หากเปรียบทองคำเป็นพระอาทิตย์แล้วแร่เงินก็คงสามารถเปรียบได้กับพระจันทร์และเมื่อพูดถึงสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีแต่คนจับตามองก็คงต้องบอกว่าราคาทองคำคือสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจมากที่สุด แต่ในบางครั้งนักลงทุนก็ลืมนึกไปว่าพระจันทร์ก็สามารถให้แสงสว่างในยามค่ำคืนได้ไม่ต่างอะไรกับพระอาทิตย์ในตอนกลางวันเลย
แร่เงินถือเป็นสินค้าโภคภัณฑ์อีกตัวหนึ่งที่สามารถมีพื้นที่อยู่ในพาดหัวข่าวเศรษฐกิจมาตลอดสัปดาห์นี้ ด้วยผลงานขาขึ้น 13% ภายในเวลาเพียง 3 วันมุ่งหน้าขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบ 7 ปี มีราคาเทรดอยู่ที่ประมาณ $22 ต่อออนซ์ ตอนนี้เงินกำลังอยู่บนเส้นทางสร้างสถิติขาขึ้นมากที่สุด 3 สัปดาห์ในรอบทศวรรษ
เมื่อพูดถึงเงินจะไม่พูดถึงทองคำเลยก็คงจะไม่ได้ เมื่อวันอังคารสาเหตุที่ทำให้ราคาทองคำ ทะยานขึ้นมากจนดูเหมือนจะมากผิดปกติด้วยซ้ำเกิดขึ้นจากข่าวดีที่ผู้นำยุโรปสามารถตกลงกันเรื่องการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจมูลค่า $2,000,000 ล้านเหรียญสหรัฐได้ แม้จะฟังดูเป็นข่าวดีแต่ถ้ามองอีกมุมนี่คือการลดทอนมูลค่าของเงินกระดาษลงครั้งใหญ่ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อตามมาได้ในภายหลัง นับตั้งแต่เริ่มปี 2020 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันราคาทองคำปรับตัวขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น 20% ในขณะที่ราคาของแร่เงินขึ้นมา 45% แซงหน้าทั้งตลาด NASDAQ ที่ปรับตัวสูงขึ้นเพียง 17% และ S&P 500 ที่ไม่ได้ขึ้นอะไรมากมายนัก
สาเหตุที่แร่เงินไม่ได้รับความนิยมเท่ากับทองคำก็เพราะแร่เงินไม่ได้ถูกใช้ในฐานะสินทรัพย์สำรองปลอดภัยของโลกแต่ถูกใช้เพื่อความต้องการบางอย่างในบางวงการเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นวงการอุตสาหกรรมสำหรับการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกซ์ซึ่งแร่เงินถูกใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์และเทคโนโลยี 5G
ในขณะที่ตลาดกำลังตื่นเต้นกับจุดสูงสุด $1866.44 ของราคาทองคำและเริ่มพูดกันเป็นวงกว้างแล้วว่า $1900 จะมาถึงเมื่อไหร่ แร่เงินกลับอยู่ห่างจากจุดสูงสุดตลอดกาลที่ตัวเองเคยทำเอาไว้ที่ $49.55 ต่อออนซ์ในต้นปี 1980 มากถึง 115% ดังนั้นการลงทุนในกราฟแร่เงินเทียบทองคำจึงไม่ได้รับความนิยมนักเพราะสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งสองมีตลาดลงทุนที่ไม่เหมือนกันเลยแต่นักลงทุนมักจะใช้กราฟ XAU/XAG ในการดูอัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทนเปรียบเทียบกับตลาดหุ้น
จากกราฟเราจะเห็นได้ว่าราคาของแร่เงินปรับตัวขึ้นเกือบจะสองเท่าจากจุดต่ำสุดเมื่อเดือนมีนาคมในขณะที่ทองคำปรับตัวขึ้น 28% เกิดเป็นกรอบราคาขาลงของการเปรียบเทียบระหว่างทองคำและเงินขึ้นมา แม้แต่ตัวกราฟนี้เองยังปรับตัวลดลงต่ำกว่าเส้น 50 หรือ 200 DMA เลย อย่างไรก็ตามกราฟ XAU/XAG ก็ยังไม่สามารถหลุดกรอบราคาขาขึ้นที่ลากมาตั้งแต่ปี 2011 ได้ รวมถึงเส้นค่าเฉลี่ย 200 สัปดาห์ในกราฟรายสัปดาห์ด้วย
จากรูปแสดงให้เห็นว่าราคายังมีความเกรงใจไม่ทะลุแนวรับ 200 WMA ซึ่งทำหน้าที่เป้นแนวรับมาตั้งแต่ปี 2013 และได้ดีดกลับขึ้นมาจากแนวรับนั้นและกรอบขาขึ้นเยอะอย่างมีนัยสำคัญ ในฐานะนักลงทุนเราควรจะรอให้กราฟกลับขึ้นไปทดสอบกรอบราคาด้านบนก่อนแต่หากว่าเชื่อว่ากราฟมีโอกาสลงต่อได้ก็ควรจะรอให้ราคาสามารถหลุดเส้น 200 WMA ลงไปให้ได้เสียก่อน
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่ากราฟสามารถลงมาต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 WMA ก่อนที่จะย่อขึ้นไปทดสอบเส้นดังกล่าวในฐานะแนวรับที่กลายเป็นแนวต้าน
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะวางคำสั่งขายเมื่อกราฟสามารถกลับเข้ามาอยู่ในกรอบขาขึ้นได้หรือที่ราคาประมาณ 90
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะสวนเทรนด์ด้วยการเข้าซื้อเพื่อเก็บกำไรระยะสั้นก่อนที่จะตามเทรนด์ใหญ่หลังจากที่ราคาย่อเสร็จแล้วและจะลงต่อ
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: 83 (ที่บริเวณใกล้กับเส้นเทรนด์ไลน์ด้านล่างของกรอบขาขึ้นใหญ่)
- Stop-Loss: 80 (ต่ำกว่าจุดต่ำสุดของเมื่อวาน)
- ความเสี่ยง: 3
- เป้าหมายในการทำกำไร:92 (กรอบราคาด้านบน)
- ผลตอบแทน: 9
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3