ถือเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นวันที่ห้าติดต่อกันแล้วสำหรับดัชนีดอลลาร์สหรัฐ ที่อ้างอิงการวิ่งของราคามาจากการเทียบสกุลเงินหลักของโลกอีกหกตัว ขาขึ้นครั้งนี้ได้อานิสงส์มาจากการปรับนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้มีความตึงตัวมากขึ้น ส่งให้ดัชนีดังกล่าวปรับตัวขึ้นสูงที่สุดในรอบสองปี
อันที่จริงตลาดลงทุนรับรู้มานานตั้งแต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งในเดือนมีนาคมแล้ว แต่ขาขึ้นของดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อวานนี้เกิดขึ้นจากคำพูดของเลล์ แบร์นาร์ด รองผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่กล่าวเมื่อวันอังคารว่านโยบายการเงินของธนาคารกลางฯ จะ "มีความเป็นกลางมากขึ้น" ภายในปลายปีนี้ท่ามกลางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และการปรับลดบัญชีงบดุลของเฟดอย่างรวดเร็ว
คำพูดนี้ของเธอทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 0.5% นอกจากนี้แบร์นาร์ดยังกล่าวเสริมอีกว่าว่าธนาคารสหรัฐฯ พร้อมที่จะปรับนโยบายการเงินให้มีความตึงตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงจุดสมดุลระหว่างอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นกับอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น สิ่งที่ทำให้ตลาดประหลาดใจ ไม่ใช่คำพูดของเธอ เพราะที่ผ่านมา สมาชิกเฟดคนอื่นๆ ก็พูดในลักษณะคล้ายๆ กัน แต่ที่ตลาดตกใจเพราะแบร์นาร์ดคือฝ่ายที่สนับสนุนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย การที่เธอออกมาพูดเช่นนี้ยิ่งทำให้ตลอดลงทุนเชื่อว่าสมาชิกเฟดเกิน 95% เห็นตรงกันแน่นอนว่าต้องรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
ท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ต้องการขึ้นอัตราดอกเบี้ย สอดคล้องกับท่าทีของกราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐ ที่พร้อมจะขึ้นต่อเร็วๆ นี้
หลังจากถ้อยแถลงของแบร์นาร์ดจบลง ดัชนีดอลลาร์สหรัฐก็พุ่งทะลุกรอบปรับฐานของดัชนีขึ้นไปทันที กรอบสี่เหลี่ยมไซด์เวย์นี้เกิดขึ้นหลังจากขาขึ้นก่อนหน้า ที่สามารถพาราคาขึ้นยืนเหนือเส้น neckline ของรูปแบบหัวไหล่ด้านหงายเพื่อไปต่อได้ (Inverted Head & Shoulder) ตามตำราแล้ว รูปแบบนี้คือการปรับตัวสำหรับรองรับขาขึ้นอยู่แล้ว หรือพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ทันทีที่รูปแบบนี้เกิดขึ้น นักลงทุนก็รู้เลยว่าต้องวางคำสั่งซื้อเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักลงทุนต้องระวังคือการสวนกลับของฝั่งขาลง จากรูปนี้จะเห็นได้ว่าแท่งเทียนแท่งล่าสุดของดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังสร้างรูปแบบดาวตก (Shooting Star) หากว่ามีราคาปิดต่ำกว่าระดับราคา 99.5 จุด อาจเกิดรูปแบบดาวตกขึ้นได้จริงๆ ในกรณีที่กราฟปรับตัวลดลง ให้พิจารณาว่าราคายังไม่พร้อมที่จะขึ้นไปยืนเหนือกรอบไซด์เวย์ และมีโอกาสที่ราคาจะลงไปยังแนวรับ ที่บริเวณเส้น neckline
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่ากราฟจะสามารถยืนเหนือกรอบสี่เหลี่ยมหรือเส้น neckline ได้อย่างมั่นคง ก่อนที่จะตัดสินใจวางคำสั่งซื้อ
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะรอเข้าซื้อเมื่อราคาวิ่งกลับไปทดสอบกรอบสี่เหลี่ยม
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งขาย เก็บกินในระยะสั้นๆ ก่อนที่ดัชนีจะลงไปเจอแนวรับสำคัญ ที่มีโอกาสพลิกเป็นขาขึ้นได้
ตัวอย่างการเทรด (ขาลงสั้นๆ)
- จุดเข้า: 99.75
- Stop-Loss: 99.80
- ความเสี่ยง: 5 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:99.50
- ผลตอบแทน: 25 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:5