ลด 50%! ชนะตลาดในปี 2025 ด้วย InvestingProรับส่วนลด

จับตาถ้อยแถลงของประธานเฟด การประชุมอัตราดอกเบี้ย และตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ

เผยแพร่ 14/07/2564 13:59
EUR/USD
-
GBP/USD
-
USD/CAD
-
NZD/USD
-
US10YT=X
-
DXY
-

ดอลลาร์สหรัฐเมื่อวานนี้แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ เหตุผลสำคัญที่ช่วยหนุนการแข็งค่าของดอลลาร์คือการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เฉพาะในเดือนมิถุนายน CPI ได้ปรับตัวขึ้นมา 0.9% เพิ่มขึ้นจากตัวเลข 0.6% ในเดือนพฤษภาคมและสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ 0.5% ส่วนตัวเลข CPI แบบรายปีถือว่าสร้างเซอร์ไพรส์ให้กับตลาดด้วยการกระโดดขึ้นถึง 5.4% เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 12 ปี ครั้งสุดท้ายที่เห็น CPI เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้ (4.5%) ต้องย้อนกลับไปถึงปี 1991

ถึงแม้ว่าตลาดลงทุนจะคาดการณ์เอาไว้อยู่แล้วว่าดัชนี CPI ที่ออกไปเมื่อวานนี้จะต้องเพิ่มขึ้น แต่ความเป็นจริงที่ออกมาตามนั้นก็ยิ่งตอกย้ำปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ใช่แค่เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่นี่คือการปรับตัวขึ้นมาเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องและกำลังกระจายไปสร้างผลกระทบให้กับการเงินในทุกๆ มิติ หากจะแปลเป็นภาษาธรรมดาก็คือเราอาจจะต้องอยู่กับสินค้าราคาแพงนานขึ้นและเป็นการบอกใบ้ว่าปัญหาซัพพลายเชนคอขวดอาจจะไม่สามารถแก้ได้โดยเร็ว

การที่ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคออกมาเช่นนี้ ยิ่งทำให้ตลาดตั้งแง่กับคำว่า “เงินเฟ้อเป็นผลกระทบชั่วคราว” ของธนาคารกลางสหรัฐฯ มากขึ้น การที่ตลาดหุ้นและพันธบัตรวิ่งกันไปคนละทิศละทางสะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนยังตัดสินใจไม่ได้ว่าควรฝากชีวิตเอาไว้กับสินทรัพย์ไหนดี เฟดฟันด์ฟิวเจอร์สถึงกับกล้าเดิมพันว่ามีโอกาส 90% ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยภายในเดือนธันวาคมปี 2022 แต่ตอนนี้กราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปียังปรับตัวลดลง ไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

การที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงอย่างช้าๆ เป็นพฤติกรรมที่ชัดเจนว่านักลงทุนในตลาดกำลังรอฟังคำแถลงของประธานเฟดที่จะมีต่อสภาสูงและสภาล่างในคืนวันนี้และวันพรุ่งนี้ ดอลลาร์จะอ่อนค่าหากเนื้อความในถ้อยแถลงนั้นไม่ให้ค่ากับตัวเลข CPI ที่พึ่งประกาศออกไป แต่ถ้าเจอโรม พาวเวลล์แถลงว่าการลดสภาพคล่องกำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ ดอลลาร์สหรัฐจะปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว

นอกจากถ้อยแถลงของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในคืนนี้ สิ่งที่ตลาดลงทุนจะให้ความสำคัญก่อนคือผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางนิวซีแลนด์และแคนาดา ก่อนการประชุมทั้งสองสกุลเงินได้หลีกทางให้กับขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐ ทั้งๆ ที่ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) และธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ก็ขึ้นชื่อในเรื่องของการเป็นธนาคารกลางสายเน้นเสถียรภาพตามกลไกเศรษฐศาสตร์มากกว่าการอะลุ่มอล่วยเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามผลการประชุมอัตราดอกเบี้ยของ RBNZ เมื่อเช้านี้ก็ได้ข้อสรุปว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ดังเดิมที่ 0.25%

แม้จะมีกระแสความเชื่อที่ว่า RBNZ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้นเพราะธนาคารพาณิชย์ในประเทศหลายแห่งได้เรียกร้องให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในเดือนพฤศจิกายน แต่การที่ดอลลาร์นิวซีแลนด์ยังหลีกทางให้กับดอลลาร์สหรัฐ หมายความว่าจริงๆ แล้วนักลงทุนบางส่วนยังไม่เชื่อว่า RBNZ จะรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขนาดนั้น เศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ยังมีความเสี่ยงอยู่จากการระบาดโควิด-19 ในออสเตรเลียจนต้องล็อกดาวน์และการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศจีนที่ชะลอตัว ตอนนี้กราฟ NZD/USD ยังสามารถยืนเหนือ 0.7000 ได้อยู่ แต่ถ้าแนวรับ 0.6920 ถูกเจาะ แนวรับถัดไปจะอยู่ที่ 68 เซนต์ ส่วนฝั่งแนวต้าน ถ้าสามารถขึ้นยืนหนือ .7025 แนวต้านถัดไปจะอยู่ที่ .7150

การวางนโยบายการเงินของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ที่จะมีการประชุมกันในคืนนี้ 80% ของผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า BoC จะประกาศลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่อ เพราะก่อนหน้านี้ BoC ก็เป็นธนาคารกลางแห่งแรกที่ดำเนินการลดสภาพคล่องไปแล้วในเดือนเมษายน  นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังคาดการณ์ด้วยว่า BoC จะยังปล่อยเพดานเงินเฟ้อเอาไว้ดังเดิม สถานการณ์การระบาดโควิดของแคนาดาตอนนี้ประชาชนเกือบ 68% ได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว จึงทำให้ประเทศเริ่มมีการผ่อนคลายนโยบายข้อจำกัดทางสังคม ข้อมูลนี้สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและตัวเลขการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ผลสำรวจภาพรวมทางธุรกิจที่ธนาคารกลางแคนาดาเป็นคนออกเมื่อไตรมาสที่แล้วปรับตัวขึ้นสูงที่สุด สะท้อนให้เห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศแคนาดา

แต่สำหรับกราฟ USD/CAD สถานการณ์ไม่ค่อยแตกต่างจากของดอลลาร์นิวซีแลนด์เท่าไหร่ ถึงภาพรวมจะดีแต่ดอลลาร์แคนาดาก็เลือกที่จะหลีกทางให้กับดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนบางคนจึงเชื่อว่ากราฟ USD/CAD จะไม่มีความเคลื่อนไหวมากนักในวันนี้ กรอบการวิ่งของ USD/CAD ก็จะไปไม่ไกลเกินกว่าแนวต้าน 1.26 และ 1.24 อันที่จริงนอกจากดอลลาร์นิวซีแลนด์และดอลลาร์แคนาดาแล้ว สกุลเงินยูโรและปอนด์ก็เป็นอีกสองสกุลเงินที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ สกุลเงินปอนด์วันนี้จะมีรายงานตัวเลข CPI ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเหมือนกับของอเมริกา แต่ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร สุดท้ายกราฟEUR/USD และ GBP/USD ก็มีโอกาสปรับตัวลดลงเพราะตลาดต้องการถือครองดอลลาร์สหรัฐมากกว่าในเวลานี้

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย