ดอลลาร์สหรัฐ ร่วงลงในวันพุธ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม และให้สัญญาอีกครั้งว่าเฟดจะทําในสิ่งที่จําเป็นต้องทําเพื่อพยุงเศรษฐกิจสหรัฐ โดยเฟดระบุในแถลงการณ์หลังการประชุมในวันที่ 28-29 เม.ย.ว่า " ธนาคารกลาง สหรัฐมีภาระผูกพันในการใช้เครื่องมือทั้งหมดของเฟดเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ เพื่อจะได้ส่งเสริมเป้าหมายภาวะการจ้างงานสูงสุดและเสถียรภาพของราคา"
- ดอลลาร์อยู่ที่ 106.70 เยน USD/JPYนช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 106.86 เยน ส่วนยูโร USD/EUR อยู่ที่ 1.0873 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้้นจาก 1.0818 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร ทางด้าน ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 99.565 ในช่วงท้ายวันพุธ โดยร่วงลงจาก 99.865 ในช่วงท้ายวันอังคาร แต่ยังคงทรงตัวอยู่เหนือจุดต่ำสุดรอบสองสัปดาห์ที่ 99.44 ที่ทําไว้ในวันอังคาร
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า จีดีพีสหรัฐไตรมาสแรกหดตัวลง 4.8% จากไตรมาสก่อนหน้านั้นเมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (quarterly annualized rate) ซึ่งถือเป็นอัตราการหดตัวครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 11 ปี หลังจากขยายตัว 2.1% ในไตรมาส 4/2019 ทั้งนี้ นายโจ มานิมโบ นักวิเคราะห์ตลาดของบริษัทเวสเทิร์น ยูเนียน บิสเนส โซลูชันส์กล่าวว่า ดอลลาร์แสดงปฏิกิริยา ไม่มากนักต่อตัวเลขจีดีพี แต่ผมคิดว่าตัวเลขจีดีพีนี้จะทําลายความหวังที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวแบบรูปตัวอักษร V และผมคิดว่าตัวเลขนี้สอดคล้องกับความกังวลที่ว่า เศรษฐกิจไตรมาสสองอาจจะหดตัวลง 40%"
- ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันจากความต้องการซื้อสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น หลังจากบริษัทจิเลียด ไซเอนเซสแถลงว่า ยา remdesivir ที่ใช้ต้านไวรัสช่วยให้ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที'ได้รับยานี้ ตั้งแต่ช่วงแรกมีอาการดีขึ้น ทั้งนี้ นักลงทุนยังคาดการณ์ในช่วงนี้อีกด้วยว่า หลายประเทศใกล้ที่ จะอนุญาตให้ธุรกิจเปิดดําเนินกิจการได้อีกครั้ง
- สัญญานํ้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (29 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากตัวเลขสต็อกนํ้ำมันดิบของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดการณ์ รวมทั้งความหวังที่ว่า สหรัฐจะเปิดเศรษฐกิจเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังมีความคืบหน้าในการผลิตยารักษาโควิด-19 โดยสัญญานํ้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. พุ่งขึ้น 2.72 ดอลลาร์ หรือ 22% ปิดที่ 15.06 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งสัญญานํ้ำมันดิบพุ่งขึ้นหลังจากสํานักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกนํ้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น 9 ล้านบาร์เรลใน สัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 24 เม.ย. ซึ่งแม้ว่าเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 14 สัปดาห์ แต่ก็ต่ำกว่าที่ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะพุ่งขึ้น 9.8 ล้านบาร์เรล โดยรายงานของ EIA ยังระบุว่า สต็อกนํ้ำมันเบนซินลดลง 3.7 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 2.9 ล้านบาร์เรล ส่วน สต็อกนํ้ำมันกลั่น ซึ่งรวมถึงฮีตติ้งออยล์และนํ้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 5.1 ล้านบาร์เรล ขณะที่ นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 4.3 ล้านบาร์เรล
- ภาวะตลาดพันธบัตรของไทยวานนี้ ผลการประมูลพันธบัตรไทยรุ่นอายุ 14 วัน(CB20519A) = 0.37-0.40 Avg. 0.38620 Bid 1.31 เท่า ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยรุ่นอายุ 5 ปี และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยรุ่นอายุ 10 ปี (LB29DA) ปรับตัวลดลงจากวันทําการก่อน หน้าเล็กน้อย ซึ่โดยรวมนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนภายในประเทศเข้ามาซื้อและขาย ส่งผลให้มีอัตราผลตอบแทนล่าสุด 0.88% และ 1.20% ตามลําดับ ปิดตลาดสิ้นวัน นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 3,315.45 ล้านบาท และเป็นการขายพันธบัตรรุ่นอายุ 1 ปี จํานวน 3,635.17 ล้านบาท
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com
อัพเดทอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท USD/THB ประจำวันล่าสุด ที่นี่ )
ทดลองใช้เครื่องมือคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนของเรา