เราคาดว่านี่จะเป็นอีกสัปดาห์ที่คงความผันผวนต่อไป เนื่องจากนักลงทุนยังคงลังเลระหว่างความพึงพอใจต่อการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ กับการมองว่าการตัดสินใจครั้งนี้เหมือนไม่ได้ทำอะไรเลย เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอย นักเศรษฐศาสตร์บางคนวิเคราะห์ว่าสหรัฐฯ อาจต้องปรับนโยบายควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้มีความเข้มข้นมากกว่านี้
นอกจากนี้ สถานการณ์ระหว่างรัสเซียยูเครนจะยังคงอยู่บนพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ต่อไป พร้อมๆ กับความสนใจที่มีต่อการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปและประเทศจีน ที่นำไปสู่การล็อกดาวน์ในบางมณฑล นักลงทุนในสหรัฐอเมริการู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น หลังจากได้ทราบผลการขึ้นอัตราดอกเบี้่ยครั้งแรกของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในปี 2022 ส่งผลให้ตลาดหุ้นอเมริกาปิดสัปดาห์ที่แล้วเป็นขาขึ้นได้
เราสามารถสรุปภาพรวมของดัชนีหลักของอเมริกาในสัปดาห์ที่แล้วได้ว่าดัชนีดาวโจนส์และรัสเซล 2000 ปรับตัวขึ้นปิดบวกได้ 5.5% ซึ่งยังถือว่าขึ้นน้อยกว่าดัชนีเอสแอนด์พี 500 6.23% และแนสแด็ก 100 8.46% จากรูปจะเห็นว่าเมื่อต้องเผชิญกับ neckline ดัชนีเอสแอนด์พี 500 สามารถดีดตัวกลับได้อย่างแรง ขาขึ้นนี้จะมีนัยสำคัญในสัปดาห์การลงทุนนี้แน่นอน สัปดาห์นี้จะเป็นจุดตัดสินระหว่างการจะเป็นไหล่ขวาของรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) เพื่อปรับตัวลดลงยาว หรือจะทำลายความเป็นไปได้ของไหล่ขวา แล้วกลายเป็นแนวโน้มขาขึ้นต่อไป
กลุ่มหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมากที่สุดในสัปดาห์ที่แล้วคือสินค่าอุปโภคบริโภค ด้วยมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 9.09% แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการงานและเงินเดือนที่ได้รับมากขึ้น กลุ่มต่อมาที่ปรับตัวตามมาด้วยกันคือกลุ่มเทคโนโลยีด้วยขาขึ้น 7.64% และกลุ่มธนาคาร 7.14% เพราะการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะทำให้ธนาคารพาณิชย์มีกำไรมากขึ้น มีเพียงหุ้นกลุ่มพลังงานเท่านั้นที่ปิดติดลบ 3.6% ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง
หลังจากที่แถลงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการ สัปดาห์นี้คณะกรรมการนโยบายการเงินหลายคนจะเดินสายให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆ เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ จะมีแถลงในงานสัมมนาเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจในวันนี้ และมีกำหนดการต้องเข้าร่วมงานสัมมนาร่วมกับกลุ่มธนาคารสากลในวันพุธ ในขณะเดียวกัน ประธานธนาคารกลางสาขาต่างๆ ก็จะมีคิวให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา
ถึงแม้ว่านักวิเคราะห์บางคนจะเชื่อว่าตลาดจะมีความมั่นใจกับสินทรัพย์เสี่ยง และดันให้ราคาหุ้นปรับขึ้นหลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว แต่จากความเห็นและประสบการณ์ของเรา อารมณ์และความเชื่อมั่นของนักลงทุนเป็นสิ่งที่ไม่เสถียร มีปัจจัยอะไรมากระทบเพียงนิดเดียวก็สามารถเปลี่ยนความเชื่อได้ง่าย ซึ่งหมายความว่าความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้อาจกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อย่างรวดเร็ว
เราค่อนข้างประหลาดใจที่ตลาด “ยอมเชื่อ” นโยบายการเงินที่เจอโรมพึ่งจะประกาศไปอย่างง่ายดาย ทั้งๆ ที่เขาเป้นคนเคยพูดมาตลอดทั้งปีที่แล้วว่าเงินเฟ้อเป็นเพียงเรื่องชั่วคราว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ทั่วโลกก็อย่างที่เราเห็นกัน แม้ว่าจะมีคนแย้งว่ามันเป็นหน้าที่ของธนาคารกลางที่ต้องรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ แต่การทำเช่นนั้นก็ไม่จำเป็นต้องโกหกโลกก็ได้ แต่ในหน้าที่ของผู้เขียนบทความวิเคราะห์ เราก็มีหน้าที่ต้องเตือนนักลงทุนเช่นกันว่า ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ สามารถเปลี่ยนสิ่งที่เขาพูดหรือนโยบายการเงินได้อย่างง่ายดาย
และก็เป็นหน้าที่ของเราอีกเช่นกันที่ต้องบอกว่า บางครั้งธนาคารกลางก็อยากได้ยินเฉพาะสิ่งที่พวกเขาอย่างได้ยิน ตลอดทั้งปี 2021 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้เพิกเฉยคำเตือนของผู้เชียวชาญหลายคน หรือแม้กระทั่งคนในของธนาคารกลางสหรัฐฯ ด้วยกันเอง ที่ออกมาเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าเงินเฟ้อครั้งนี้อาจจะไม่ใช่ปัจจัยชั่วคราว เจมส์ บลูราร์ด และคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อหลายรอบว่าควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังของ 2021 ได้แล้ว แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ไม่ทำเช่นนั้น ช่างน่าแปลกใจจริงๆ ที่การกระทำของธนาคารกลางสหรัฐฯ ตั้งแต่เริ่มต้นมีโควิดมาจนถึงปัจจุบันยังสามารถทำให้นักลงทุนเชื่อและเข้าซื้อหุ้นในตลาดได้
ในเวลาเดียวกัน สงครามในยุโรปตะวันออกยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่มีวี่แววว่าจะสิ้นสุด นอกจากการเสียชีวิตแล้ว ยังทำให้เกิดการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจ ขัดขวางการจัดหาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก แสดงสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป ถ้านักลงทุนยังเห็นว่าตัวเลขเงินเฟ้อของอเมริกาไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเลย จะเริ่มเกิดคำถามขึ้นมาแน่นอนว่า ที่จริงแล้วตอนนี้นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ กำลังนำหน้าหรือวิ่งตามหลังเงินเฟ้ออยู่กันแน่
กราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วกระโดดขึ้นยืนเหนือ 2.1% ได้สำเร็จ สร้างจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2019 ได้ นักลงทุนแห่เทขายพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว เพราะพันธบัตรรุ่นใหม่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เมื่อวิเคราะห์ทางเทคนิค จะเห็นว่ากราฟสร้างรูปแบบหัวไหล่ด้านหงาย (Inverted Head & Shoulder) เสร็จแล้ว เพิ่มความเป็นไปได้ที่เราจะได้เห็นกราฟที่แนวต้านถัดไป 3% สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2018
ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา ดอลลาร์สหรัฐถือว่าอ่อนค่าลง จบสถิติขาขึ้นติดต่อกันสามสัปดาห์ไปเป็นที่เรียบร้อย
แม้ว่าจะเป้นการจบสถิติของขาขึ้น แต่เมื่อพิจารณาด้วยการวิเคราะห์ทางเทคนิค จะเห็นว่าดัชนีดอลลาร์สหรัฐทำเพียงวิ่งตามหลักการทางเทคนิคเท่านั้น เมื่อขึ้นแรงจนเกาะกับกรอบขาขึ้นด้านบนเป็นเวลานาน การย่อตัวลดลงมาทดสอบแนวรับบ้างถือเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ สัปดาห์นี้ให้จับตาดูว่าแนวรับที่บริเวณเส้น neckline จะสามารถยับยั้งขาลงครั้งนี้ได้หรือไม่ ถ้าทำได้ นักลงทุนจะพิจารณาว่าขาลงของสัปดาห์ที่แล้ว เป็นเพียงการย่อเพื่อขึ้นต่อเท่านั้น
การอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ ไม่ได้ส่งเสริมให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้น
หลังจากขึ้นแตะ $1,950 ซึ่งเป็นจุดทำกำไรเชิงจิตวิทยาแล้ว นักลงทุนก็เทขายเพื่อทำกำไรเพื่อลดความเสี่ยง และนั่นก็ทำให้เกิดรูปแบบดาวตกที่มีไส้ลากยาวเกิดขึ้น ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ที่สัปดาห์นี้จะมีการปรับตัวลดลงต่อ ซึ่งอาจจะลงไปถึงกรอบสามเหลี่ยมที่ปรับตัวไซด์เวย์มาตลอดทั้งปี 2021
กราฟรายวันรูปนี้แสดงให้เห็นภาพแท่งเทียนที่สร้าง Morning Star ขึ้นมา ซึ่งมีอิทธิพลต่อทรงกราฟมาตั้งแต่วันอังคารถึงวันพฤหัสบดี ถึงแม้ว่านี่จะเป็นสัญญาณของแนวโน้มขาขึ้น แต่เราเชื่อแท่งเทียนที่เกิดขึ้นในกราฟรายสัปดาห์ หรือรูปก่อนหน้ามากกว่า เพราะฉะนั้นแล้วให้ทำใจไว้ว่าขาขึ้นในสัปดาห์นี้อาจจะเป็นเพียงเรื่องชั่วคราวเท่านั้น
ราชาแห่งสกุลเงินดิจิทัลบิทคอยน์ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในสัปดาห์ที่แล้ว เพราะนักลงทุนกล้าที่จะรับความเสี่ยงมากขึ้น
หากพิจารณาด้วยกราฟรายสัปดาห์ตั้งแต่ปี 2022 มาจนถึงปัจจุบัน จะพบว่าราคาวิ่งอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมสมมาตร สถานการณ์โดยรวมก็ยังไม่เข้าข้างขาขึ้นอยู่ดี และยังมีโอกาสที่บิทคอยน์จะกลับลงไปทดสอบ $30,000 ได้ทุกเมื่อ แต่ถ้าในกรณีที่ขาขึ้นเป็นผู้ชนะสามเหลี่ยมครั้งนี้ มีโอกาสที่เราจะได้เห็นบิทคอยน์กลับขึ้นไปทดสอบ $60,000 อีกครั้ง
ราคาน้ำมันดิบเหมือนว่าเริ่มที่จะหยุดนิ่วชั่วคราวเหนือ $100 ต่อบาร์เรลเล็กน้อย แต่เราเชื่อว่าการหยุดพักชั่วคราวเท่านั้น
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค กราฟน้ำมันดิบ WTI กำลังทดสอบแนวต้านที่เส้น neckline ถ้าหากว่ากราฟปรับตัวขึ้นยืนเหนือแนวต้านนี้ มีโอกาสที่ราคาน้ำมันจะกลับเข้าสู่เทรนด์ขาขึ้น แต่ถ้าไม่ ก็มีโอกาสเห็นราคาน้ำมันที่แนวรับ $80 ต่อบาร์เรล
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EDT)
วันอาทิตย์
21:15 (ประเทศจีน) รายงานตัวเลขอัตราดอกเบี้ยเงินกู้: ครั้งก่อนออกมาอยู่ที่ 3.70%
วันจันทร์
03:30 (ยูโรโซน) ถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลาง
10:00 (สหรัฐฯ) ถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลาง
วันอังคาร
14:00 (สหรัฐฯ) ถ้อยแถลงของสมาชิกเฟดนางแมรี่ ดาลีย์
17:00 (สหรัฐฯ) ถ้อยแถลงของสมาชิกเฟดนางโรแรตต้า เมสเตอร์
วันพุธ
03:00 (สหราชอาณาจักร) ดัชนีราคาผู้บริโภค: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 5.5% เป็น 5.9%
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขงบประมาณประจำปี
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยใหม่: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 801K เป็น 813K
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: สัปดาห์ก่อนเพิ่มขึ้น 4.345M
วันพฤหัสบดี
04:30 (สวิตเซอร์แลนด์) การประกาศอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง: คาดว่าจะคงที่ -0.75%
04:30 (เยอรมัน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 58.4 เป็น 56.0
05:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 58.0 เป็น 57.0
05:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการบริการ: คาดว่าจะลดลงจาก 60.5 เป็น 58.0
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐาน: คาดว่าจะลดลงจาก 0.7% เป็น 0.6%
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะลดลงจาก 214K เป็น 211K
วันศุกร์
03:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: คาดว่าจะลดลงจาก 1.9% เป็น 0.8%
05:00 (เยอรมัน) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจจาก Ifo: คาดว่าจะลดลงจาก 98.9 เป็น 94.0
10:00 (สหรัฐฯ) ยอดขายที่อยู่อาศัยมือสอง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -5.7% เป็น 1.5%