เมื่อสัปดาห์ที่สำคัญที่สุดอย่างการประชุมของธนาคารกลางทั้งสี่ได้ผ่านไปแล้ว ตอนนี้นักลงทุนพอจะมองออกแล้วว่าพวกเขาจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างก่อนก้าวเข้าสู่ปี 2022 ดังนั้นการลงทุนในสัปดาห์นี้อาจจะเป็นไปได้อยู่ทั้งหมดสามประการ หนึ่งคือผันผวนจากนักลงทุนที่ต้องการรีบเคลียร์คำสั่งซื้อขายก่อนคริสต์มาส สองคือวิ่งอยู่ในกรอบแคบๆ อย่างเงียบๆ เพราะออกจากตลาดกันไปหมดแล้ว และทางที่สามคือปรับตัวลดลงเพราะแรงกดดันจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิดโอมิครอน
ถึงแม้ว่าตลาดหลักทรัพย์จะขานรับผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะเพิ่มวงเงินการลด QE ขึ้นเป็น $30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสามครั้งในปีหน้า แต่เมื่อเวลาผ่านไปเพียงแค่วันเดียว ตลาดลงทุนก็เปลี่ยนจากขาขึ้นกลายเป็นขาลง ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่านี่คือผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ที่ยังคงทำให้ตลาดลงทุนไม่สามารถคลายความกังวลลงได้
หุ้นกลุ่มที่ปรับตัวลดลงได้แก่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 0.34% กลุ่มผู้ให้บริการด้านการสื่อสารปรับตัวลดลง 0.4% กลุ่มเทคโนโลยี -0.67% กลุ่มพลังงาน - 2% และกลุ่มการเงิน - 2.2% นอกจากผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อ ผู้เชี่ยวชาญยังเชื่อว่าเป็นการเทขายก่อนวันหมดอายุของสัญญาซื้อขายออปชั่นและฟิวเจอร์ส ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ที่ในช่วงต้นสัปดาห์ ตลาดลงทุนยังมีโอกาสจะปรับตัวขึ้น ถ้าโชคดีก็อาจจะลากยาวไปจนถึงวันก่อนคริสต์มาส
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ที่ทำให้ตลาดลงทุนรู้สึกเป็นกังวลไม่มาก แต่ก็ไม่อาจทิ้งความเป็นไปได้ นักวิเคราะห์มองว่าหากไม่ใช่เพราะปัจจัยทั้งสองที่กล่าวไป การเทขายในวันศุกร์อาจเกิดจากความกังวลที่นักลงทุนมีต่อถ้อยคำของนายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่กล่าวว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจมีขึ้นครั้งแรกในเดือนมีนาคมปี 2022 เขาให้เหตุผลว่าตอนนี้สหรัฐฯ มีการจ้างงานที่ใกล้จะถึงเป้าของทางธนาคารกลางแล้ว
ประการที่สองคือขาขึ้นในดัชนีหลักๆ ที่เริ่มชะลอตัวลดลง แม้ว่าปีนี้ดัชนีหลักของสหรัฐฯ จะสามารถสร้างจุดสูงสุดตลอดกาลใหม่ได้ แต่เมื่อมองลงไปในรายละเอียด จะเห็นว่ามีหุ้นเพียง 31% บนดัชนีแนสแด็กที่สามารถขึ้นยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน ในขณะที่หุ้นบนดัชนีรัสเซล 2000 ที่สามารถยืนเหนือเส้น 200 วันได้มีเพียง 36% เท่านั้น
ถึงกระนั้น ก็ยังมีข่าวดีอยู่บ้างเมื่อมองไปที่ดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพราะ 68% ของหุ้นบนดัชนีสามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันได้ แต่หุ้นชื่อดังอย่างแอปเปิล (NASDAQ:AAPL) ไมโครซอฟต์ (NASDAQ:MSFT) เอ็นวีเดีย (NASDAQ:NVDA) เทสลา (NASDAQ:TSLA) และอัลฟาเบต (NASDAQ:GOOGL) กลับปรับตัวขึ้นได้เพียง 50% เท่านั้น เท่ากับว่าปีนี้ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวขึ้นมาทั้งหมด 24% และแนสแด็กทำขาขึ้นได้เพียง 18% เท่านั้น ถึงเอสแอนด์พี 500 จะยังคงวิ่งอยู่ใกล้กับจุดสูงสุดตลอดกาล แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลดลงได้เพราะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
กราฟรายเดือนรูปนี้จะเห็นว่าเกิดความไม่สัมพันธ์ระหว่างราคาและอินดิเคเตอร์ (Divergence) ชัดมาก และเมื่อพิจารณาที่รูปแบบแท่งเทียน เราก็จะเห็นกราฟกำลังทำรูปบบดาวตก (Evening Star) หากว่าแท่งเทียนในตอนนี้สามารถปิดแท่ง ณ จุดต่ำสุด นั่นถือว่าคือการวิ่งกลับลงมาครึ่งแท่งของขาขึ้นในเดือนตุลาคม นอกจากจะพิจารณาว่าเป็นแท่งเทียนรูปแบบดาวตก ยังสามารถมองว่าเป็นแท่งเทียนแบบป้ายหลุมศพได้ (Gravestone Doji)
อีกหนึ่งสัญญาณที่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับขาลงในสัปดาห์นี้คือ หุ้นที่ทำผลงานได้ดีที่สุดกลับเป็นกลุ่มสายเน้นมูลค่า จากการรายสัปดาห์ มีเพียงหุ้นกลุ่มเฮลท์แคร์ที่สามารถปรับตัวขึ้นได้ 2.5% ตามมาด้วยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 1.75% กลุ่มสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิต 1.35% และกลุ่มอุปโภคบริโภค 1.25% เฉพาะเดือนธันวาคมจนถึงปัจจุบัน หุ้นกลุ่มอุปโภคบริโภคปรับตัวขึ้นมาแล้ว 4.1% กลุ่มสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิต +3.6% อสังหาริมทรัพย์ +3.25% และเฮลท์แคร์ +3.1%
สัญญาณอย่างสุดท้ายที่เป็นตัวบ่งบอกว่านักลงทุนกำลังหันหน้าออกจากสินทรัพย์เสี่ยงคือการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปีและ30 ปี ที่ตอนนี้มีค่าธรรมเนียมอยู่ในระดับที่ใกล้กันมาก
ตามทฤษฎีแล้ว เมื่อเศรษฐกิจดี นักลงทุนจะต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้น พวกเขาจึงกล้าลงทุนกับพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว และเส้นค่าเฉลี่ยระหว่างอัตราผลตอบแทนระยะสั้นและยาวก็วิ่งอยู่ห่างกัน แต่หากสถานการณ์เช่นในรูปนี้เกิดขึ้น นั่นหมายความว่านักลงทุนกำลังหมดศรัทธากับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล และดึงเงินออกจากการลงทุนระยะยาว
จากเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด เราจึงสามารถสรุปได้ว่า แม้ตลาดลงทุนจะปรับตัวลดลงเพราะความเสี่ยงโรคระบาด เงินเฟ้อ และนโยบายของธนาคารกลาง แต่การปรับตัวลดลงนั้นก็เป็นเพียงการย่อตัวเท่านั้น และเนื่องจากสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ก่อนเข้าสู่คริสต์มาส เราเชื่อว่าตลาดลงทุนจะเริ่มรักษาระดับให้อยู่ใกล้กับจุดสูงสุดตลอดกาลนี้ ไปจนถึงหลังปีใหม่ ปัจจัยเสี่ยงที่มีเพียงอย่างเดียวในตอนนี้คือการระบาดของโอมิครอน หากพบว่ามีแนวโน้มจะรุนแรงเพิ่มขึ้น มีผู้เสียชีวิตมากขึ้น นั่นอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ตลาดลงทุนปรับตัวลดลงมาก่อนคริสต์มาส
คำพูดของคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์เมื่อวันศุกร์ที่ได้พูดถึงไปก่อนหน้านี้ ทำให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ปิดท้ายตลาดลงทุนเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว
การปรับตัวกลับขึ้นมาของดัชนีดอลลาร์สหรัฐทำให้กราฟยังคงวิ่งอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมลู่ขึ้นต่อไป เพิ่มความเป็นไปได้ที่อาจจะทะลุกรอบเป็นขาขึ้นต่อ
การปรับตัวขึ้นของทองคำเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ทำให้เกิดเป็นสถิติการปรับตัวขึ้นสองวันติดต่อกัน ถือว่าน่าประหลาดใจทีเดียวที่ทองคำสามารถสร้างขาขึ้นได้วันเดียวกับการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ นี่คืออีกหนึ่งหลักฐานยืนยันว่านักลงทุนกำลังหันไปถือครองสินทรัพย์สำรองปลอดภัยกันมากขึ้น
ขาขึ้นของทองคำครั้งนี้วิ่งอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมสมมาตร หากเป็นไปได้ และไม่มีปัจจัยอะไรมากดดันมากนัก ราคาทองคำอาจวิ่งอยู่ในกรอบนี้ไปจนถึงวันก่อนคริสต์มาส
ราชาแห่งสกุลเงินดิจิทัล (วัดจากมาร์เก็ตแคป) บิทคอยน์สร้างขาลงเป็นสัปดาห์ที่หกติดต่อกัน นับเป็นช่วงเวลาขาลงที่ยาวนานที่สุดตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2018
ตั้งแต่วันที่บิทคอยน์วิ่งลงมาจนหลุดเส้นเทรนด์ไลน์หลัก ที่ลากมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ตอนนี้นักวิเคราะห์หลายฝ่ายมองว่ามีโอกาสที่บิทคอยน์จะลงไปทดสอบแนวรับ $40,000 ณ บริเวณนั้นคือจุดบรรจบกันของจุดต่ำสุดเดือนกันยายนและพฤศจิกายน โดยมีเทรนด์ไลน์ขาขึ้นลากมาตั้งแต่จุดต่ำสุดของเดือนตุลาคมปี 2020
ขาขึ้นสองวันติดต่อกันของราคาน้ำมันดิบ WTI จบสิ้นลงด้วยขาลงในวันศุกร์
ถึงจะเป็นขาลง แต่ถ้าสามารถกลับขึ้นไปยืนเหนือระดับราคา $73 ต่อบาร์เรล จะเป็นการจบกรอบรูปธงขาลง (กรอบราคาสีม่วง) ณ จุดไข่ปลาที่ $70.86 ต่อบาร์เรล นั่นคือเส้นแบ่งดินแดนระหว่างขาขึ้นและลง การจะขึ้นหรือลงของราคาน้ำมันในช่วงใกล้วันหยุดยาว จะมีตัวแปรมาจากข่าวการระบาดโควิดโอมิครอนเป็นหลัก
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EST)
วันอาทิตย์
20:30 (ประเทศจีน) รายงานตัวเลขอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารกลางจีน: ตัวเลขครั้งก่อนอยู่ที่ 3.85%
วันจันทร์
19:30 (ออสเตรเลีย) รายงานการประชุมของธนาคารกลางฯ
วันอังคาร
04:30 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 0.8% เป็น 1.0% MoM
08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีกพื้นฐาน: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -0.2% เป็น 1.6%
18:50 (ญี่ปุ่น) การประกาศนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น
วันพุธ
02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 1.3% และ 6.6% แบบ YoY
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 2.1% QoQ
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจาก CB: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 109.5 เป็น 110.2 จุด
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยมือสอง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 6.34M เป็น 6.50M
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -4.58M เป็น -2.082M
วันพฤหัสบดี
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐาน: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 0.5% เป็น 0.6%
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะลดลงจาก 206K เป็น 205K
08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะลดลงจาก 0.8% เป็น 0.1% MoM
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยใหม่: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 745K เป็น 770K
วันศุกร์
ตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ และส่วนใหญ่ปิดทำการก่อนวันหยุดคริสต์มาส