัสเซียจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 ธ.ค.2565 ขณะที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 ก.พ.2566

อย่างไรก็ดี G7 ยังไม่ได้ระบุระดับราคาเพดานน้ำมันรัสเซียในการประชุมครั้งนี้ แต่จะมีการหารือในรายละเอียดต่อไป โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

ฝันร้ายกลายเป็นจริง!!! รัสเซียประกาศปิดท่อส่งก๊าซยุโรปไม่มีกำหนด

ในเวลาต่อมาหลังจากที่ตลาดหุ้นยุโรปปิดทำการ ก๊าซพรอม ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานรายใหญ่ของรัสเซีย ประกาศในคืนวันศุกร์ว่า ทางบริษัทจะยังคงปิดท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 ต่อไปโดยไม่มีกำหนด

ทั้งนี้ ก๊าซพรอมแถลงว่า ทางบริษัทจำเป็นต้องปิดท่อส่งก๊าซดังกล่าว เนื่องจากพบการรั่วไหลของน้ำมันที่กังหันหลักของสถานีคอมเพรสเซอร์ปอร์โตวายาใกล้กับนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ก๊าซพรอมระบุว่า กังหันดังกล่าวไม่สามารถเปิดใช้งานได้อย่างปลอดภัย หากไม่มีการซ่อมแซมรอยรั่วซึมของน้ำมัน

นอกจากนี้ ก๊าซพรอมไม่ได้ให้กรอบเวลาว่าบริษัทจะกลับมาเปิดท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 ได้อีกเมื่อใด โดยท่อส่งดังกล่าวจัดส่งก๊าซจากรัสเซียไปยังเยอรมนี

ก่อนหน้านี้ ก๊าซพรอมมีกำหนดเปิดท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 ในวันที่ 3 ก.ย. เวลา 08.00 น.ตามเวลาไทย หลังเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุงในวันที่ 31 ส.ค.-2 ก.ย.

การประกาศปิดท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 โดยไม่มีกำหนดนี้ เป็นไปตามที่หลายฝ่ายกังวลก่อนหน้านี้ว่า ก๊าซพรอมจะยังคงปิดท่อส่งก๊าซต่อไป ขณะที่รัสเซียกำลังใช้อุปทานพลังงานเป็นอาวุธสงครามเพื่อตอบโต้ต่อการที่ชาติตะวันตกให้การสนับสนุนยูเครนในการทำสงครามกับรัสเซีย

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ (2 ก.ย.) โดยถูกกดดันจากความวิตกเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานในยุโรป หลังจากที่ปรับตัวขึ้นในช่วงแรกขานรับการเปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานอาจเริ่มชะลอตัวลง ซึ่งลดแรงกดดันที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,318.44 จุด ลดลง 337.98 จุด หรือ -1.07%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,924.26 จุด ลดลง 42.59 จุด หรือ -1.07% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,630.86 จุด ลดลง 154.26 จุด หรือ -1.31%

ในรอบสัปดาห์นี้ ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลง 3%, ดัชนี S&P500 ร่วง 3.3% และดัชนี Nasdaq ร่วงลง 4.2% โดยดัชนีทั้ง 3 ตัวปรับตัวลงเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกันแล้ว

นักวิเคราะห์ระบุว่า ตลาดปรับตัวลงรุนแรงขณะที่การซื้อขายเป็นไปอย่างเบาบางก่อนวันหยุดยาวในสุดสัปดาห์นี้ โดยตลาดหุ้นสหรัฐจะปิดทำการในวันจันทร์ที่ 5 ก.ย. เนื่องในวันแรงงาน

ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้นอย่างมากในช่วงเปิดตลาด หลังการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนส.ค.ของสหรัฐบ่งชี้ว่า มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเกินคาด แต่อัตราการว่างงานที่ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.7% ได้คลายความวิตกที่ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงเพื่อลดเงินเฟ้อ

แต่ตลาดหุ้นสหรัฐได้พลิกกลับลงสู่แดนลบ หลังบริษัทก๊าซพรอมของรัฐบาลรัสเซียเปิดเผยว่า บริษัทอาจไม่สามารถเริ่มการส่งมอบก๊าซได้อย่างปลอดภัยจนกว่าจะซ่อมแซมเกี่ยวกับปัญหาการรั่วไหลของก๊าซที่พบ และไม่ได้ให้กำหนดเวลาใหม่ในการเริ่มส่งก๊าซ จากเดิมที่คาดว่าจะเริ่มส่งออกก๊าซผ่านท่อส่งไปยังยุโรปในวันเสาร์ (3 ก.ย.)

หุ้นกลุ่มพลังงานเป็นกลุ่มเดียวในดัชนี S&P500 ที่ปิดตลาดในแดนบวก ขณะนี้นักลงทุนจะมุ่งความสนใจไปที่การเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนส.ค.ในช่วงกลางเดือนนี้ ก่อนที่เฟดจะประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 20-21 ก.ย.

ความวิตกเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกนั้นได้ฉุดราคาหุ้นลงหลังแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือนในช่วงกลางเดือนส.ค. โดยดัชนี S&P500 ร่วงลงราว 4% แล้วนับตั้งแต่นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดและเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ แสดงความเห็นสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์ที่ผ่านมา

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 315,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 300,000 ตำแหน่ง และชะลอตัวจากระดับ 526,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.7% จากระดับ 3.5% ในเดือนก.ค.

ส่วนตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน ดีดตัวขึ้น 0.3% เมื่อเทียบรายเดือน และเพิ่มขึ้น 5.2% เมื่อเทียบรายปี โดยตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงนับเป็นข้อมูลที่เฟดให้ความสำคัญเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อ

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (2 ก.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ชะลอตัวลงในเดือนส.ค. ซึ่งลดแรงกดดันที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.15% แตะที่ระดับ 108.5320

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 140.12 เยน จากระดับ 140.20 เยน, อ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9803 ฟรังก์ จากระดับ 0.9822 ฟรังก์ และดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.3124 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3165 ดอลลาร์แคนาดา

ส่วนยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9968 ดอลลาร์ จากระดับ 0.9947 ดอลลาร์, เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.1513 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1539 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าสู่ระดับ 0.6816 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6784 ดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ ดอลลาร์อ่อนค่าลง หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 315,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 300,000 ตำแหน่ง และชะลอตัวจากระดับ 526,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.7% จากระดับ 3.5% ในเดือนก.ค.

ในการกล่าวสุนทรพจน์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในการประชุมที่แจ็กสันโฮลนั้น นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดระบุว่า ภาวะตลาดแรงงานต้องมีสัญญาณที่อ่อนแอลง จึงจะทำให้เงินเฟ้อปรับลดลงสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2%

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ (2 ก.ย.) โดยดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงหนุนแรงซื้อสัญญาทองคำ เนื่องจากทำให้สัญญาทองคำมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น ๆ นอกจากนี้ การร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ช่วยหนุนสัญญาทองคำด้วย อย่างไรก็ตาม สัญญาทองคำยังคงปรับตัวลงในรอบสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 13.3 ดอลลาร์ หรือ 0.78% ปิดที่ 1,722.6 ดอลลาร์/ออนซ์ แต่สัญญาทองคำยังคงร่วงลงเกือบ 1.6% ในรอบสัปดาห์นี้

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 21.5 เซนต์ หรือ 1.22% ปิดที่ 17.881 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 12.8 ดอลลาร์ หรือ 1.59% ปิดที่ 818.3 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค. พุ่งขึ้น 29.80 ดอลลาร์ หรือ 1.5% ปิดที่ 2,026.10 ดอลลาร์/ออนซ์

ดอลลาร์ที่อ่อนค่าจะเพิ่มความน่าดึงดูดของทองคำ โดยทำให้สัญญาทองคำมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น ๆ ส่วนการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ จะช่วยลดต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือครองทองคำ เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย

นอกจากนี้ สัญญาทองยังได้แรงหนุนจากการเปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัวลง โดยนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลังจากที่มีการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ชะลอตัวลงในเดือนส.ค.

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 315,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 300,000 ตำแหน่ง และชะลอตัวจากระดับ 526,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.7% จากระดับ 3.5% ในเดือนก.ค.

นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้แรงหนุน หลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า คำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐร่วงลง 1.0% ในเดือนก.ค. สวนทางกับนักวิเคราะห์ที่คาดไว้ว่า อาจเพิ่มขึ้น 0.2% หลังจากดีดตัวขึ้น 1.8% ในเดือนมิ.ย.

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ (2 ก.ย.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมกำหนดนโยบายการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัสในวันจันทร์ที่ 5 ก.ย.นี้

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.เพิ่มขึ้น 26 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 86.87 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ยังคงร่วงลงราว 6.6% ในรอบสัปดาห์นี้

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ย.เพิ่มขึ้น 66 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 93.02 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ยังคงร่วงลง 6.1% ในรอบสัปดาห์นี้

แหล่งข่าวระบุว่า โอเปกพลัสมีแนวโน้มคงกำลังการผลิตในเดือนต.ค. เนื่องจากอุปทานน้ำมันยังคงตึงตัว แม้มีสมาชิกหลายรายเรียกร้องให้มีการลดกำลังการผลิตเพื่อพยุงราคาน้ำมันในตลาด

ทั้งนี้ โอเปกพลัสมีแนวโน้มที่จะเพิ่มการผลิตน้ำมัน 100,000 บาร์เรล/วันในเดือนต.ค. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก.ย. โดยก่อนหน้านี้ โอเปกพลัสเพิ่มกำลังการผลิต 648,000 บาร์เรล/วันในเดือนก.ค.และส.ค. ขณะที่เดือนมิ.ย.มีการเพิ่มกำลังการผลิต 432,000 บาร์เรล/วัน

เมื่อเดือนที่แล้ว รัฐมนตรีพลังงานของซาอุดีอาระเบียส่งสัญญาณว่า สัญญาน้ำมันดิบและปัจจัยพื้นฐานไม่สอดคล้องกัน และระบุว่า กลุ่มโอเปกพลัสมีวิธีรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการปรับลดการผลิตเพื่อสร้างสมดุลให้กับตลาด

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้ปัจจัยหนุนจากการที่ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่ชะลอลงในวันศุกร์ โดยนักลงทุนปรับลดการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในเดือนก.ย.

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 315,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 300,000 ตำแหน่ง และชะลอตัวจากระดับ 526,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค.

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย