🥇 กฎข้อแรกของการลงทุนหรือ? รู้ว่าเมื่อใดควรประหยัด! รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ก่อนโปรโมชั่น BLACK FRIDAY จะหมดเขตรับส่วนลด

โอไมครอนและพาวเวลล์ทำดอลลาร์ผันผวนต้อนรับเดือนสุดท้ายของปี 2021

เผยแพร่ 01/12/2564 14:03
อัพเดท 09/07/2566 17:31
EUR/USD
-
USD/JPY
-
USD/CHF
-
USD/CAD
-
EUR/JPY
-
EUR/CHF
-
CAD/USD
-
CL
-
DXY
-

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ แม้ว่านักลงทุนจะเคยถือดอลลาร์เอาไว้ก่อนแถลงการต่อสภาคองเกรส แต่เมื่อการประชุมเริ่มขึ้น และเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดก็ได้พูดด้วยตัวเองว่า “เงินเฟ้อชั่วคราวไม่มีอีกต่อไป” ทำให้ดอลลาร์และตลาดหุ้นสหรัฐถูกเทขายอย่างรวดเร็ว และรุนแรง

การประกาศของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) เมื่อคืนนี้มีความสำคัญมาก เพราะตลาดลงทุนรอมานานหลายเดือนกว่าเฟดจะยอมรับความจริงว่าสภาวะเงินเฟ้อในตอนนี้ไม่ใช่เรื่องชั่วคราว และอาจจะกินเวลายาวนานกว่าที่เคยคาดการณ์เอาไว้ ทั้งๆ ที่ธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ ต่างยอมรับในเรื่องนี้ แต่พาวเวลล์กลับเห็นว่าปัญหาเงินเฟ้อนั้นไม่สำคัญ และไม่คิดจะขึ้นดอกเบี้ยไปจนกว่าจะถึงช่วงครึ่งปีหลังของ 2022 ถ้าหากไม่มีการระบาดของโควิดกลับมาอีกครั้ง เราก็คงไม่ได้เห็นพาวเวลล์พูดด้วยตัวเองว่าจะรีบจบการปรับลดวงเงิน QE (คาดว่าจะประกาศอย่างเป็นทางการในการประชุม FOMC ในวันที่ 14-15 ธันวาคม) เพื่อร่นระยะเวลาการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้ามา

อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ถ้อยแถลงของประธานเฟดเป็นที่จับตามองเป็นพิเศษคือ “จังหวะที่เลือกดำเนินการ” การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่มีนามว่า “โอไมครอน” ได้กลบข่าวที่เคยสร้างความกดดันในช่วงก่อนหน้านี้ไปจนหมด ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันแพง ภาวะเงินเฟ้อ หรือความพยายามงัดข้อกับกลุ่ม OPEC ของโจ ไบเดน สาเหตุที่จนถึงตอนนี้ทุกฝ่ายยังคงเป็นกังวลเกี่ยวกับโอไมครอนเป็นเพราะยังไม่มีใครสามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าโอไมครอนจะเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน

ส่วนหนึ่งของถ้อยแถลงจากเจอโรม พาวเวลล์เมื่อคืนนี้บอกว่า “เราจะยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโอไมครอนไปอย่างน้อยอีกหนึ่งสัปดาห์หรือประมาณ 10 วัน” ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวนั้นมีความใกล้เคียงกันกับการประชุม FOMC ในช่วงกลางเดือนธันวาคมพอดี เมื่อประเมินความเสี่ยงแล้ว ธนาคารกลางสหรัฐอาจจะมีการวางแนวทางนโยบายการเงินใหม่ ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ ด้วยถ้อยแถลงที่บอกว่าอาจจะต้องมีการร่นระยะเวลาการลด QE ให้จบไวขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของเฟดที่มีต่อปัจจัยที่ไม่มีความชัดเจน และไม่อาจควบคุมได้

ถึงแม้ว่าเจอโรม พาวเวลล์จะชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงตามที่ได้กล่าวไป แต่เขาก็ไม่อยากให้ตลาดลงทุนมีความกังวลมากเกินความจำเป็น เขากล่าวว่านโยบายทางการเงินของธนาคารกลางจะยังคงเดิม ตราบใดที่โอไมครอนไม่เลวร้ายไปจนถึงขั้นสหรัฐอเมริกาต้องกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้ง ดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนจะได้เห็นในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ในวันที่ 14-15 ธันวาคมนี้จะเป็นเรื่องของการร่นระยะเวลาการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และแผนภูมิแบบจุด (dot-plot) ที่แสดงถึงความต้องการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้เข้ามาอยู่ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2022 ให้ได้

อันที่จริงแล้ว ถ้อยแถลงของประธานเฟดเมื่อคืนนี้สมควรที่จะสนับสนุนดอลลาร์สหรัฐให้มีการแข็งค่า แต่เพราะตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแรง และความกังวลที่มีต่อโอไมครอน จึงทำให้ดอลลาร์สหรัฐถูกเทขาย ถ้อยแถลงของเจอโรมนั้นกลับเข้าทางสกุลเงินเยนและสวิตฟรังก์ให้แข็งค่าสู้กับดอลลาร์ เมื่อตัวเลขเศรษฐกิจอย่างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและดัชนี PMI จากชิคาโกในเดือนพฤศจิกายนหดตัวลดลงมากกว่าที่คาดการร์เอาไว้  ตราบใดที่ยังมีโอไมครอนเป็นปัจจัยกดดัน เราเชื่อว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนจะหดหายไปในเดือนนี้อีกพอสมควร

ปกติแล้ว สถานการณ์เช่นนี้ดอลลาร์สหรัฐต้องแข็งค่าในฐานะสกุลเงินสำรองอันดับหนึ่งของโลก แต่การออกมาพูดของ CEO โมเดิร์นนาที่บอกว่าวัคซีนที่มีในปัจจุบันอาจจะมีประสิทธิภาพน้อยลงเมื่อต้องเจอกับโอไมครอน ทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า คำอธิบายถึงสาเหตุนี้ง่ายมาก เพราะตอนนี้เหลือเพียงปัจจัยแห่งเวลาเท่านั้นก่อนที่เราจะได้ยินข่าวพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนรายแรกในสหรัฐฯ ซึ่งทุกฝ่ายก็ทราบดีและกำลังคาดการณ์กันไปต่างๆ นาๆ ว่าถ้าพบแล้ว ภาครัฐจะดำเนินการอย่างไรเพื่อจบปัญหานี้ให้ได้เร็วที่สุด แม้ว่าจะไม่กลับไปล็อกดาวน์ แต่ถ้าเจอรายแรกขึ้นมาเมื่อไหร่ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยก่อนคริสต์มาสและปีใหม่จะมาถึงจะลดลงทันที ในกรณีที่แย่ที่สุดคือเตรียมบอกลาคริสต์มาสปีนี้ได้เลย ทั้งหมดนี้คือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ และนำมาซึ่งคำตอบว่าทำไมดอลลาร์ถึงถูกเทขายก่อนทั้งๆ ที่ยังไม่พบผู้ป่วยรายแรกเลยด้วยซ้ำ

เมื่อคืนนี้สกุลเงินที่แข็งค่าได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐคือเยน สวิตฟรังก์และยูโร ทั้งๆ ที่ยุโรปกำลังอยู่ในช่วงต้องกลับมาเผชิญกับมาตรการคุมเข้มทางสังคมอีกครั้ง ตอนนี้ออสเตรียและสโลวาเกียได้เข้าสู่การล็อกดาวน์อย่างเต็มรูปแบบไปแล้ว เนเธอร์แลนด์มีการล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ เบลเยียม เยอรมันและโปรตุเกสมีการประกาศมาตรการคุมเข้มทางสังคมใหม่ ฝรั่งเศสบังคับให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมภายในอาคารทั้งหมดต้องสวมหน้ากากอนามัย เชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้สกุลเงินยูโรแข็งค่านอกจากการอ่อนค่าของดอลลาร์แล้ว ยังเป็นเพราะตัวเลขตลาดแรงงานของเยอรมันที่ออกมาดีเช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้บริโภคในยูโรโซน

สกุลเงินที่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของดอลลาร์สหรัฐมากที่สุดคือดอลลาร์แคนาดา ตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายน ราคาน้ำมันดิบได้ร่วงลงจากจุดสูงสุดเกือบ $85 ต่อบาร์เรล ลงมายังจุดต่ำสุด ณ $65.45 ต่อบาร์เรล ตอนนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบสามเดือนที่ได้เห็นน้ำมันดิบ WTI ลงมาวิ่งอยู่ใกล้กับ $65 ต่อบาร์เรล โอไมครอนอาจจะกำลังเป็นภัยคุกคามเศรษฐกิจแคนาดาอีกครั้งเมื่อมีรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อใหม่เป็นสายพันธุ์โอไมครอนห้าราย ดังนั้นด้วยสภาวะที่ราคาน้ำมันลดลง การระบาดของเชื้อโควิดใหม่ จะเป็นแรงกดดันต่อการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์แคนาดา ถึงแม้ว่าตัวเลขตลาดแรงงานคาดว่าจะออกมาดีขึ้นก็ตาม

สำหรับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของวันนี้ ในช่วงเช้าเราได้ทราบตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 3 ของออสเตรเลียไปแล้ว ซึ่งตัวเลขที่ออกมานั้นเพิ่มขึ้นจาก -2.7% เป็น -1.9% ตลอดทั้งวันจะมีการรายงานตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคการผลิตของยูโรโซน สหราอชาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ในช่วงที่ตลาดลงทุนฝั่งสหรัฐฯ เปิด เราจะได้ทราบตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ที่คำนวณโดยภาคเอกชน (ADP) ดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM และรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจจากธนาคารกลางสหรัฐ ข้อมูลจากรายงานฉบับนี้อาจช่วยลดความตื่นตูมที่มีจากถ้อยแถลงของเจอโรม พาวเวลล์เมื่อคืนก่อน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอนถือเป็นข่าวที่ละเลยไม่ได้เลยตลอดทั้งสัปดาห์นี้

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย