บทวิเคราะห์ราคาทองคำ ภาคเช้า ทองคำถูกกดดันหลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาดีเกินคาด

เผยแพร่ 17/11/2564 09:54
XAU/USD
-
GC
-

สรุป ราคาทองคําวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 12.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ว่าในระหว่างวัน แรงซื้อทองคําในฐานะสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อจะผลักดันให้ราคาทองคําพุ่งขึ้นไป ทดสอบระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนบริเวณ 1,87701 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี ราคาทองคําไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้ ส่วนหนึ่งเพราะทองคําได้รับแรงกดดันจากแรงขายทํากําไรและ แรงขายทางเทคนิค นอกจากนี้ราคาทองคํายังได้รับแรงกดดันเพิ่มจากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดีเกินคาดทุกรายการ ไม่ว่าจะเป็นยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 1.75% ในเดือนต.ศ. เมื่อ เทียบรายเดือน ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.4%, การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของสหรัฐที่เพิ่มขึ้น 1.6% ในเดือนต.ศ.และดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านที่ดีดตัวขึ้นเกินคาด ระดับ 83 ในเดือนต.ค.ซึ่งส่งผลให้หนุนดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือน พร้อมกับหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีให้ฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับ 1.63% จน ซึ่งผลกดดันราคาทองคํา ประกอบกับเมื่อคืนนี้มีเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)จํานวนหนึ่งออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อครัวเรือนของสหรัฐ รวมไปถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และแสดงความต้องการที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ สถานการณ์ดังกล่าวเป็นปัจจัยพื้นฐานสําคัญที่ส่งผลกดดันให้ราคาทองคําร่วงลงเกือบ 30 ดอลลาร์ต่อ ขอนซ์จากระดับสูงสุดในระหว่างวัน สู่ระดับต่ําสุดบริเวณ 1,848.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคําไม่เปลี่ยนแปลง สําหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยการอนุญาตก่อสร้าง และข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านของสหรัฐ รวมถึงถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟด

หากราคาทองคำไม่สามารถขึ้นไปยืนเหนือ 1,870-1,877 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้มีราคาอาจแกว่งตัว ออกด้านข้าง ทั้งนี้ ประเมินแนวรับบริเวณ 1,848-1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามในโซน 1,870-1,877 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาผ่านได้การเคลื่อนไหวในราคาอาจปรับตัวขึ้นต่อทดสอบแนว ต้านถัดไปโซน 1,889 ดอลลาร์ต่อออนซ์

คําแนะนํา เน้นเก็งกําไรในกรอบจากการแกว่งตัว หาก ราคายังไม่ผ่านโซน 1,870-1,877 ดอลลาร์ต่อออนซ์ รอ เปิดสถานะซื้อในบริเวณ 1,848-1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากหลุด 1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์)

ดูกราฟราคาทองคำ SPOT XAU/USD

https://th.investing.com/currencies/xau-usd

กระทู้พูดคุยเกี่ยวกับราคาทองคำ SPOT

https://th.investing.com/currencies/xau-usd-commentary

บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย