🔥 กลยุทธ์การหุ้นคัดเลือกโดย AI ของเรา หุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่ ทะยานขึ้น +7.1% ในเดือน พฤษภาคม เข้าเทรดขณะหุ้นกำลังมาแรงรับส่วนลด 40%

หุ้นไหนกระเป๋าหนา พอรอด พ้นวิกฤต

เผยแพร่ 14/04/2563 12:43
BTS
-

ซีรีส์การลงทุน ที่ได้รับการสนับสนุนข้อมูลจาก Jitta ครับ เพื่อให้นักลงทุนได้เรียนรู้แนวทางการวิเคราะห์หุ้นช่วงวิกฤต
.
คือ หลังจากที่ได้รู้มาว่า หลังบ้าน Jitta สามารถดึงข้อมูลได้ไกลมาก ย้อนหลังไปยุค 90 ก็ได้ และข้อมูลเยอะ บวกหลากหลายมาก
.
คราวก่อนเรื่องโรคระบาดก็ไปเอาของเขามาทีนึงละ คราวนี้เลยไปขอเรื่องตัวเลขงบการเงินบ้างดีกว่า เพราะอยากรู้ว่า ถ้าต้องปิดร้านปิดห้างนานๆ บริษัทต่างๆ จะไหวกันมั้ย ถ้าพร้อมแล้วขอเชิญรับชมได้ครับ
.
--------------------------------------------------------------
.
ถ้าถามว่ากลัวติด COVID-19 มั้ย ก็ต้องบอกว่า “กลัว”
แต่มากกว่ากลัวติดโรค คือ “กลัวอดตาย”
..
ปัญหาใหญ่ที่คนหาเช้ากินค่ำ พ่อค้าแม่ค้า ไปจนถึงบริษัทห้างร้านที่ได้รับผลกระทบจากการปิดห้าง ปิดร้านค้า
.
ยิ่งปิดนาน ยิ่งเจ็บ และยิ่งจะอยู่กันไม่ได้ เพราะฉะนั้น ปัญหาเรื่องความอยู่รอดจึงเป็นประเด็นหลักที่เราจะมาคุยกันในวันนี้
..
หลักการง่ายๆ ที่เราพอจะเอามาดูได้ก็คือ ดูว่ามี “เงินสด” เหลือเท่าไหร่ และมีหนี้สินที่เป็น “เงินกู้ระยะสั้นที่ต้องจ่ายใน 1 ปี” กับ “ภาระดอกเบี้ย” ที่ต้องจ่ายเท่าไหร่ เอามาหักลบกัน ก็จะได้ตัวเลขที่พอจะบอกได้ว่า เราจะอยู่รอดไหวมั้ย
..
ถ้าเขียนเป็นสูตรแบบง่ายๆ จะได้แบบนี้
.
"EBITDA + CASH – Short Term Loan – Interest Expense"
..
EBITDA คือ กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (แปลว่าหักค่าใช้จ่าย ต้นทุน ค่าคน ค่าเช่า ค่าไฟ ไปแล้ว) และบวกกับด้วยค่าเสื่อมราคากับค่าตัดจำหน่ายกลับเข้ามา
.
ที่ใช้ EBITDA เพราะว่า เป็นตัวแทนอย่างง่ายในการดูว่า บริษัทมีเงินเท่าไหร่ มีความสามารถในการชำระหนี้มากน้อยแค่ไหนในระยะสั้น (แต่ถ้าเอามาวัดระยะยาวหลายปี EBITDA อาจไม่เหมาะ เพราะต้องคำนึงถึงเรื่องการลงทุนเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ ด้วย)
.
ทีนี้เราก็เลยเอาสูตรนี้มาลองใช้ดูกับหุ้น 3 กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตรอบนี้ มาดูกันดีกว่าครับว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง
.
======================
.
#กลุ่มโรงแรม
..
เป็นกลุ่มที่โดนหนักมาก นักท่องเที่ยวหาย รายได้หด อัตราการเข้าพักลดลงอย่างมาก บางโรงแรมเห็นตัวเลข Occupancy Rate 10-20% เท่านั้น คือ ยังไงก็ไม่คุ้ม บางเชนก็ต้องปิดชั่วคราว แต่พอเรามาดูเงินสดที่เขามี จ่ายหนี้ จ่ายดอกเบี้ย แล้วก็ต้องบอกว่า ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก คือ อยู่ได้เป็นปี
..
บางคนอาจสงสัย จำได้ว่าอย่าง MINT D/E 2.23 เท่า แต่หนี้ที่เยอะเป็นแสนล้านบาท เป็นหนี้ระยะยาวทั้งนั้น ถ้าสถานการณ์ไม่ลากยาวหลายปี ก็ทนไหว
.
หรือบางคนจำได้ว่า SHR ก็หนี้ท่วมไม่ใช่หรอ ก็ต้องบอกว่าเมื่อก่อนใช่ แต่หลัง IPO ก็เอาเงินไปคืนหนี้กว่า 5 พันล้านบาท ก็เลยคล่องตัวขึ้นเยอะ
.
ที่ดูน่าห่วงสุดก็อาจจะเป็น VRANDA แต่ปีนี้เขาก็มีคอนโดหัวหินสร้างเสร็จแล้ว ยอดจองก็ 80-90% ถ้าเริ่มโอนได้ ก็จะทำให้มีรายได้เข้ามาแบ่งเบาภาระไป แต่คิดว่าคงต้องรอ COVID จบก่อน ถึงน่าจะเริ่มโอนกัน
..
.
======================
.
#กลุ่มขนส่ง
.
ถึงแม้ว่ารายได้น่าจะลดลงอย่างมาก เพราะนักท่องเที่ยวหาย หยุดการบินหลายเส้นทาง แต่ในแง่ของเงินสดยังมีที่จะแบกหนี้ระยะสั้นได้อยู่ เพราะส่วนมากจะเป้นหนี้ระยะยาวกันมากกว่า
..
แต่ก็ไม่ได้น่าไว้วางใจขนาดนั้น ยกตัวอย่าง THAI กับ NOK ก็ขาดทุนตั้งแต่กำไรขั้นต้นเลยทีเดียว หรือ AAV กับ BA ก็มี GPM ค่อนข้างบางระดับเลขหลักเดียว
..
ส่วนBTS (BK:BTS) ที่เห็นว่า ติดลบเพราะว่ามีหนี้ระยะสั้นเยอะ แต่เป็นเพราะว่าเขามีเรื่องของการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ เข้ามาด้วย
..
.
======================
.
#กลุ่มร้านค้าที่ห้างปิด
.
ถึงแม้ว่าห้างจะปิดนาน แต่หลายบริษัททั้งขายวัสดุก่อสร้าง โรงหนัง สินค้าไอที โทรศัพท์มือถือ ก็ยังพอมีเงินสดติดตัวอยู่รอดกันได้พอสมควร อาจจะมีที่ดูตึงๆ เพราะว่าหนี้สั้นค่อนข้างเยอะก็คือ DOHOME, GLOBAL
.
ประเด็นอื่นที่ต้องติดตามสำหรับร้าน IT อย่าง COM7, SPVI, CPW คือ สต็อคสินค้ารุ่นเก่าเยอะแค่ไหน ต้องลดราคามั้ย หรือว่ามีต้องตั้งสำรองด้อยค่าสินค้าคงเหลือมากน้อยแค่ไหน
.
ส่วนโรงหนัง ปิดทั่วประเทศ กระทบรายได้หนัก แถมหนังดังหลายเรื่องเลื่อนกันเยอะ ตอนนี้ทั้งลดเงินเดือน ลดปันผล แล้วพอกลับมาเปิดได้ เดาว่าก็คงอาจต้องให้นั่งห่างๆ กัน จำกัดจำนวนคนต่อโรงไปอีกสักระยะแน่ๆ
..
โดยภาพรวมแล้ว ส่วนมากบริษัทต่างๆ ยังมีเงินสดที่สะสมมาเอาไว้รองรับภาระหนี้ หรือดอกเบี้ยในระยะสั้นกันได้อยู่ครับ แต่ถ้าสถานการณ์โรคระบาดลากยาวไปเป็นปีๆ ก็จะน่าเป็นห่วง แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่าคือ พนักงานของบริษัทเหล่านี้ที่มีตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพันคน รายได้หด แล้วเขาจะอยู่กันได้ยังไง

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกทาง Stock Vitamins - วิตามินหุ้น

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย