เงินหยวนกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งภายหลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์-สีตกลงสงบศึกและระงับการใช้มาตรการทางภาษีเอาไว้ก่อน แม้ว่า หนทางไปสู่การบรรลุข้อตกลงทางการค้า จะยังไม่มีความชัดเจนมากขึ้น USD/CNY ปรับตัวลดลงไป 0.33% แต่การแข็งค่าขึ้นของเงินหยวนเมื่อเทียบกับ ดอลลาร์ ยังคงเหนือกว่าสกุลเงินอื่นๆ ทำให้เงินของจีนกลับมาฟื้นตัวได้ดีเกินคาด
อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ค่าเงินดอลลาร์-หยวนยังค่อนข้างมีความซับซ้อน การพักรบในครั้งนี้จะทำให้เฟดเปลี่ยนใจจนไม่ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย หรือไม่? จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลพื้นฐานใดๆ และยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดออกมาว่าทั้งสองประเทศจะกลับมาเจรจาเพื่อหาทางบรรลุข้อตกลงกันในครั้งใหม่นี้ได้อย่างไร ท่ามกลางปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ยังรออยู่อีกมากมาย
หากมองว่าเป็นเกมชิงบัลลังก์ การที่ประธานาธิบดีทรัมป์มีท่าทีที่ดีและเป็นมิตรกับประธานาธิบดีสีของจีนนั้นเพียงเพราะต้องการหาหนทางรอมชอมเพื่อแก้ปัญหาของตนเอง หรือเป็นเพียงอุบายหลอกล่อเพื่อซื้อเวลาไปอีกระยะ แล้วจึงค่อยเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงออกมาว่าใครกันแน่ที่เป็นจ่าฝูงตัวจริงของเกมนี้หรือเปล่า?
สงครามทางด้านสกุลเงินนั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ทรัมป์กล่าวหาว่าจีนเข้าแทรกแซงเพื่อควบคุมค่าเงินหยวน ซึ่งแม้ว่าเรื่องนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาด้วยก็ตาม แต่ปัญหาหลักตอนนี้น่าจะเป็นเรื่องของสกุลเงินสำรอง ปัจจุบันดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินสำรองที่มีความโดดเด่นในการซื้อขาย และใช้ชำระแลกเปลี่ยนได้ทั่วโลก ทำให้ทรัมป์มีอิทธิพลอย่างมากในการที่จะขอให้นานาประเทศมาร่วมเป็นพันธมิตรในการคว่ำบาตรกับอิหร่าน
จีนมีความพยายามผลักดันให้เงินหยวนเป็นสกุลเงินสากลในช่วงการเปิดตลาดการเงิน รวมทั้งมีการเปิดตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าที่ซื้อขายกันด้วยเงินหยวนเพื่อแข่งขันกับสหรัฐฯ กองทุน IMF เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว ทั่วโลกมีสัดส่วนการเก็บสำรองเงินหยวนที่เพิ่มมากขึ้น
มีข้อมูลพื้นฐานอีกหลากหลายด้านที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความซับซ้อนทั้งสิ้น เราจึงนำกราฟมาช่วยอธิบายทิศทางของกำลังในด้านอุปสงค์และอุปทานดังนี้
ในกราฟรายวัน USD/CNY มีแนวรับอยู่เหนือเส้น 200 DMA ส่วนในกราฟรายเดือน สกุลเงินคู่นี้มีแนวต้านอยู่ที่เส้น MA แบบ 200 เดือน (200 MMA) ซึ่งอยู่เหนือราคามาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา
เส้น 200 MMA ถูกปรับให้อยู่ในจุดที่รับแรงกดดันทั้งฝั่งอุปสงค์และอุปทาน โดยเส้นแนวต้านนี้ถูกสร้างขึ้นมาจากราคาสูงสุดที่เคยทำได้ก่อนหน้านี้สองครั้ง นั่นก็คือในเดือนตุลคม 2018 และเดือนมกราคม 2017 จึงทำให้ตัวเลขที่มีความสำคัญทางจิตวิทยามีค่าอยู่ที่ระดับ 7.00 ซึ่ง เป็นที่ทราบ ว่าธนาคารกลางจีนจะไม่ยอมให้หลุดจากระดับนี้ไป
อย่างไรก็ตามในเดือนที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ South China Morning Post มีบทความที่เขียนถึงระดับตัวเลข 7 ของเงินหยวนต่อดอลลาร์ “ไม่ใช่เขตหวงห้าม” “อีกต่อไป” หากเป็นเช่นนั้น USD/CNY จะทะลุระดับ 7.00 ไปได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2008 ได้หรือไม่? โอกาสที่เกิดเช่นนั้นได้มีน้อยมาก
เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทั้งหมดแล้ว เงินหยวนแข็งค่าขึ้นได้ด้วยความหวังที่จะสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้จากการเจรจาสงบศึกทางด้านภาษีในครั้งนี้ ส่วนทางด้านของทรัมป์นั้นไม่ได้พอใจกับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนี้อยู่แล้ว และหากว่าจีนไม่ต้องการให้สินค้าที่ตนส่งออกไปยังสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับภาษีซึ่งจะยิ่งทำให้สภาวะเศรษฐกิจของจีนชะลอตัวหนักขึ้นไปอีก จีนย่อมไม่ยอมให้ตัวเลขนี้เกินระดับ 7.00 อย่างแน่นอน
ท่าทีของเฟดในการที่จะเดินหน้า ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ก็น่าจะเพิ่มแรงกดดันไปยังเงิน ดอลลาร์ และทำให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้น กำลังความต้องการจากทั่วโลกก็จะช่วยหนุนให้เงินหยวนกลายเป็นเงินที่มีความสากลมากยิ่งขึ้นด้วย
ท้ายที่สุดแล้ว เส้น 200 MMA จะเป็นระดับที่สำคัญเหนือกว่าเส้น MA อื่นๆ หากมีการปรับตัวของเส้นนี้ประกอบกับแนวต้านที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมาอยู่ที่ต่ำกว่าตัวเลขทางจิตวิทยาในระดับ 7.00 หมายความว่ามีนักลงทุนจำนวนมากที่น่าจะหยุดการซื้อในระดับนี้ และอีกหลายคนน่าจะอยากเปิดสถานะ short ดอลลาร์เทียบกับหยวน
โปรดสังเกตว่าเส้น MACD กำลังจะเกิดการกลับตัวเป็นขาลง หากเส้น MA ระยะสั้นตกลงมาอยู่ต่ำกว่าเส้น MA ระยะยาว ซึ่งจะถือเป็นครั้งที่สองนับตั้งแต่ขึ้นไปทำจุดสูงสุดได้ในปี 2017 และจะเป็นการทำราคาสูงสุดที่ต่ำกว่าเดิมอีกครั้ง ส่วนเส้น RSI ยังดูเหมือนว่าจะมีโมเมนตัมที่เป็นแนวโน้มขาขึ้น นับตั้งแต่มีการชะลอตัวในปี 2008 เป็นต้นมา แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มีการทะลุทำ crossover ได้ ก็ยังมีโอกาสสูงที่จะกลับมาเป็นขาลงได้อยู่ดี
กลยุทธ์การซื้อขาย
นักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยง ควรรอให้ราคาตกลงมาต่ำกว่าระดับ 6.6 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดของปี 2019 เสียก่อนและใช้แนวป้องกันเป็นเส้น MA 200 สัปดาห์
นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานปลาง อาจเปิดสถานะ short เมื่อราคาไปปิดต่ำกว่าเส้น 200 DMA ที่ระดับ 6.8
นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง อาจเปิดสถานะ short ได้ทันที หลังจากที่ราคาตกลงไปอยู่ที่ระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคมเป็นต้นมา
ตัวอย่างการซื้อขาย
-
ราคาเข้า: 6.8450
-
Stop-Loss: 6.9000, June’s high
-
ความเสี่ยง: 550 pips
-
เป้าหมาย: 6.6800
-
ผลตอบแทน: 1,650 pips
-
อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3