รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

สรุปบทเรียนการลงทุนปี 2021 ฉบับวิตามินหุ้น 

เผยแพร่ 04/01/2565 08:56
อัพเดท 09/07/2566 17:32

การทบทวนตัวเองว่าทั้งปีผ่านอะไรมาบ้าง กำไร ขาดทุน ดีใจ เสียใจ รัก โลภ โกรธ หลง จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราได้รู้จักตัวเองมากขึ้นและพร้อมที่จะก้าวเดินต่อไปในปีหน้า

ผลตอบแทนปีนี้ของผมถือว่าน่าพอใจ แต่สิ่งที่เราชอบมากกว่าคือ การที่เราลงทุนแบบใจเย็นและมีสติมากขึ้น รู้ว่าเรากำลังจะซื้อ ถือ หรือขาย หุ้นอะไร เมื่อไหร่ และเพราะอะไร ทำให้เราไม่ตกใจหรือดีใจจนเกินเหตุ อยู่ในทางที่เราต้องการ และไม่ได้ไปเปรียบเทียบอะไรกับใคร

ผมสรุปทั้งด้านที่ดีและด้านที่ต้องปรับปรุงอย่างละ 3 ข้อ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนไม่มากก็น้อยนะครับ

เรื่องดีๆประจำปีนี้

1️. อยู่ในเกมส์ที่เราถนัด

ผมเคยลองนั่งเฝ้าจอทั้งวัน เทรดเก็งกำไรหุ้นตามกราฟตามข่าวที่น่าสนใจ ได้กำไรไม่มาก แต่ปวดหัวและเครียดมากกว่า และก็ทำให้เรารู้ว่า ถ้าเราแข่งเรื่องความเร็ว เราแพ้แน่ ถ้าเราแข่งเรื่องดู ticker ดู bid offer รีบเคาะซื้อ เคาะขาย เราก็แพ้แน่ แต่ถ้าเราแข่งเรื่องดู business model ดูสตอรี่ ประเมินมูลค่าหุ้น และงบรายไตรมาส งบรายปี ตามแนวทางที่เราถนัด สนามนี้เราได้เปรียบ เรามีโอกาสชนะมากกว่า

ผมรู้ตัวเองดีว่า ผมคิดช้า ตัดสินใจช้ากว่าคนอื่น ผมจะไม่แข่งเกมส์เร็ว แต่ผมจะรอเมื่อโอกาสอำนวย เช่น วันที่ตลาดลงแรงๆ หุ้นลงมาเยอะๆ วันที่ผมรู้ว่า อาทิตย์หน้าหุ้นตัวนี้จะประกาศงบ และมา oppday ถ้าแบบนี้ผมประเมินมูลค่าแล้ว upside สูงในแบบที่ต้องการ ผมจะซื้อในวันที่ได้เปรียบ และถือรอติดดามผลงานไปเรื่อยๆ เวลาที่เหลือก็เอาไปหาข้อมูล หาความรู้ต่อ โฟกัสในทางของเรา แต่ก็ไม่ปิดโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

2️. ถือหุ้นให้นานพอ รอเวลาสะสมพลัง ศักยภาพจะออกมาเอง

ผมเชื่อว่า A few big shots is better than too many small shots คือ หาหุ้นดีๆ ที่ได้ผลตอบแทนเยอะๆ ไม่กี่ตัวพอ ไม่ต้องไปลงทุนกับหุ้นให้มากตัว คือ ทำการบ้านให้หนัก หา big shot ให้เจอ ลงเงินให้มาก และปล่อยให้เวลาทำงานด้วยตัวของมันเอง แล้ววันนึงหุ้นตัวนั้นจะเปล่งพลังออกมาเอง

ผมถือหุ้นที่เกี่ยวกับ Logistics อยู่ 2 ตัว ตั้งแต่ปีที่แล้ว ซื้อตั้งแต่ตอนที่ยังไม่มีใครสนใจมากนัก ความคาดหวังค่อนข้างต่ำ แล้วพอกำไรเริ่มดีขึ้นติดต่อกันทุกไตรมาส มวลชนก็เริ่มสนใจ ราคาก็ขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างทางที่หุ้นขึ้นหรือหุ้นย่อ จะเป็นช่วงทดสอบจิตใจว่า เราจะขายดีมั้ย หรือถือต่อไว้ดี สิ่งที่ทำให้เราเขวคือ unrealized gain/loss ที่ขึ้นๆ ลงๆ ทุกวัน

วิธีแก้ของผมคือ มองกลับไปที่เหตุว่าเราซื้อเพราะอะไร แล้วก็มาดูที่ผลว่าเราควรทำอย่างไร แล้วก็วางแผนทำตามนั้นไป กับอีกวิธีคือ แยกพอร์ตลงทุนกับเก็งกำไร แต่ซื้อหุ้นตัวเดียวกัน พอร์ตลงทุนก็ถือไปเพราะทุนต่ำ พอร์ตเก็งกำไรก็ซื้อตอนย่อและขายตอนติดแนวต้าน เล่นรอบไป เท่านี้เราก็จะรู้สึกว่าเราได้ realized gain เข้ามาชดเชย ทำให้เราถือหุ้นลงทุนได้นานขึ้น แต่จะทำแบบนี้ได้ ภาพใหญ่เราต้องชัดว่าหุ้นที่เราลงทุนยังเป็นแนวโน้มกำไรขาขึ้นและยังเป็นที่สนใจของตลาด

3️. ลงทุนแบบไร้อารมณ์ แต่ต้องวางแผนให้ชัดเจน

เวลาหุ้นตกหนักๆ ใจเราจะเสีย บางทีกลัว ก็จะขายหุ้นออกไป สุดท้ายมันกลับมาที่เดิม เวลาหุ้นขึ้นเยอะๆ เราก็กลัวมันจะย่อ กลัวกำไรจะหาย ก็รีบขาย สุดท้ายมันขึ้นต่อไม่หยุด สิ่งที่ผมทำปีนี้ คือ วางแผนตอนกลางคืน ตอนตลาดปิด ตอนที่มีสติ เพื่อเอาไว้ตัดสินใจ ตอนตลาดเปิด และเราอาจขาดสติ

นั่นแปลว่า ผมจะรู้อยู่เสมอว่า ถ้ามี scenario 1, 2, 3 เกิดขึ้น สิ่งที่เราจะทำคืออะไร เราจะซื้อ ถือ หรือขาย และเราก็ทำตามนั้นไปแบบไร้อารมณ์ ไม่ต้องมาคิดดีใจ เสียใจ หรือว่ากลัว ทำตามที่เราวางแผนมา ถึงแม้ว่า ขายแล้วหุ้นวิ่งต่อก็ไม่เป็นไร เก็บเป็น case study ไว้แทน

เรื่องที่ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น

1️. กระจายการลงทุนในหุ้นหลายตัวมากเกินไป

ตอนนี้ในพอร์ตมีหุ้น 11 ตัว ทั้งลงทุนและเก็งกำไร แต่ตัวหลักๆ ที่ให้น้ำหนักเยอะก็มี 3-4 ตัว เวลามองดูพอร์ตตัวเอง เราจะเกิดความคิดที่ว่าเราถือหุ้นจำนวนเยอะเกินไป การกระจายน้ำหนักในแต่ละตัวยังไม่ดีเท่าที่ควร การติดตามหุ้นในพอร์ตแบบเชิงลึกทั้งหมดเลยไม่ดีมาก ปีหน้าจะหาจุดสมดุลที่ลงตัวมากกว่านี้

2️. เมื่อพื้นฐานขัดแย้งกับเทคนิคอล

หลักการลงทุนของผม 90% ดูพื้นฐาน ธุรกิจ งบการเงิน 10% ดูกราฟ เพื่อหาจุดซื้อขายที่เหมาะสม และดูสัญญาณเตือนภัย โดยปกติก็ใช้ได้ดีมาตลอด แต่ปีนี้เจอหุ้นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ตัวเล็กตัวนึงที่ผมประเมินมูลค่าแล้วยัง under value พอสมควร งบก็น่าจะออกมาดี ก็เลยทยอยซื้อไปเรื่อยๆ ประมาณ 4.80-5 บาท แต่ยิ่งซื้อหุ้นยิ่งลง โวลุ่มก็ไม่ค่อยมี

ถ้าดูตามกราฟก็ควรขาย และมีโอกาสขายไม่ต่ำกว่า 3-4 ครั้ง มันอาจจะมีอะไรไม่ดีที่เราไม่รู้ แต่คนอื่นรู้ก็ได้ ด้วยความดื้อของตัวเองที่บอกว่า เราขอดูงบก่อน เพราะเชื่อว่าจะออกมาดี ถ้าผิดคาดก็พร้อมโยนออกหมด ผมเลยเลือกที่จะไม่ cut loss แต่ทำ short against port แทน ตั้งแต่ 5 บาท ลงมาเรื่อยๆ จนถึง 4 บาท สุดท้าย งบออกมาดีกว่าที่คาด หุ้นเปิด gap ขึ้นมา สุดท้ายก็เลยกำไรแบบงงๆ

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ผมอาจจะคิดถูกที่เชื่อพื้นฐาน และอดทนต่อความผันผวนของราคา หรือจริงๆ ผมอาจจะแค่โชคดีที่งบมันดี ราคาเลยวิ่งกลับขึ้นมาได้ แต่สิ่งที่ผมได้เรียนรู้คือ ผมจำกัดการขาดทุนโดยไม่เติมเงินเพิ่ม คือ ไม่ถัวจนตัวตาย แต่เลือกทำ SAP และพร้อมจะขายทิ้งทั้งหมดถ้างบออกมาไม่ดี ปีหน้าผมก็คิดว่ายังคงใช้ทั้งพื้นฐานและกราฟอยู่เหมือนเดิมนะ ด้วยสัดส่วน 90:10 เท่าเดิม แต่ก็คงพยายามอ่านเกมส์ให้ออก และวางแผนให้ละเอียดรอบคอบมากขึ้น

3️. ตึงเกินไปกับเรื่องของ “เวลา”

ผมเป็นคนประเภทที่ว่าต้องกำหนดกรอบการทำอะไรให้ชัดเจน จะได้ไม่วอกแวก เช่น 8.30-10.30 จะฟังข่าว ฟังรายการโบรกเกอร์ตอนเช้า 10.30-12.30 ดูตลาด อ่านบทวิเคราะห์ ตลาดปิดพักกินข้าว 13.30-14.30 อ่านบทวิเคราะห์ต่อ ดู Youtube รายการต่างๆ อ่านหนังสือ อะไรแบบนี้เป็นต้น เพราะมันจะทำให้ผมรู้ว่าตอนไหนต้องทำอะไร เราก็จะทำแบบนั้นโดยอัตฺโนมัติ

มองในแง่ดี คือ มีระบบ รู้ว่าแต่ละวันต้องทำอะไร เวลาไหน แต่ข้อเสียคือ ถ้าเราหลุดจากเวลาที่เรา set ไว้ บางทีเราก็จะรวนๆ งงๆ ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ บางทีมันเลยดูเหมือนหุ่นยนต์เกินไป แต่ก็ไม่ได้เครียดนะครับ ปีหน้าผมก็กะว่าตั้งกรอบแบบนี้แหละ รู้ว่าในหนึ่งวันจะทำอะไรบ้าง ในหนึ่งสัปดาห์ต้องทำอะไร แต่คงกำหนดกรอบแบบหลวมๆ และเลือกทำเลือกดูตาม priority มากกว่า จะได้มีความยืนหยุ่นมากขึ้น ไม่ตึงจนเกินไป คิดว่าน่าจะดีกว่า

อยากให้เพื่อนๆ ทุกคนลองทบทวนทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดีของตัวเองกันเพื่อเป็นบทเรียนการลงทุนสำหรับปีหน้าครับ ถึงแม้ว่าพอร์ตเราจะไม่โตเหมือนใครเขา ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเสียใจ ถ้าเรารู้เหตุผลว่าเป็นเพราะอะไร ด้วยความพยายามเรียนรู้และวินัยจะพาเราไปถึงฝันเอง เวลาจะเป็นคำตอบครับ อย่ายอมแพ้

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกทาง Stock Vitamins - วิตามินหุ้น

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย