ในระหว่างที่มีการอดทนรอฟังว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงหรือไม่ในช่วงนี้ อาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้นได้ชั่วคราว แต่ในระยะกลางดอลลาร์น่าจะปรับตัวลดลงและอาจจะกลับตัวสู่แนวโน้มขาลงได้ในที่สุด
นักลงทุนเกิดการตอบสนองที่ค่อนข้างรุนแรงหลังจากที่มีการแถลงจาก นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เมื่อวานนี้ที่มีการกล่าวย้ำว่าธนาคารกลางกำลังทำการประเมินความเสี่ยงและข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลงในช่วงที่มีสงครามทางการค้ายืดเยื้อซ้ำอีกครั้งว่ามีความจำเป็นที่จะต้อง ปรับลดอัตราดอกเบี้ย หรือไม่ นายพาวเวลล์ย้ำว่าเฟดยัง ไม่จำเป็นต้องรีบดำเนินการ ดังกล่าวในช่วงนี้ แต่จะรอติดตามให้มีข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติมมากกว่านี้เสียก่อน และเขายังถือโอกาสนี้ในการแสดงจุดยืนของตนเองอีกครั้งว่าเฟดมีอิสระในการตัดสินใจในเรื่องนี้ได้เองและประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเข้ามาออกคำสั่งไม่ได้
นายเจมส์ บัลลาร์ด ประธานธนาคารกลางเซนต์หลุยส์ กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่ายังไม่มีการยืนยันว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยถึง 50 จุดเบสิสตามที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้
แล้วนักลงทุนควรจะหันกลับไปหา ดอลลาร์ อีกหรือเปล่า? ข้อมูลจากกราฟด้านล่างจะแสดงให้เห็นถึงสมดุลระหว่างกำลังในฝั่งอุปสงค์เทียบกับอุปทานดังนี้
ดอลลาร์เริ่มส่งสัญญาณว่ากำลังอ่อนแรงลงเมื่อไม่สามารถขึ้นไปแตะระดับราคาสูงสุดของเดือนเมษายนได้ จากนั้นสถานการณ์ก็เริ่มแย่ลงไปอีก เมื่อแรงเทขายเริ่มมากกว่าแรงซื้อ จนทำให้ราคาดิ่งลงไปอยู่ต่ำกว่าระดับต่ำที่สุดในเดือนพฤษภาคมและทำให้เกิดรูปแบบการกลับตัวแบบ double top ได้สมบูรณ์
ความพยายามที่จะไต่ระดับให้สูงขึ้นอีกระลอกในเดือนนี้ก็ไปไม่ถึงฝัน เพราะไม่สามารถแม้แต่จะขึ้นไปแตะระดับที่เคยทำได้ในเดือนเมษายน-พฤษภาคมด้วยซ้ำไป แต่กลับร่วงลงติดต่อกันถึง 4 วันไปอยู่ในระดับต่ำกว่าเส้นแนวโน้มขาขึ้นนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2018 เป็นต้นมา รวมทั้งยังหลุดลงไปอยู่ต่ำกว่าเส้น 200 DMA เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2017 เป็นต้นมา (ในวันที่ 20 มีนาคม เคยร่วงลงไปต่ำกว่าระดับนี้ 0.1% แต่เมื่อเปิดตลาดวันถัดไปก็ฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้) ก่อนที่จะร่วงลงถึง 11% ในเวลา 9 เดือนถัดมา
การซื้อขายในช่วงที่มีความพยายามจะไต่ขึ้นแต่กลับปรับลดลงนั้นทำให้เกิดรูปแบบการกลับตัวแบบ peak-trough ได้สมบูรณ์ โดยมี peak และ trough อย่างน้อย 2 คู่ที่แสดงให้เห็นแนวโน้มขาลง
แต่ก็ยังสามารถตีความได้อีกแบบโดยไม่รวมเอา peak ของแนวโน้มก่อนหน้านี้ซึ่งก็คือค่าสูงสุดในเดือนพฤษภาคมมาพิจารณาด้วย แต่ต้องมีการไต่ขึ้นทำ peak ครั้งที่สองซึ่งต่ำกว่าราคาสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา แล้วให้มี trough ที่ต่ำกว่า 95.84 ซึ่งเป็นระดับราคาในวันอังคารนั่นเอง
ในกรณีที่เราแสดงไว้ peak กับ trough ได้ทำรูปแบบกรอบราคาขาลงซึ่งถือเป็นขอบเขตราคาสูงสุดและต่ำสุดไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจเข้าซื้อหรือขายออกได้อย่างสะดวก ในระหว่างที่แนวโน้มยังคงเป็นขาลงเช่นนี้ ทำไมกรอบราคายังคงที่ และทำไมราคายังขึ้นๆ ลงๆ ได้ทั้งๆ ที่ไม่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดการกลับตัวเลย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภูมิศาสตร์การเมืองหรือนโยบายทางการเงิน?
สินทรัพย์ทางการเงินไม่ค่อยจะปรับตัวตามมูลค่าจริงเท่าใดนัก เพราะหากเป็นเช่นนั้น การซื้อขาย ก็คงจะไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มีแรงจูงใจจากผลตอบแทนในการลงทุน สินทรัพย์ทางการเงินจึงมักจะเคลื่อนไหวไปตามสภาวะตลาดที่มีการซื้อหรือขายที่เกินกว่ามูลค่าจริง เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์จะตอบสนองเกินจริงกับเหตุการณ์หรือโอกาสในการลงทุนต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้เสมอ และนั่นก็คือสิ่งที่นักลงทุนต้องการ
เส้นแนวโน้มขาลงที่มีกรอบราคาขาลงครอบอยู่นั้นไม่ใช่เพียงการแสดงรูปแบบราคาให้เห็นเท่านั้น เมื่อมีผู้ที่ทำกำไรหรือขาดทุนก็จะส่งผลกับราคาเช่นกัน โดยอาจจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดความหวังหรือความกลัวมากขึ้นก็ได้ ดังนั้นหากราคาเริ่มทะลุกรอบแนวรับหรือแนวต้านแสดงว่ากำลังมีผู้ที่กำลังทำกำไรได้หรือกำลังขาดทุนอยู่นั่นเอง ในกรณีนี้ การที่ราคาตกลงไปอยู่ต่ำกว่าเส้นแนวโน้มขาขึ้น โดยมีเส้น 200 DMA เป็นระดับ stop loss การที่ค่าเงินดอลลาร์ยังคงทิ้งตัวลงไปอย่างต่อเนื่องก็ยิ่งทำให้มีคนสนใจขาย short มากขึ้นไปอีก ซึ่งก็ยิ่งผลักให้ค่าเงินดอลลาร์ดิ่งหนัก
แล้วจะเกิดการปรับตัวของราคาอีกไหม? เมื่อนักลงทุนเริ่มต้องการที่จะทำกำไรก่อนที่จะไม่เหลืออะไร จึงทำให้ต้องเพิ่มกำลังอุปสงค์เข้ามาโดยการซื้อ short คืน หลังจากที่ราคาพอจะฟื้นตัวได้บ้างแล้ว นักลงทุนจึงเริ่มดันราคาให้ต่ำลงกว่าเดิมอีกครั้งเพื่อให้เกิดแนวโน้มขาลงที่ยาวนานขึ้น
กลยุทธ์การซื้อขาย
นักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยง อาจรอให้มีการซื้อ short เพื่อให้ราคากลับตัวขึ้นไปหากรอบบนของราคาซึ่งอาจอยู่ในระดับเท่ากับเส้น 200 DMA ก็ได้ จากนั้นรอให้มีสัญญาณแนวต้าน โดยสังเกตว่าจะต้องมีแท่งเทียนสีแดงอย่างน้อย 1 แท่งที่ยาวกว่าแท่งสีเขียวหรือแท่งเล็กๆ สีใดก็ได้
นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง อาจรอให้ราคาเข้าใกล้เส้น 200 DMA หรือกรอบบนของราคาก่อนก็ได้ เพื่อรอราคาขายให้สูงขึ้น หรืออีกวิธีคือให้รอให้เกิดการปรับตัวไปยังกรอบบนของราคา โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดแนวต้าน
ตัวอย่างการซื้อขาย: สถานะ Short
-
ราคาเข้า: 96.80
-
Stop-Loss: 97.00
-
ความเสี่ยง: 20 pips
-
เป้าหมาย: 96.40
-
ผลตอบแทน: 60 pips
-
อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3
นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง อาจเลือกเปิดสถานะ long โดยให้พิจารณาช่วงการปรับราคาในช่วงกรอบขาลงเป็นหลัก
ตัวอย่างการซื้อขาย: สถานะ Long
-
ราคาเข้า: 96.00
-
Stop-Loss: 95.80, below yesterday’s low
-
ความเสี่ยง: 20 pips
-
เป้าหมาย: 96:60
-
ผลตอบแทน: 60 pips
-
อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3