ถึงแม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเริ่มแสดงท่าทีที่ต้องการลดความร้อนแรงของอัตราเงินเฟ้อลง แต่กว่าที่การประกาศนี้จะมาถึง ก็ต้องรอจนกระทั่งถึงช่วงปลายไตรมาสที่ 2 ซึ่งถือเป็นช่วงที่เวลาที่ดีที่สุดสำหรับนักลงทุนสายสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาไม้แปรรูปสามารถขึ้นไปยืนเหนือ $1,700 ต่อหนึ่งพันลูกบาศก์ฟุต ทองแดงขึ้นไปจนเกือบแตะ $4.90 ต่อปอนด์ และพาลาเดียมก็สามารถขึ้นไปยืนเหนือ $3,000 ต่อออนซ์ได้ จึงไม่แปลกใจหากนับเฉพาะไตรมาสที่ 2 ปี 2021 เราจะได้เห็นตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้น 10.76% และหากนับตลอดทั้งปี 2021 มาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายนจะพบว่าตลาดแห่งนี้ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 20.32%
ถึงแม้ว่าการประกาศร่นระยะเวลาขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดจะทำให้ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลงมาบ้างในช่วงครึ่งหลังของเดือนมิถุนายน แต่โดยรวมแล้วไตรมาสที่ 2 ก็ยังถือเป็นช่วงขาขึ้น และทำผลงานได้ดีกว่าไตรมาสที่ 1 ปี 2021 ในบทความนี้เราจะพามาดูกันว่าสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละประเภทนั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด
น้ำมันยังคงเป้นที่ต้องการของโลกท่ามกลางกระแสพลังงานสะอาด
หากถามว่าในไตรมาสที่ 2 และปี 2021 สินค้าโภคภัณฑ์ตัวไหนเติบโตได้อย่างโดดเด่นที่สุด เชื่อว่าหลายๆ คนคงเห็นตรงกันว่าต้องยกตำแหน่งนี้ให้กับตลาดน้ำมันดิบ ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ผู้ผลิตน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และเอทานอลรวมกันแล้วสามารถปรับตัวขึ้นในไตรมาสที่ 2 คิดเป็น 25.08% และคิดเป็น 52.60% หากนับตลอดช่วงครึ่งปีแรก
- ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ปรับตัวขึ้น 24.19% ในไตรมาสที่ 2 และปรับตัวขึ้น 51.42% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวขึ้น 20.15% ในไตรมาสที่ 2 และปรับตัวขึ้น 44.98% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
- ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวขึ้น 14.40% ในไตรมาสที่ 2 และปรับตัวขึ้น 58.98% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
- ราคาน้ำมันที่กลั่นแล้วปรับตัวขึ้น 20.26% ในไตรมาสที่ 2 และปรับตัวขึ้น 43.42% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
- ราคาก๊าซธรรมชาติปรับตัวขึ้น 39.95% ในไตรมาสที่ 2 และปรับตัวขึ้น 43.76% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
นอกจากตลาดพลังงานแล้ว สินค้าโภคภัณฑ์ในประเภทอื่นๆ ก็สามารถปรับตัวขึ้นได้เป็นอย่างดีในไตรมาสที่ 2 และสามารถปรับตัวขึ้นได้มากกว่าช่วงสิ้นเดือนธันวาคมปี 2020
- ตลาดพลังงานปรับตัวขึ้น 25.08% ในไตรมาสที่ 2 และปรับตัวขึ้น 52.60% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
- ตลาดแร่โลหะปรับตัวขึ้น 13.26% ในไตรมาสที่ 2 และปรับตัวขึ้น 23.14% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
- ตลาดสินค้าการเกษตรปรับตัวขึ้น 12% ในไตรมาสที่ 2 และปรับตัวขึ้น 6.50% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
- ตลาดธัญญาพืชปรับตัวขึ้น 7.71% ในไตรมาสที่ 2 และปรับตัวขึ้น 14.82% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
ตลาดโปรตีนจากสัตว์ปรับตัวขึ้น 5.09% ในไตรมาสที่ 2 และปรับตัวขึ้น 23.64% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
- ตลาดแร่โลหะมีค่าปรับตัวขึ้น 1.55% ในไตรมาสที่ 2 และปรับตัวขึ้น 1.25% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
สินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่ใช่พลังงานที่ปรับตัวขึ้นมากที่สุด
ความต้องการวัสดุตั้งต้นในกระบวนการผลิตและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry freight index) เพิ่มขึ้น 68.06% ในช่วงไตรมาสที่ 2 หากวัดตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงปัจจุบัน ดัชนีตัวนี้ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 147.66% นอกจากนี้ในช่วงไตรมาสที่ 2 เราพบว่าราคาซื้อขายแป้งข้าวสาลีในช่วงฤดูใบไม่ผลิบน MGE ปรับตัวขึ้น 42.24%
ที่มา: Barchart
กราฟในรูปแสดงให้เห็นช่วงเวลาขาขึ้นของราคาแป้งข้าวสาลีซึ่งสอดคล้องกับภัยแล้งที่เกิดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ในตอนนั้นราคาซื้อขายแป้งข้าวสาลีในช่วงฤดูใบไม่ผลิสามารถขึ้นยืนเหนือ $8 ต่อบุชเชล ซึ่งไม่เคยปรับตัวขึ้นสูงขนาดนี้นับตั้งแต่ปี 2013
ที่มา: CQG
ราคาซื้อขายก๊าซธรรมชาติล่วงหน้าในไตรมาสที่ 2 ปรับตัวขึ้น 29.95% และตลอดทั้งปี 2021 นับมาจนถึง 30 มิถุนายนคิดเป็นขาขึ้น 43.76% ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2021 ก๊าซธรรมชาติสามารถปรับตัวขึ้นไปถึงจุดสูงสุด $3.814 นับเป็นจุดที่สูงที่สุดที่เคยทำได้ตั้งแต่ธันวาคมปี 2018 ระดับแนวต้านถัดไปที่รอก๊าซธรรมชาติอยู่คือ $4.929 ต่อ MMBtu ซึ่งเป็นจุดสูงสุดในเดือนพฤศจิกายนปี 2018
ที่มา: CQG
รองลงมาจากก๊าซธรรมชาติ เอทานอลถือเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวขึ้นมากที่สุดในไตรมาสที่ 2 ด้วยตัวเลข 31.56% และ 73.06% หากวัดตั้งแต่ต้นปีจนถึง 30 มิถุนายน ขาขึ้นครั้งนี้ได้อานิสงส์จากนโยบายรักษ์โลกของประธานาธิบดีโจ ไบเดนและทำจุดสูงสุดของเอทานอลล่วงหน้านับตั้งแต่ปี 2014
นอกจากสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งสามตัวที่ได้กล่าวถึงไป สินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่นๆ ก็สามารถปรับตัวขึ้นเกินระดับตัวเลขสองหลักได้ทั้งหมดเช่นแร่เหล็ก กาแฟ ข้าวโพด {959209|กระป๋อง}} น้ำมันดิบ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันถ่ายเทความร้อน น้ำตาล ตะกั่ว นิกเกิล อะลูมิเนียม และข้าวสาลี
สินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่ใช่พลังงานที่ปรับตัวขึ้นน้อยที่สุด
ไม้แปรรูปสามารถปรับตัวขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดใหม่เหนือ $1,700 ต่อหนึ่งพันบอร์ดฟุตก่อนจะร่วงกลับลงมา
ที่มา: CQG
กราฟรายเดือนรูปนี้แสดงให้เห็นกราฟไม้แปรรูปที่ลงมาจาก $1,700 จนเหลือเพียง $800 ก่อนปิดไตรมาสที่ 2 ซึ่งกราฟไม้แปรรูปไม่เคยปรับตัวขึ้นมาสูงเกินกว่า $493.50 ได้เลยตั้งแต่ปี 2017 หากนับเฉพาะไตรมาสที่ 2 ไม้แปรรูปปรับตัวขึ้นมาได้ทั้งหมด 29.05%
ที่มา: Kitco
โรเดียมเคยขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดตลอดกาลในไตรมาสที่ 2 เอาไว้ที่ $28,800 ต่อออนซ์ ก่อนที่จะปรับตัวลงมาวิ่งต่ำกว่า $20,000 ก่อนปิดไตรมาสในวันที่ 30 มิถุนายน คิดเป็นขาขึ้นตลอดทั้งไตรมาส 23.20%
ที่มา: CQG
สุดท้ายคือราคาผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองปรับตัวลดลงตลอดทั้งไตรมาสที่ 2 คิดเป็น 11.27% และยังถือว่าต่ำกว่าราคาปิดในช่วงปลายปี 2020 คิดเป็น 12.55% นอกจากถั่วเหลืองแล้ว แพลตินัมและข้าวดิบก็ไม่สามารถทำผลงานได้ดีในไตรมาสที่ 2 ด้วยเช่นกัน
ขาขึ้นในไตรมาส 2 จะยืนยาวไปตลอดทั้งไตรมาส 3 เลยหรือไม่
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจัยที่ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้นมาตลอดทั้งไตรมาสที่ 2 คือผลกระทบที่เกิดจากการลดอัตราดอกเบี้ยลงจนอยู่ในระดับต่ำ เงินที่อัดเข้ามาอย่างมหาศาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และโรคระบาดโควิด-19
แต่ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงกลางเดือนมิถุนายนกำลังจะทำให้เรื่องราวทุกอย่างเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเฟดได้ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการในการประชุมใหญ่ที่แจ็กสัน โฮล ซึ่งจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม หากเฟดยืนยันที่จะเริ่มตึงนโยบายการเงินแล้ว เราก็อาจจะได้เห็นขาขึ้นในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ชะลอตัวลง
นอกจากนี้ปัจจัยภายในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เองก็จะมีส่วนทำให้เทรนด์ขาขึ้นนี้ลดความร้อนแรงลง เช่นต้นทุนการผลิตที่สูงเกินไป สินค้าคงคลังที่กักตุนเอาไว้มากขึ้น และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เริ่มหาสินค้าทางเลือกมาทดแทนสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีในปัจจุบัน