ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์รายวัน: 13 มีนาคม 2020
โดยคุณเคธี่ เหลียน กรรมการผู้จัดการวางกลยุทธ์การลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ของบริษัทจัดการสินทรัพย์บีเค
"ค่ำคืนแห่งความปั่นป่วนอีกครั้งในตลาดวอลล์สตรีท” นี่คือพาดหัวข่าวที่อธิบายถึงสถานการณ์ในตลาดลงทุนเมื่อคืนนี้ ทั่วโลกในตอนนี้ต่างพยายามอย่างสุดกำลังเพือที่จะต้อสู้กับวิกฤตไวรัสโคโรนา ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) และธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) เมื่อคืนนี้ได้พยายามเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดการเงินแล้ว ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ก็ได้แสดงความพยายามปกป้องประเทศอเมริกาอีกครั้งด้วยการห้ามสายการบินจากยุโรปเข้ามายังอเมริกาเป็นเวลา 30 วัน แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่ปรากฏต่อสู่สายตาชาวโลกและนักลงทุนคือ “การร่วงลงของ ดัชนีดาวโจนส์ มากกว่า 2,000 จุด” และคำว่า “ไม่น่าประทับใจ” คือคำเดียวที่อธิบายความพ่ายแพ้ของทรัมป์ที่มีต่อการทำศึกสู้รบกับไวรัสโคโรนาเมื่อคืนนี้
การเทขายอย่างหนักในตลาดหลักทรัพย์คือหลักฐานยืนยันของการสูญสิ้นความเชื่อมั่นในตัวผู้นำที่ไม่สามารถมีชัยและควบคุมไวรัสโคโรนาได้ แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศจีนและเกาหลีใต้จะเริ่มควบคุมได้แล้ว แต่ในสหรัฐอเมริกาที่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกกำลังมียอดจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ งานอีเว้นท์หรือกิจกรรมใหญ่ๆ ทั้งหมดถูกสั่งระงับและนี่ถือเป็นครั้งแรกที่มนุษยชาติได้ทดลองเรียนหรือทำงานจากที่บ้านอย่างแท้จริงเมื่อโรงเรียนถูกสั่งปิดและพนักงานไม่ต้องการออกไปรับความเสี่ยงจากการไปทำงาน
ตอนนี้ CME ได้ประกาศห้ามไม่ให้นักลงทุนมาที่ตึกในวันศุกร์นี้แล้วและเชื่อว่าที่ตลาดหุ้น NYSE อีกไม่นานก็จะทำแบบเดียวกัน การประกาศเช่นนี้สร้างความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุนเป้นอย่างมากและเป้นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่การเทขาย ภาพแบบนี้คืออะไรที่เราไม่ได้เห็นกันบ่อยๆ นับตั้งแต่วิกฤตทางการเงิน นี่คือสาเหตุว่าทำไมมาตรการเยียวยาจากธนาคารกลางจึงไม่ได้ผลเพราะนักลงทุนได้เห็นกับตาตัวเองถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและหายนะที่อาจจะมาถึงพวกเขาได้เมื่อไหร่ก็ไม่รู้
ในช่วงแรกของตลาดลงทุนเมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นดูเหมือนจะดีดกลับขึ้นมาได้จากการอัดเงินจำนวน $150,000 ล้านเหรียญสหรัฐของเฟดเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง แต่ไม่นานแรงขายก็กลับมากุมตลาดได้อีกครั้งเพราะเป้าหมายในการอัดเงินเข้ามาของเฟดมีจุดประสงค์เพื่อให้สถานการณ์ในตลาดกลับเป็นปกติไม่ใช่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ วิธีการแก้ไขปัญหาของเฟดคือการขยายช่องทางการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ให้สภาพคล่องสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มที่และจะอัดเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องเข้าไปอีก $50,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายใน 1 หรือ 3 เดือนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ จริงอยู่ที่มาตรการเหล่านี้จะช่วยเหลือสภาวะของตลาดพันธบัตรรัฐบาลฯ ได้แต่ไม่ได้ช่วยเหลือภาคธุรกิจหรือการบริโภคเลย
ยิ่งไปกว่านั้นประชาชนเริ่มวิพากษ์วิจารณ์ถึงความรวดเร็วในการดำเนินการของรัฐบาลทรัมป์แล้วทั้งเรื่องของการลดภาษีหรือการห้ามไม่ให้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะว่าดำเนินการได้ช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มีการสั่งปิดสถานศึกษาและงดจัดงานใหญ่ไปแล้วในทันที
แม้ธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) จะมีมาตรการช่วยเหลือเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจภายในกลุ่มยูโรโซนแต่เพราะ ECB เลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ดังเดิมจึงทำให้นักลงทุนค่อนข้างผิดหวัง ECB เลือกที่จะเพิ่มเงินจำนวน 12,000 ล้านยูโรให้กับแคมเปญการซื้อสินทรัพย์ นอกจากนี้เพื่อช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กยังมีแคมเปญอนุญาตให้กู้ยืมได้ถูกลงโดยต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคารเพียง 0.75% และยังมีการเพิ่มระยะเวลาพิเศษของการลดตัวเลขจำนวนเงินทุนที่จะต้องมีก่อนจะกู้เงินจากธนาคารได้ กราฟ EUR/USD ปรับตัวลดลงไปยัง 1.1055 ทันทีที่ตลาดได้ทราบนโยบายจาก ECB ก่อนจะสามารถดีดตัวกลับมายืนเหนือ 1.12xx ได้อีกครั้งก่อนตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ปิดทำการ
ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวสูงขึ้นหลังจากการอัดเงินเข้าระบบของเฟด สกุลเงินอื่นๆ อย่างเช่นออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ดอลลาร์ได้รับผลกระทบมากที่สุดแต่น่าแปลกใจที่แคนาดาดอลลาร์กลับยังสามารถยืนอยู่ได้ทั้งๆ ที่ควรจะได้รับผลกระทบหนักเพราะเรื่องสงครามราคาน้ำมัน จากภาพรวมที่เห็นอยู่ทั่วโลก การปิดเมืองในหลายๆ ประเทศของยุโรปและการขาดแคลนหน้ากากอนามัยในทวีปเอเชีย ไตรมาสที่ 1 ของปี 2020 เรียกได้ว่าเป็นยุคมืดของหลายๆ ประเทศ เศรษฐกิจทั่วโลกถดถอยในปีนี้น่าจะเป็นเรื่องที่เกือบจะแน่นอนแล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึงการมองหาโอกาสเพื่อลงทุนในสินทรัพย์หรือสกุลเงินดีๆ สักตัวเลย