สรุป ความต้องการทองคําทางกายภาพ (Physical Demand) ในอินเดียที่เพิ่มสูงขึ้น ช่วยพยุงราคาทองคําไว้ เมื่อสื่อต่างประเทศรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า อินเดียนําเข้าทองคําสูงถึง 98.6 ตันในเดือนมี.ค. ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วที่ระดับ 13 ตัน และยังเป็นสถิติการนําเข้าสูงสุดใน รอบเกือบ 2 ปี เนื่องจากการปรับตัวลงของราคาทองคําได้ช่วยกระตุ้นความต้องการเครื่องประดับในช่วงฤดูกาลแต่งงานของอินเดียที่กําลังจะมาถึง อย่างไรก็ ตาม การที่ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 พุ่งสูงขึ้น และมาตรการป้องกันโรคในบางรัฐของอินเดียนั้น ได้สร้างความวิตกกังวลให้กับผู้ผลิตเครื่องประดับว่ายอดขายอาจ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเฉพาะในรัฐมหาราษฎระซึ่งเป็นตลาดทองคําที่ใหญ่ที่สุดในประเทศนั้น ได้ขอความร่วมมือให้ประชาชนที่ไม่มีกิจจําเป็น อาศัยอยู่แต่ ในที่บ้านตลอดเดือนเม.ย. ดังนั้น การระบาดของโควิต-19อาจส่งผลให้อุปสงค์ทองคํากายภาพจากฝั่งอินเดียซึ่งเป็นประเทศผู้ซื้อทองรายใหญ่เป็นอันดับสองของ โลกรองจากจีนลดลง ส่งผลให้ราคาทองคําฟื้นตัวขึ้นได้ในระดับจํากัด สําหรับมุมมองต่อราคาทองคํา หากตลอดวันราคาสามารถยืนเหนือบริเวณ 1,731 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อย่างแข็งแกร่ง สามารถรอขายทํากําไรหากไม่ผ่านบริเวณแนวต้านโซน 1,759-1,767 ตอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ถ้ายืนแนวรับแรกไม่อยู่ ประเมิน แนวรับถัดไปโซน 1,717 ตอลลาร์ต่อออนซ์
คําแนะนํา ราคาพยายามทรงตัวเหนือ 1,731 ดอลลาร์ต่อ ออนซ์ จึงยังมีแนวโน้มขยับขึ้น แต่หากแรงซื้อเริ่มจํากัดและราคา ไม่สามารถขึ้นผ่านแนวต้าน 1,759-1,767 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ให้ ระวังแรงขายทํากําไร อย่างไรก็ตามหากหลุดแนวรับแรกให้ระวัง การอ่อนตัวลงต่อของราคา
บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th