ลด 50%! ชนะตลาดในปี 2025 ด้วย InvestingProรับส่วนลด

นักลงทุนจับตาทองคำหลังผลการประชุมเฟด ราคาน้ำมันมีปัจจัยหนุนให้ไปต่อ

เผยแพร่ 22/06/2564 15:00
XAU/USD
-
GC
-
LCO
-
CL
-

อย่างที่ตั้งใจไว้ แต่เฟดก็จำเป็นต้องประกาศอะไรออกมาสักอย่างเพื่อสกัดความร้อนแรงในตลาดหุ้น แม้ว่าผลที่ออกมาจะเป็นไปตามคาด (คงนโยบายการเงินและดอกเบี้ยเอาไว้ดังเดิม) แต่ที่สร้างความประหลาดใจและกลายเป็นที่พูดถึงอย่างมากคือการประกาศร่นระยะเวลาขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาเป็นภายในปี 2023

ธนาคารกลางสหรัฐฯ พูดค่อนข้างชัดเจนว่าจะไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้แน่นอน แต่พวกเขายอมที่จะปรับระยะเวลาการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้ามาเร็วขึ้น ซึ่งอาจจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยหนึ่งหรือสองครั้งภายในก่อนสิ้นปี 2023 คิดจากตอนนี้เท่ากับว่าเราเหลือเวลาอีก 2 ปีครึ่งหรืออีก 30 เดือน ส่วนเรื่องการลดวงเงิน QE มูลค่า $120,000 ล้านเหรียญต่อเดือนนั้น เฟดไม่ได้ให้ข้อมูลใดๆ ชัดเจน บอกเพียงแต่ว่ามีการพูดคุยกันบ้างแล้ว 

“ความตั้งใจของเรา (เฟด) คือการลดสภาพคล่องจะต้องเป็นไปตามกลไกตลาด อย่างเป็นระบบ และโปร่งใสโดยที่ไม่ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของนักวิเคราะห์จากสำนักต่างๆ”

ถ้อยแถลงของประธานเฟดคำนี้หลังจากจบการประชุมหมายความว่าพวกเขายังต้องการข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนกว่านี้ก่อนที่จะตัดสินใจดึงสภาพคล่อง $120,000 ล้านเหรียญออกจากตลาด แม้ว่าจะยังไม่มีมาตรการหรือนโยบายการเงินใดๆ เพิ่มเติมจากการประชุมครั้งนี้ แต่เพียงการร่นระยะเวลาเข้ามาก็เพียงพอแล้วที่จะดันดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แข็งค่าขึ้นและส่งราคาทองคำให้ร่วงลงสู่ 38.2% ของเครื่องมือ Fibonacci Retracement

สถานการณ์ในธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มเย็นลงเมื่อประธานเฟดยอมที่จะเชื่อแล้วบ้างว่าปัญหาเงินเฟ้อในตอนนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อีกต่อไป และอีกสิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือมีผู้วางนโยบายที่เริ่มย้ายฝั่งมาอยู่ในกลุ่มที่สนับสนุนให้มีการขึ้นดอกเบี้ยเร็วที่สุดมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ พยายามหว่านล้อมเหล่าผู้วางนโยบายให้เชื่อว่าเงินเฟ้อครั้งนี้เป็นเรื่อง “ชั่วคราว” เท่านั้น แต่จากผลมติที่แสดงออกมาเป็นแผนภูมิแบบจุด (dot-plot) ก็ชี้ให้เห็นชัดเจนว่ามีคนเห็นด้วยกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น

การที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้นครั้งนี้หากจะมองให้เป็นความเสี่ยงก็สามารถทำได้ อย่าลืมว่านี่เป็นเพียงการยอมรับว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น ซึ่งเฟดอาจจะตัดสินใจร่นระยะเวลาเข้ามาอีกหากภายในช่วงครึ่งปีหลังพวกเขาเห็นว่าเงินเฟ้อยังเติบโตไม่หยุด ความไม่แน่นอนและการจับตาผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อจากนี้จะยิ่งเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุมที่แจ็คสัน โฮล ไวโอมิ่ง ในเดือนสิงหาคมซึ่งถือเป็นการประชุมใหญ่ที่สุดของธนาคารกลางสหรัฐฯ

ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้สัปดาห์ที่แล้วทองคำต้องเผชิญกับขาลงที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตโควิดระบาด ภายในช่วงเวลาเพียงสองวัน  ราคาทองคำได้ปรับตัวลดลงไป 6% มีราคาซื้อขายอยู่ที่ $1,790 โดยประมาณGold Daily

ราคาซื้อขายทองคำล่วงหน้าบนตลาด COMEX ในช่วงบ่ายของวันจันทร์ของตลาดลงทุนฝั่งเอเชียมีราคาซื้อขายอยู่ที่ $1,778.40 ปรับตัวขึ้นมา 0.5% เทียบกับขาลงของสัปดาห์ก่อนหลังจากผลการประชุม -5.9% หรือคิดเป็นขาลง $110 หนักที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคมปี 2020 

สัปดาห์นี้เราจะได้เห็นความคิดเห็นของผู้วางนโยบายการเงินคนอื่นๆ ว่ามีความเห็นอย่างไรต่อผลการประชุมในสัปดาห์ที่แล้ว คนแรกที่เราได้เห็นท่าทีของเขาแล้วคือนายเจมส์ บลูราร์ด ประธานธนาคารกลางแห่งหลุยส์เซียนา ซึ่ง CNBC ดึงตัวเขาไปสัมภาษณ์เมื่อวันศุกร์ โดยปกติแล้วเจมส์มักจะมีความเห็นที่ไม่ตรงกันกับเจอโรม พาวเวลล์ มาโดยตลอด แม้กระทั่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ เขาก็เชื่อว่าอาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในช่วงปลายปี 2022 เลยก็เป็นได้

นอกจากเจมส์แล้วก็จะมีการแสดงความเห็นของประธานเฟดแห่งเคลเวอร์แลนด์นางลอเรตตา เมสเตอร์ นางแมรี่ ดาลีย์ ประธานเฟดแห่ง ซาน ฟรานซิสโก ซึ่งทั่งคู่มีคิวขึ้นแถลงในวันนี้ นอกจากนี้ก็จะมีนายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดแห่งแอตแลนต้า และนายอีริค โรเซนเก้น ประธานเฟดแห่งบอสตัน ส่วนเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดจะต้องให้การกับสภาคองเกรสเกี่ยวกับผลการตัดสินใจเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 

ทิม กริชกี้ หัวหน้านักวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุนจาก Inverness Council นิวยอร์กให้ความเห็นต่อถ้อยแถลงของเหล่าบรรดาเฟดว่า

“ถือเป็นสัปดาห์ที่น่าจับตาเป็นอย่างยิ่งเพราะนี่เป็นครั้งแรกที่เราจะได้เห็นประธานเฟดแต่ละคนกลับมาเป็นตัวของตัวเองเสียที หลังจากที่ต้องคอยพูดว่า “เงินเฟ้อเป็นเรื่องชั่วคราว” ราวกับหุ่นยนต์มานาน เชื่อได้เลยว่าการเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยต่อการร่นระยะเวลาขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะมีอยู่ในระดับที่เท่าๆ กันเลย”

ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจสัปดาห์นี้สำคัญมาก

มาตรวัดที่เฟดนิยมใช้เพื่อวัดการเติบโตของอัตราเงินเฟ้อหลักๆ มีอยู่ทั้งหมดสองตัวเลข หนึ่งคือดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ประกาศไปแล้วตั้งแต่สัปดาห์ที่สองของเดือนมิถุนายน และตัวเลขที่สองคือดัชนีการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ที่จะเป็นตัวบอกรายได้และการจับจ่ายใช้สอยส่วนบุคคล 

ครั้งล่าสุดที่ PCE มีการประกาศออกมาคือเดือนเมษายน ซึ่งตัวเลขในเดือนนั้นปรากฎว่าเพิ่มขึ้นมา 3.1% เท่ากันกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว อันที่จริงเฟดทราบดีว่าสาเหตุที่ PCE เพิ่มขึ้นเกิดมาจากปัญหาซัพพลายเชนขาดแคลนที่ทำให้ราคาสินค่าแพงขึ้น แต่เจอโรม พาวเวลล์และเฟดคนอื่นๆ ที่ยังมองว่าควรผ่อนคลายนโยบายทางการเงินต่อไปกลับพยายามที่จะบอกกับทุกคนว่าปัญหานี้เป็นเพียงเรื่องชั่วคราวเท่านั้น 

นอกจากการประกาศตัวเลข PCE แล้ว ในสัปดาห์นี้จะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ ด้วยเช่นยอดขายที่อยู่อาศัยมือสอง ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน ดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการ และตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงสภาพตลาดแรงงานแบบรายสัปดาห์ได้ดีที่สุด

ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นเพราะความล่าช้าในสนธิสัญญานิวเคลียร์

ราคาน้ำมันดิบสามารถปรับตัวขึ้นได้อีกครั้งหลังจากการเจรจาสนธิสัญญานิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านต้องหยุดลงชั่วคราว ยิ่งการเจรจานี้ไม่คืบหน้านานเท่าไหร่ การกลับมาผลิตน้ำมันของอิหร่านก็จะยิ่งล่าช้ามากขึ้นเท่านั้น Oil Daily

ราคาซื้อขายน้ำมันดิบ WTI ที่วัดในช่วงบ่ายของตลาดสิงคโปร์เมื่อวานนี้ปรับตัวขึ้น 0.5% มีราคาซื้อขายอยู่ที่ $71.61 ต่อบาร์เรล ตลอดทั้งสัปดาห์ที่แล้ว WTI ปรับตัวขึ้น 1% ขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดเอาไว้ที่ $72.99 ต่อบาร์เรลในวันพุธที่ 16 มิถุนายน ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์มีราคาอยู่ที่ $73.66 ปรับตัวขึ้นมา 0.2% ตลอดทั้งสัปดาห์ที่แล้ววิ่งขึ้นมา 1.1% สร้างจุดสูงสุดเอาไว้ที่ $74.96 ต่อบาร์เรล

นักวิเคราะห์หลายสำนักเชื่อมั่นเหลือเกินว่าความต้องการน้ำมันจะมีเพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูร้อนที่กำลังจะมาถึงในสหรัฐฯ และยุโรปเนื่องจากเริ่มมีการคลายล็อกดาวน์กันแล้ว อย่างไรก็ตามปริมาณการใช้น้ำมันของสหรัฐฯ นับตั้งแต่วันทหารผ่านศึก (ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นนับฤดูร้อนของอเมริกา) กลับไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่าที่ประเมินเอาไว้ เกิดเป็นคำถามตัวใหญ่ๆ ว่าหรือความต้องการน้ำมันในสหรัฐฯ อาจยังต้องใช้เวลามากกว่านี้ 

อีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือการระบาดของโควิดรอบใหม่ในสหราชอาณาจักร เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้วมีรายงานยอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 11,007 ราย จนเกิดการตั้งคำถามว่าวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าจะสามารถยับยั้งโควิดสายพันธุ์เดลตาเอาไว้ได้หรือไม่ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค (CDC) ของสหรัฐฯ รายงานว่าโควิดสายพันธุ์นี้อาจเป็นตัวใหม่ที่กำลังจะกลายมาเป็นสายพันธุ์หลักในปัจจุบัน

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย