เป็นไปตามที่เราได้วิเคราะห์ไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่าขาขึ้นครั้งนี้ของดัชนีดาวโจนส์ไม่ใช่สิ่งที่ขึ้นอยู่ได้นานและสาเหตุที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่อยากเลือกใช้วิธีลดอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่แรกเพราะพวกเขารู้ดีว่าไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจในระยะยาว
เมื่อวานนี้ธนาคารกลางแห่งออสเตรเลีย (RBA) ขอประเดิมก่อนด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 จุดเบสิสเหลือ 0.50% โดนัลด์ ทรัมป์ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เห็นดังนั้นแล้วจึงกดดันให้ประธานธนาคารกลางนายเจอโรม พาวเวลล์รีบตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยโดยเร็วซึ่งนำมาสู่การลดอัตราดอกเบี้ยอย่างฉับพลันของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในครั้งนี้เฟดตัดสินลดอัตราดอกเบี้ยลงทีเดียว 0.5%
แต่ทำไมการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดจึงยังไม่ได้ผลอีก? ประการแรกเป็นเพราะการปรับลดอัตราดอกเบี้ยคือหนทางแก้ปัญหาเดียวที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะสามารถทำได้ซึ่งตลาดคาดการณ์เอาไว้อยู่แล้ว ดังนั้นการลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้จึงไม่ได้สร้างความตกใจให้กับตลาดเท่าไหร่นักแม้ว่าจะเป็นการตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยด่วนก็ตาม
ประการที่สองสถานการณ์ของไวรัสโคโรนาในโลก ณ ปัจจุบัน “ไม่ได้เข้าใกล้กับคำว่าสามารถรักษาให้หายขาดได้ 100%” เลย ตลาดเริ่มมีความเชื่อว่าวิกฤติครั้งนี้เข้าใกล้กับวิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 2008 มากกว่าจนทำให้ภาคการผลิตและห่วงโซ่อุปทานต่างต้องหยุดชะงักลง ท้ายที่สุดเรื่องนี้อาจนำไปสู่ปัญหาสงครามการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ - จีนหากว่าจีนไม่สามารถดำเนินการตามข้อตกลงในขั้นแรกได้
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิคของกราฟดัชนีดาวโจนส์บอกเลยว่าไม่สวยงามเท่าไหร่นัก…
ข่าวดีก็คือทั้งอินดิเคเตอร์ MACD และ RSI ต่างอยู่ในโซน oversold แล้วทั้งคู่ซึ่งการลงมาถึง oversold ในครั้งนี้ตรงกันกับจุดต่ำสุดของดัชนีเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2015 พอดี นอกจากนี้แท่งเทียนยังปรากฏรูปแบบค้อน (hammer) ขึ้นที่แนวรับ 25,000 จุด ถือเป็นการจุดประกายความหวังให้กับนักลงทุนขาขึ้น
อย่างไรก็ตามหนทางที่แนวโน้มขาขึ้นยังต้องไต่ขึ้นไปถือว่าอยู่อีกไกลนักเมื่อเทียบกับระยะทางของดัชนีที่ร่วงลงมาอย่างรุนแรงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว การลงมาครั้งนี้ยังสามารถทะลุเส้นเทรนไลน์หลักที่ลากมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2018 ได้และเส้นค่าเฉลี่ย DMA ทั้ง 3 เส้นยังไม่มีปฏิกริยาขานรับต่อขาขึ้นครั้งนี้แต่อย่างใด
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอให้กราฟสร้างจุดสูงสุดใหม่ก่อน จากนั้นกราฟจะต้องขึ้นไปย่อตัวตรงเทรนไลน์ขาขึ้นให้ได้จึงจะยอมตัดสินใจลงทุน
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะลองเสี่ยงเข้าซื้อเลยหลังจากพบสัญญาณการสะสมแรงเหนือเทรนไลน์ขาขึ้นที่พึ่งทะลุลงมา
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งขายทันทีที่กราฟปะทะกับแนวต้านแรกหรือหลุดแนวต้านแรกไปเล็กน้อยและพวกเขาจะตั้ง stop-loss โดยคำนึงถึงอัตราผลตอบแทนความเสี่ยงที่เหมาะสมกับทุน
ตัวอย่างการเทรด (สำหรับการวางคำสั่งขาย)
- จุดเข้า: 27,300 (เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 DMA)
- Stop-Loss: 27,400
- ความเสี่ยง: 100 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร: 25,300
- ผลตอบแทน: 2,000 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:20