🟢 ตอนนี้ตลาดกำลังทะยานขึ้น สมาชิกผู้ใช้บริการของเรากว่า 120K คน ต่างรู้ดีว่าควรทำอย่างไร คุณก็สามารถรู้ได้เช่นกันรับส่วนลด 40%

เงินเฟ้อเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นแตะระดับ 7.86% ตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 05/09/2565 12:50
อัพเดท 09/07/2566 17:32

เงินเฟ้อเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นแตะระดับ 7.86% ตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ส่วนราคาพลังงานลดลง

  • Headline Inflation August 2022

Actual: 7.86% Previous: 7.61%

KTBGM: 7.90% Consensus: 7.94%

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สู่ระดับ 7.86% จากราคาอาหารยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตามสภาพอากาศที่แปรปรวนและการส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

  • ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มองว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลง จากการส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นไปยังราคาสินค้าและบริการ กอปรกับการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่มีส่วนหนุนให้เงินเฟ้อปรับตัวขึ้นได้ แต่ฐานราคาที่สูงในปีก่อน รวมถึงความผันผวนของราคาสินค้าพลังงานและมาตรการลดค่าไฟฟ้าของรัฐบาล อาจช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อได้

  • เรายังคงมองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง โดยจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนกันยายน หลังแรงกดดันเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ สะท้อนผ่านเงินเฟ้อพื้นฐานที่เร่งตัวขึ้น

  • แม้เรามองว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทว่ายังคงต้องติดตามพัฒนาการของเงินเฟ้อ หลังการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึงค่าไฟฟ้าที่จะสูงขึ้น ทั้งนี้ หากเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะกลางไม่ได้เร่งตัวขึ้นเกินกว่าระดับ 2.0% ไปมาก เราคาดว่า กนง. จะไม่กังวลปัญหาเงินเฟ้อมากนัก

กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ 7.86% เพิ่มขึ้น จากระดับ 7.61% ในเดือนกรกฎาคม

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนล่าสุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อย +0.05% จากเดือนก่อนหน้า เร่งขึ้นจากลดลง -0.16% โดยปัจจัยกดดันเงินเฟ้อยังคงเป็นการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงราว –3.93% ส่วนสินค้าหมวดอื่นๆ ทยอยปรับตัวขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ส่วนราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง +0.97% จากผลกระทบของสภาพอากาศที่แปรปรวนที่หนุนให้ราคาผักและผลไม้ปรับตัวขึ้นกว่า +5.27%

  • เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 7.86% จาก 7.61% ในเดือนก่อนหน้า โดยปัจจัยหนุนยังคงเป็นราคาสินค้าพลังงานและราคาหมวดอาหารที่อยู่ในระดับสูงกว่า 8% จากปีก่อนหน้า ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก รวมถึงการส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น และเมื่อหักราคาอาหารสดรวมถึงพลังงานออก อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) เร่งขึ้นสู่ระดับ 3.15% จากระดับ 2.99% ในเดือนก่อนหน้า

  • กระทรวงพาณิชย์ มองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลง จากระดับราคาสินค้าพลังงานและสินค้าส่วนใหญ่ที่ปรับตัวขึ้นตามต้นทุน ซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูงจากปีก่อน นอกจากนี้ การทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็มีส่วนช่วยหนุนเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์มองว่า แรงกดดันเงินเฟ้ออาจเริ่มลดลง จากฐานราคาที่สูงในปีก่อน รวมถึงความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ และมาตรการลดค่าไฟฟ้าของรัฐ ทำให้ กระทรวงพาณิชย์คงประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปที่ระดับ 5.5%-6.5% ในปีนี้ (ค่ากลาง 6.0%)

เงินเฟ้อไม่ได้เร่งตัวขึ้นมาก แต่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้ กนง. จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในเดือนกันยายน

  • การเดินหน้าฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ช่วยหนุนให้เงินเฟ้อพื้นฐานเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง ทำให้โดยรวมแรงกดดันเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ แต่อาจไม่น่ากังวลมากนัก หลังราคาสินค้าพลังงานเริ่มทรงตัวและมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลดลงได้ หากตลาดกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงหนัก อย่างไรก็ดี เงินเฟ้ออาจได้แรงหนุนจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทว่าจากงานวิจัยของทีม Krungthai COMPASS ต่อประเด็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำพบว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ +10% จะหนุนให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเพียง +0.3% ทำให้ เรามองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจไม่ได้กังวลต่อปัญหาเงินเฟ้อมากนัก จนกว่าจะเห็นการเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะปานกลาง 5 ปี และเราเราคงมุมมองเดิมว่า กนง. จะ “ทยอยปรับขึ้น” อัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 1.25% ได้ในปีนี้ (ขึ้นอีก 0.25% ในการประชุมเดือนกันยายนและพฤศจิกายน)

  • อย่างไรก็ดี แม้ว่า งานวิจัยอาจสะท้อนว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไม่มากอาจส่งผลต่อเงินเฟ้อที่ไม่รุนแรง แต่เรายังคงต้องติดตามการส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น ที่อาจทำให้ผลกระทบต่อเงินเฟ้อสูงกว่าคาดได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ ค่าไฟฟ้ามีแนวโน้มปรับตัวขึ้น นอกจากนี้ ภาวะตลาดน้ำมันยังคงมีความตึงตัวอยู่ และราคาน้ำมันอาจพุ่งสูงขึ้นได้อีกครั้ง หากรัสเซียตอบโต้ฝั่งตะวันตกที่เตรียมจะจำกัดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย ด้วยการยุติการส่งออกพลังงานหรือลดกำลังการผลิตลง ซึ่งหากเงินเฟ้อและเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะปานกลางเร่งตัวขึ้นชัดเจน กนง. ก็ปรับท่าทีต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยได้

  • แม้เรามองว่า กนง. จะทยอยขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งได้สะท้อนในบอนด์ยีลด์ 2 ปี ไทย ที่ระดับ 1.59% ไปมากแล้ว (Implied Terminal Rate 1.75%) แต่ในระยะสั้นที่ตลาดยังคงเผชิญความไม่แน่นอนของแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางหลัก ที่ล่าสุดทำให้ อัตราดอกเบี้ย THOR 2 ปี ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง สู่ระดับ 2.10% (Implied Terminal Rate 2.50%) แรงกดดันดังกล่าวก็อาจส่งผลกระทบให้บอนด์ยีลด์ 2 ปี ไทย ปรับตัวขึ้นตามได้บ้าง ซึ่งเรามองว่า การปรับตัวขึ้นของทั้งบอนด์ยีลด์ 2 ปี ไทย และ THOR 2 ปี อีกครั้ง อาจเปิดโอกาสในการลงทุน/ปิดความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยให้กับผู้เล่นในตลาดได้

Thailand inflation

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย