
โปรดลองค้นหาใหม่อีกครั้ง
GDP Q1 2022
Actual: +2.2%y/y Previous: +1.8%y/y
Consensus: +1.7%y/y
เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกขยายตัว +2.2% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า หนุนโดยการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชน รวมถึงการส่งออกบริการขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น ส่วนการลงทุนภาคเอกชนก็พลิกกลับมาขยายตัว
แม้เศรษฐกิจไทยอาจโตดีกว่าคาดในไตรมาสแรก แต่เราคงมองว่าเศรษฐกิจในปีนี้ อาจโตได้ราว +3.0% จากผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อสูงและแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของบรรดาธนาคารกลางหลัก อย่างไรก็ดี การเดินหน้าเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจะยังคงช่วยหนุนการเติบโตเศรษฐกิจได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
โมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด และหากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยยังอยู่ในระดับสูงและมีการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเป็นกว้าง อาจเพิ่มโอกาสที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นและการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกอาจมาเร็วขึ้นกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ได้ ซึ่งตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินในเดือนหน้า
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Real GDP) ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2022 ขยายตัวถึง +2.2% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดีกว่าที่ตลาดคาดที่ +1.7%
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2022 ขยายตัวราว +2.2% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยหนุนมาจากการบริโภคภาคเอกชน การส่งออกบริการซึ่งส่วนใหญ่คือ การท่องเที่ยวที่ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น ตามการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด COVID-19 ขณะเดียวกัน การลงทุนภาคเอกชนก็พลิกกลับมาขยายตัวดีขึ้นถึง +2.9%y/y อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้ากลับขยายตัวในอัตราชะลอลง จากผลกระทบของปัญหา Supply Chain Disruption และการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจคู่ค้าจากปัญหาภาวะเงินเฟ้อสูง
สศช. ปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2022 เหลือขยายตัว 2.5%-3.5% โดยเศรษฐกิจยังมีแรงหนุนจากการเดินหน้าเปิดประเทศและการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ทว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ท่ามกลางแรงกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อสูงและนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของบรรดาธนาคารกลาง รวมถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยที่ยังคงอยู่ในระดับสูงอาจกดดันแนวโน้มการเติบโตเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ได้
ปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยยังคงมีอยู่และต้องจับตาอย่างใกล้ชิด อาทิ 1. การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและความผันผวนในตลาดการเงิน 2. ฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจไทยที่ยังเผชิญปัญหาหนี้ที่อยู่ในระดับสูง และ 3. ความไม่แน่นอนของการระบาด COVID-19 โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ที่อาจต้านทานวัคซีนและยารักษา
เราคงมองว่าอัตราการเติบโตเศรษฐกิจไทยปีนี้จะอยู่ที่ +3.0% แต่โมเมนตัมการฟื้นตัวที่ดีกว่าคาด อาจหนุนให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้
เราคงมุมมองเดิมที่คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะโตได้ราว 3.0% ในปีนี้ จากผลกระทบจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวลง ที่จะกดดันภาคการส่งออกของไทย ในขณะที่เศรษฐกิจยังพอได้รับอานิสงส์จากการเดินหน้าเปิดประเทศจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะในช่วงปลายปี (คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยไม่น้อยกว่า 5.5 ล้านคนในปีนี้) และช่วยหนุนการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ต้องติดตามสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนในจีน เพราะหากทางการจีนยังคงใช้มาตรการ Zero COVID ก็อาจจะยิ่งกดดันให้เศรษฐกิจจีนซบเซาหนักและกรณีเลวร้ายสุด อาจเห็นภาพเศรษฐกิจจีน Hard Landing ได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ผ่านการส่งออกที่อาจชะลอตัวลงหนัก รวมถึงผลกระทบจากความผันผวนในตลาดการเงินได้
ทั้งนี้ หากโมเมนตัมการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยยังดีต่อเนื่อง และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับสูง เรามองว่ามีโอกาสที่ ธปท. อาจเริ่มส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้ และการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกอาจมาได้เร็วกว่าที่เราได้ประเมินไว้ว่า ธปท. จะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า โดย ธปท. อาจตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยครั้งในช่วงปลายปีนี้ได้ หากเศรษฐกิจฟื้นตัวดีกว่าคาด ซึ่งเรามองว่าผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินและข้อมูลเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงต้นเดือนมิถุนายน ทั้งนี้ บอนด์ยีลด์ล่าสุดได้สะท้อนมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ ธปท. ไปมากแล้ว โดย บอนด์ยีลด์ 2 ปี ที่ระดับ 1.75% อาจสะท้อนว่า ธปท. อาจขึ้นดอกเบี้ยได้ไม่น้อยกว่า 8 ครั้ง (Terminal Rate 2.75%) เริ่มต้นตั้งแต่การประชุมในเดือนสิงหาคมนี้
เจมส์ บลูราร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ คือคนที่เคยสนับสนุนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจังเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อมาตั้งแต่ปีที่แล้ว การขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ถือว่าสมใจอยากของเขา...
SET50 FUTURES STRATEGY คาด S50U22 แกว่งตัวขึ้นทดสอบแนวต้านบริเวณ 954/958 ตาม uptrend channel โดยได้รับปัจจัยหนุนจากค่าเงินบาทที่กลับมา แข็งค่าขึ้นเมื่อวานนี้...
Investment Ideas: • ภาพรวมการลงทุน - เราคาดว่า SET สัปดาห์นี้ (23 ถึง 27 พ.ค.) จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,580-1,650 จุด (แนวรับ 1,600-1,580 จุด / แนวต้าน 1,635-1,650 จุด) SET...
คุณแน่ใจหรือว่าคุณต้องการบล็อก %USER_NAME%?
เมื่อทำการบล็อก คุณและ %USER_NAME% จะไม่สามารถเห็นโพสต์ของแต่ละฝ่ายบนเว็บไซต์ Investing.com ได้
%USER_NAME% ได้ถูกเพิ่มเข้าไปใน Block List ของคุณแล้ว
เนื่องจากคุณเพิ่งยกเลิกการบล็อกบุคคลนี้ คุณต้องรอ 48 ชั่วโมงก่อนการบล็อกอีกครั้ง
ฉันรู้สึกว่าความคิดเห็นนี้
ขอบคุณ!
รายงานของคุณได้ถูกส่งไปยังผู้ดูแลบอร์ดของเราเพื่อการทบทวน
แสดงความคิดเห็น
เราสนับสนุนให้ท่านได้ใช้ช่องทางการแสดงความคิดเห็นนี้เพื่อสื่อสารสัมพันธ์กับผู้ใช้เว็บไซต์อื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนในทัศนคติและสอบถามข้อสงสัยกับผู้เขียนและสอบถามซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตามเพื่อให้การสื่อสารสัมพันธ์นี้เป็นไปอย่างเรียบร้อยที่เราทุกคนต้องการและคาดหวังดังนี้กรุณาพึงระลึกในข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้:
ผู้ที่โพสต์เนื้อหาข้อความสแปมหรือใช้เว็บไซต์นี้ไปในทางผิดจะถูกลบรายชื่อทิ้งจากเว็บไซต์และถูกปิดกั้นการลงทะเบียนเป็นสมาชิกในอนาคตซึ่งเป็นไปตามดุลพินิจของเว็บไซต์ Investing.com