โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 20 มิถุนายน 2019
ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงบอบช้ำอย่างหนัก โดย ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงไปอยู่ในระดับต่ำที่สุดของปีเมื่อเทียบกับเงิน เยนญี่ปุ่น และ ฟรังค์สวิส ในขณะที่จำเป็นต้องมีแรงหนุนจากนักลงทุนในตลาดฝั่งยุโรปเพื่อช่วยไม่ให้ดอลลาร์ลดลงไปมากกว่านี้ แม้ว่านักลงทุนในฝั่งยุโรปอาจสามารถทำให้ค่าเงินดอลลาร์ย่ำแย่ลงไปอีกได้ แต่ถึงอย่างไรในอีกไม่ช้า หากธนาคารกลางสหรัฐฯ นำนโยบายผ่อนปรนทางการเงินมาใช้เมื่อใด เหตุการณ์ดังกล่าวก็คงจะเกิดขึ้นได้อยู่ดี
มีข้อมูลหลายฝ่ายที่สนับสนุนว่าน่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างแน่นอนในปีนี้ ซึ่งอาจไม่ใช่เพียงครั้งเดียว แต่อาจปรับลดลงได้ถึงสองครั้ง เนื่องจากนักลงทุนจำนวนค่อนข้างมากยังเชื่อว่าภายในช่วงไตรมาสนี้ไตรมาสเดียวน่าจะมีการปรับลดลงอย่างน้อย 1 ครั้ง การเปลี่ยนแปลงตัวเลขที่คาดการณ์ของธนาคารกลางสหรัฐฯ จึงน่าจะทำให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อเงินดอลลาร์ได้ จนในที่สุดวันนี้ตลาดเริ่มที่จะกลับมาเป็นขาลงอีกครั้ง U.S.D/JPY ปรับตัวลงไปแตะจุดต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ และอาจจะตกลงไปอยู่ที่ 106.50 เป็นอย่างน้อย ระดับค่าฟีโบนัชชีตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2016 จนถึงมกราคม 2017 อยู่ที่ 61.8% เริ่มจะฟื้นตัวได้แต่สุดท้ายแล้วก็ร่วงลงมาอยู่ใกล้กับแนวรับสำคัญที่ระดับ 104.75 ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้มีการประชุมกันเมื่อคืนวานนี้โดยทราบดีว่ายังมีแรงกดดันจากภายนอกเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังไม่มีแผนการแก้ไขในระยะสั้นใดๆ ในช่วงนี้
ด้านธนาคารกลางอังกฤษก็ยังกังวลเกี่ยวกับสภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั่วโลก และคาดว่าจะเกิดความเสี่ยงในตลาดขาลงที่มากขึ้นกว่าเดิม จากข้อมูลในแถลงการณ์ ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงเชื่อว่า หากเป็นไปตามที่พยากรณ์เอาไว้ก็น่าจะมีความจำเป็นต้องใช้นโยบายปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างแน่นอน จึงเป็นเหตุผลว่าเหตุใดเงิน สเตอร์ลิง ที่ร่วงลงไปก่อนหน้านี้ถึงฟื้นตัวได้ค่อนข้างเร็ว ธนาคารกลางอังกฤษจะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะทราบผลการตัดสินใจว่าสหราชอาณาจักรจะเข้าร่วมกับอียูหรือไม่เสียก่อน อย่างไรก็ตาม หากภาวะความตึงเครียดในสงครามการค้ายังคงส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงอีก ก็อาจจำเป็นต้องหันไปพิจารณาใช้นโยบายผ่อนปรนทางการเงินแทน จากรายงานสภาวะทางเศรษฐกิจล่าสุดยังคงมีตัวเลขที่ไม่ดีเท่าใดนัก ยอดขายปลีก ยังคงลดลง -0.5% ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง โดยเมื่อเทียบเป็นอัตรา ปีต่อปี จะพบว่าปรับลดลงจาก 5.1% เหลือ 2.3% ภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินก็ไม่มีการแถลงข่าวใดๆ เกิดขึ้น รวมทั้งในระหว่างการปราศรัยประจำปีที่บ้านพักของผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ นายคาร์นีย์ก็ไม่ได้พูดถึงนโยบายทางการเงินใดๆ เลย ในขณะนโยบายทางฝั่งของพรรคอนุรักษ์นิยมยังคงพยายามอุ้มเงินสเตอร์ลิงไว้ แต่ธนาคารกลางอังกฤษที่ดูจะไม่ประนีประนอมเท่าใดนั้นอาจผลักให้สกุลเงินคู่นี้ไปถึง 1.28 ได้
สกุลเงินที่ทำผลงานได้โดดเด่นที่สุดในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาคือดอลลาร์ นิวซีแลนด์, ดอลลาร์ แคนาดา และดอลลาร์ ออสเตรเลีย แม้ว่าธนาคารกลางจะปรับลด อัตราดอกเบี้ย ลงในเดือนที่แล้ว แต่เศรษฐกิจใน ไตรมาสแรก ยังคงพุ่งแรง จีดีพีมีการขยายตัวได้ 0.6% เท่ากับในไตรมาสที่ 4 และ อัตราการเติบโตประจำปี ยังคงที่ที่ระดับ 2.5% การที่ประธานาธิบดีทรัมป์และประธานาธิบดีสีจะเข้าร่วมประชุม G20 นั้นก็ถือเป็นข่าวดีกับสกุลเงินดังกล่าวด้วยอย่างมาก เพราะเป็นการบ่งบอกถึงสัญญาณที่ดีว่าความตึงเครียดของสงครามการค้าน่าจะเริ่มผ่อนคลายลง เรายังคงหวังว่าดอลลาร์แคนาดาจะทำผลงานได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ราคาน้ำมัน ปรับตัวขึ้นได้มากกว่า 5% อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงรอติดตามสถานการณ์ทางด้านของ ยอดขายปลีก ในวันศุกร์อีกครั้งก่อนที่จะเข้าผลักราคาดอลลาร์แคนาดาให้สูงขึ้นกว่าเดิม ท้ายที่สุดแล้ว แม้ธนาคารกลางยุโรปอาจมีความจำเป็นต้องใช้นโยบายผ่อนปรนด้านการเงิน แต่เงิน ยูโร ก็ปรับตัวขึ้นทะลุกรอบแนวต้านไปแล้วเมื่อวันพฤหัสบดีเนื่องมาจากกระแสการหลีกหนีความเสี่ยงของเงินดอลลาร์นั่นเอง หากตลาดหุ้นยังคงฟื้นตัวได้ EUR/U.S.D ก็น่าจะปรับตัวสูงขึ้นได้อีกครั้งจากการเข้าซื้อ short คืน