ในปี 2010 เมื่อเพื่อนร่วมงานแนะนำผมให้รู้จักกับบิทคอยน์เป็นครั้งแรก สิ่งที่ผมคิดขึ้นมาทันทีเลยคือคงเป็นหน่วยแลกไอเทมอะไรสักอย่างในวิดีโอเกม โครงสร้างของสกุลเงินดิจิทัลซึ่งมีเทคโนโลยีบล็อกเชนอยู่เบื้องหลัง ดูเหมือนสวนสนุกและเกมอาร์เคด ที่คุณได้รับเหรียญโทเค็นหรือตั๋วคูปอง เพื่อสะสมไว้แลกรางวัลอย่างเช่น ของเล่นหรือตุ๊กตาสัตว์ ต้นนั้นผมคิดแค่นั้นจริงๆ
ภาระผูกพันอื่นๆ ที่ดูเหมือนจะมีความสำคัญมากขึ้นในขณะนั้น ทำให้ผมไม่สามารถลงทุนบิทคอยน์และ บล็อกเชนได้อย่างเหมาะสม แต่อันที่จริงแล้ว ผมก็มีความเชื่อมั่นในทองคำและโลหะเงินมากกว่ามาตั้งแต่แรก เพราะขาดศรัทธาในสกุลเงินเฟียต มาตั้งแต่ยังไม่ได้รู้จักกับคริปโตฯ
เมื่อถึงเวลาที่ฉันได้สัมผัสกับสกุลเงินดิจิทัล ตอนนั้นมูลค่าของบิทคอยน์ได้เปลี่ยนจากเหรียญที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1 ดอลลาร์เป็นสูงกว่า 100 ดอลลาร์แล้ว และผมก็คิดว่าคงสายเกินไปที่จะเข้าสู่การลงทุนในตลาดนี้ ในขณะเดียวกัน บล็อกเชนกำลังเปลี่ยนแปลงโลกของการเงิน และมีสกุลเงินอื่นๆ ได้เกิดขึ้นแล้วกว่า 18,750 สกุลเงิน ขาขึ้นที่เหลือเชื่อที่ทำให้บิทคอยน์เคยมีมูลค่าเกือบ 70,000 ดอลลาร์ในเดือนพฤศจิกายน 2021 ทำให้เกิดการเก็งกำไรสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัล ทำให้เป็นตลาดที่มีความผันผวนมากที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา
แม้จะเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง แต่กรณีการศึกษาในแง่ของการใช้งานจริง และการขัดแย้งกันทางความคิดยังคงน่าสนใจอย่างยิ่ง ภายในโลกแห่งการเงิน ซึ่งหลายคนเชื่อว่าจะได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมฟินเทคฯ นี้ มีความคิดเห็นแยกออกเป็นสองกลุ่ม นักลงทุนที่มีชื่อเสียงบางคนยอมรับสกุลเงินดิจิทัล ในขณะที่บางคนปฏิเสธคริปโตฯ ที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วงต้นเดือนเมษายนในการประชุมสกุลเงินดิจิทัล ณ เมืองไมอามี รัฐฟลอริดา ทั้งสองฝ่ายได้ปะทะคารมกันอย่างจริงจัง
คลื่นลูกใหม่ VS คลื่นลูกเก่า
Benjamin Graham บิดาแห่งการลงทุนแบบสายเน้นคุณค่า ได้ร่วมเขียนหนังสือคลาสสิกเรื่อง Securities Analysis ในปี 1934 ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นและผู้จัดการพอร์ตลงทุนต้องอ่าน ในปี 1949 เกรแฮมได้ตีพิมพ์ The Intelligent Investor ที่ในปัจจุบันได้รับการแก้ไขให้มีเนื้อหาสอดคล้องสำหรับนักลงทุนรุ่นให จนกระทั่งเมื่อสามปีก่อนที่ Graham จะเสียชีวิตในปี 1976 หนังสือเหล่านี้ได้รับการยกย่องให้เป็นตำราพื้นฐานเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ในบทที่สี่ของหนังสือเล่มที่สอง เกรแฮมเขียนว่า:
“ผมขอแนะนำหลักเกณฑ์พื้นฐานว่า หากพันธบัตรมีกรอบการผกผันอยู่ระหว่าง 75% ถึง 25% นักลงทุนไม่ควรมีเงินของเขาในหุ้นสามัญน้อยกว่า 25% หรือมากกว่า 75%”
นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดบางคนยังคงยกย่อง Graham เป็นครูและหลักการของเขาเป็นแรงบันดาลใจ แต่การลงทุนในโรงเรียนยุคใหม่ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากผู้ประกอบการและผู้ก่อตั้งบริษัทที่ร่ำรวยเช่น Elon Musk, Jeff Bezos, Jack Dorsey และ Mark Zuckerberg ผู้ซึ่งสร้างความมั่งคั่งด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ได้เข้ามาเป็นไอดอลสำหรับพวกเขา เป็นปรัชญาที่มักนำการคิดนอกกรอบมาใช้ และแนวทางต่างๆ สำหรับการสร้างพอร์ตการลงทุนและการจัดสรรสินทรัพย์
วอร์เรนและเพื่อนรักเชื่อคริปโตฯ ไม่โตไปไกล
เมื่อพูดถึงนักลงทุนรุ่นเก่า ก็ต้องนึกถึงวอร์เรน บัฟเฟตต์ ซีอีโอของ Berkshire Hathaway (NYSE:BRKa) และหุ้นส่วนของเขา ชาร์ลี มังเกอร์ (Charlie Munger) รองประธานบริษัท บัฟเฟตต์และมังเกอร์เป้นนักลงทุนสายเน้นคุณค่ามูลกัน และไม่แปลกใจเลยที่ได้รับข้อมูลมาว่าที่ปรึกษาของพวกเขาคือเบนจามิน เกรแฮม
แน่นอนว่าเกรแฮมเสียชีวิตไปนานแล้วก่อนที่สกุลเงินดิจิทัลจะได้รับการยอมรับให้เป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง แม้ว่าเกรแฮมไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อดูวิธีการแลกเปลี่ยนรูปแบบใหม่นี้ แต่ มังเกอร์และบัฟเฟตต์ได้สัมผัสกับโลกการเงินที่เปลี่ยนไป และแต่ละคนต่างก็มีความคิดเห็นที่สุดโต่งมากเกี่ยวกับสินทรัพย์ประเภทใหม่
สิ่งที่นักลงทุนในโรงเรียนยุคเก่าเหล่านี้ทราบก็คือสกุลเงินดิจิทัลแตกต่างไปจากสกุลเงินเฟียต (fiat) เช่น ดอลลาร์ ปอนด์ หรือยูโร ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของแต่ละชาติ สกุลเงินเหล่านี้มีมูลค่ามาจากการถูกบังคับใช้ตามกฎหมายเพียงอย่างเดียว การแลกเปลี่ยนสกุลเงินเหล่านี้สร้างค่านิยมโดยให้คำมั่นว่าจะไม่มีการแทรกแซงจากรัฐบาล ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลมักจะซื้อและขายสกุลเงินเหล่านี้เพื่อให้ตลาดมีเสถียรภาพตามกฎหมาย
ดังนั้นบัฟเฟตต์จึงเคยเรียกสกุลเงินดิจิทัลว่า "หนูสกปรก" มังเกอร์กล่าวแรงกว่านั้น เขากล่าวว่าพวกมันเป็น “โรคร้าย น่าขยะแขยง และขัดต่อผลประโยชน์ทางอารยธรรม” นักลงทุนสายเน้นคุณค่าคนอื่นๆ เชื่อว่าการลงทุนในคริปโตฯ เป็นเพียงกระแสเท่านั้น ไม่ต่างกับช่วงเวลา “ทิวลิปมาเนีย” ที่เคยเกิดขึ้นในเนเธอร์แลนด์ในช่วงปี 1600
ปีเตอร์ ธีล ตัวแทนของคนรุนใหม่ที่คิดต่างออกไป
ปีเตอร์ ธีล (Peter Thiel) เป็นผู้ประกอบการมหาเศรษฐี นักลงทุนร่วม และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง เขาสร้างรายได้มหาศาลจากการเป็นผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์มการชำระเงิน PayPal (NASDAQ:PYPL) บริษัทเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานซอฟต์แวร์ Palantir Technologies (NYSE:PLTR) และการลงทุนผ่านทางบริษัทร่วมทุน Founders Fund ซึ่งมีรายงานว่าถือครองบิทคอยน์อยู่มูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์
ธีลยังเป็นนักลงทุนคนนอกรายแรกให้กับเฟซบุ๊ก ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า Meta Platforms (NASDAQ:FB) เขาเป็นนักลงทุนยุคใหม่ ที่ทำเงินได้หลายพันล้านในช่วงการปฏิวัติทางเทคโนโลยี ในทางการเมือง ธีลเป็นพวกเสรีนิยม ด้วยเหตุนี้ อุดมการณ์ของสกุลเงินดิจิทัลจึงสะท้อนถึงการเมืองของเขา เพราะสกุลเงินดิจิทัลตัดความเชื่องโยงกับรัฐบาลออก และมอบอธิปไตยทางการเงินคืนให้กับทุกคน
ในเดือนตุลาคม 2021 เขากล่าวว่าเขารู้สึกว่การลงทุนในบิทคอยน์ในปัจจุบันยังน้อยเกินไป แม้ว่าบิทคอยน์จะเคยสามารถยืนเหนือระดับ 60,000 ดอลลาร์มาได้แล้วก็ตาม ในวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา ณ งานสัมมนาบิทคอยน์ ธีลได้โชว์สไลด์คำวิพากษ์วิจารณ์จากนักลงทุนชื่อดัง ที่กล่าวหาและพยายามจะหยุดยั้งบิทคอยน์ เขาถึงกับเรียกวอร์เรน บัฟเฟตต์ว่า “คุณปู่นักต่อต้านสังคมแห่งโอมาฮ่า” และบอกว่าคุณปู่คือศัตรูหมายเลขหนึ่งของวงการ
นอกจากชัฟเฟตแล้ว เขายังกล่าวโจมตีคนอื่นด้วยไม่ว่าจะเป็น เจมี ไดมอน แห่งเจพีมอร์แกน และแลร์รี่ ฟิงก์แห่ง แบล็คร็อค ธีลสร้างภาพของตัวเองให้ดูเป้นปากเสียงของนักลงทุนยุคใหม่ พร้อมกับชี้หน้าบอกไปยังผู้ที่ต่อต้านคริปโตฯ ว่าเป็นพวกคนหลังเขาที่ยึดติดกับความคิดตกยุค
การถกเถียงระหว่างทั้งสองอาจนำไปสู่โลกยุคใหม่
นี่จะไม่ใช่ศึกแรก และศึกสุดท้ายในการอภิปรายเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล การถกเถียงนี้แสดงให้เห็นถึงปรัชญาการลงทุนของคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ในด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์ที่ต่างกัน ซึ่งเป็นตัวแทนของทุนนิยมแบบดั้งเดิมกับลัทธิเสรีนิยม
ปีเตอร์ ธีล และอีลอน มัสก์บุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ต่างก็เป็นคนที่กระตือรือร้นและสนใจใฝ่ศึกษาในโลกคริปโตฯ เป็นอย่างมาก อาจไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ธีลและมักส์เป็นหุ้นส่วนและผู้ร่วมก่อตั้ง PayPal ซึ่งเป็นบริษัทชำระเงินที่สร้างทางเลือกทางอิเล็กทรอนิกส์แทนวิธีการชำระเงินแบบกระดาษแบบดั้งเดิม
มูลค่าตามราคาตลาดของสินทรัพย์สกุลเงินดิจิทัลทั้งหมด ณ วันที่ 19 เมษายน อยู่ที่ระดับ 1.931 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีบิทคอยน์และอีเทอเรียมเป็นผู้นำ ซึ่งสะท้อนมูลตลาดที่มีมากกว่า 60% ของตลาดสกุลเงินดิจิทัลทั้งหมด มูลค่าตามราคาตลาดนั้นยังไม่ได้แสดงถึงความเสี่ยงที่มีต่อตลาดหุ้น มูลค่าของตลาดแห่งนี้กำลังขยับเข้าใกล้มูลค่าของบริษัทแอปเปิล (NASDAQ:AAPL) มีมูลค่าตามราคาตลาดอยู่ที่ประมาณ 2.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นหุ้นยอดนิยมของปู่บัฟเฟตต์ และนักลงทุนยุคเก่า
คริปโตฯ มีฐานผู้สนับสนุนและผู้สนับสนุนที่ร่ำรวยและมีอิทธิพล ยิ่งมูลค่าตามราคาตลาดของสินทรัพย์เติบโตขึ้นมากเท่าไหร่ วาทศาสตร์รอบความขัดแย้งการโต้เถียงทางความคิดก็จะยิ่งรุนแรงขึ้นเท่านั้น ประโยชน์ของคริปโตฯ ความท้าทายต่อการเงินแบบดั้งเดิม และการควบคุมปริมาณเงินของรัฐบาลเป็นหัวใจสำคัญของการโต้วาทีทางการเมือง และอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจยุคใหม่ก็จะมาแทนที่อุดมการณ์ยุคเก่าได้ในไม่ช้า