รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

จุดศูนย์รวมความสนใจอยู่ที่ดอกเบี้ย 

เผยแพร่ 02/02/2567 10:11

ประเด็นเรื่องทิศทางดอกเบี้ยถือเป็นเรื่องหลักที่อยู่ในความสนใจ โดยหากมองใน มุมของวัฎจักรของดอกเบี้ยโลกเชื่อว่าน่าจะเริ่มเข้าสู่ขาลงแม้การประชุมธนาคาร กลางที่สำคัญหลายประเทศในรอบแรกของปีนี้จะคงอัตราดอกเบิ้ยนโยบายไว้ ตามเดิม แต่หากมองผ่านการตอบสนองของตลาดพบว่า Bond Yield ส่วนใหญ่ ปรับตัวลดลง โดยในสหรัฐ Bond Yield อายุไม่เกิน 5 ปี ปรับลดลงจากจุดสูงสุด แล้วราว 1% ส่วน 10 ปีปรับลดลงมากกว่า 1% ซึ่งน่าจะพอบอกได้ว่าตลาด คาดหมายว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะลดลงในปี 2567 อาจอยู่ที่ประมาณ 1% ส่วนในบ้านเรา กระแสที่พุ่งไปที่การลดดอกเบี้ยก็รุนแรงขึ้นตามลำดับ ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่ช้ากว่าที่คาด ขณะที่ Bond Yield1 ปี ปรับลดลงมาต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบาย องค์ประกอบดังกล่าวสะท้อนให้ เห็นโอกาสปรับลดดอกเบี้ยที่มีมากขึ้น และหากลดจริงก็จะเป็นบวกต่อตลาดหุ้น

พัฒนาการของปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ยังไม่มีประเด็นที่ออกนอกกรอบความ คาดหมาย ทำให้SET Index ยังน่าจะแกว่งตัวในกรอบใกล้เคียงเดิมที่ 1360 – 1376 จุด หุ้น Top Pick เลือก CBG, MAJOR และ PTTEP

Bond Yield สหรัฐฯที่ลงแรง คาดหวัง FED จะทยอยลดดอกเบี้ย ในอนาคต

วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวขึ้นแรง 1%-1.4% แม้ว่า FED จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ย ไว้ที่ 5.50% และ ส่งสัญญาณว่ายังไม่มีแผนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็ววัน เนื่องจากเงินเฟ้อยังคงอยู่สูงกว่าเป้าหมายที่ระดับ 2% อย่างไรก็ตาม Bond Yield สหรัฐฯที่ปรับตัวลงแรง โดยเฉพาะ 10 ปีที่ปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ 4% บวกกับการ รายงานผลประกอบการช่วง 4Q66 ที่ดีกว่าคาดของหลายบริษัท อาทิ Merck and co เป็นต้น ขณะที่นักลงทุนยังจับตาผลประกอบการของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ อาทิ Meta platform, Apple (NASDAQ:AAPL) และ Amazon ที่จะรายงานผลประกอบการวันนี้

แม้การประชุมเดือน มี.ค.67 ของ FED จะมีโอกาสคงดอกเบี้ยสูง อย่างไรก็ตามทิศทาง ดอกเบี้ยสหรัฐฯ ฝ่ายวิจัยฯ คาดว่ามีโอกาสสูงที่จะทยอยปรับลดดอกเบี้ยตั้งแต่การ ประชุมเดือน พ.ค.67 เป็นต้นไป โดยมีเหตุผลสนับสนุน ดังนี้

• แม้ FED WATCH TOOL มีโอกาสคงดอกเบี้ยมากขึ้นในการประชุมเดือน มี.ค.67 ถึง 62% อย่างไรก็ตามตั้งแต่การประชุมเดือน พ.ค.67 FED WATCH TOOL คาดว่าจะลดดอกเบี้ยด้วยความน่าจะเป็น 60% และทยอย ปรับลดดอกเบี้ยลงเรื่อยๆจนถึงสิ้นปี รวมแล้วกว่า 6 ครั้ง ครั้งละ 0.25% รวมแล้วกว่า 1.50% จน ณ สิ้นปี 2567 คาดดอกเบี้ยจะอยู่ระดับ 4.0%

• ผลต่าง Bond Yield สหรัฐฯ และ ดอกเบี้ยนโยบาย เทียบเท่าการลดดอกเบี้ย 1-6 ครั้งแล้ว สังเกตจาก Bond Yield สหรัฐฯ 6 เดือน(คาดหวังผลตอบแทน ในช่วง 6 เดือนข้างหน้าซึ่งใกล้เคียงกับการประชุมรอบ พ.ค.67) อยู่ที่ 5.15% ซึ่งต่างจากอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.35%(มากกว่าการปรับลดดอกเบี้ย 1 ครังแล้ว) ขณะที่หากพิจารณาที่ Bond Yield 1 ปี และ 10 ปี นั้นต่างจาก อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ถึง 0.84% และ 1.63% เทียบเท่าได้กับในอนาคตมี โอกาสเห็นการลดดอกเบี้ยในมุมนักลงทุน 3 –6 ครั้ง

สรุป การปรับตัวลงแรงของ Bond Yield สหรัฐฯ และผลประกอบการ 4Q66 ที่ดีกว่า คาด หนุนให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวขึ้นแรง ขณะที่ระยะถัดไปคาด FED จะทยอยปรับ ลดดอกเบี้ย ดังเหตุผลที่กล่าวไปข้างต้น หนุนตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวขึ้นแรงระยะ ถัดไป ซึ่งตลาดหุ้นไทยก็น่าจะได้รับแรงหนุนดังกล่าวเช่นกัน โดยวันนี้คาดกรอบการ เคลื่อนไหวของ SET index ไว้ที่ระดับ 1360 -1376 จุด

กระแสปรับลดดอกเบี้ยไทยแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงส่งสัญญาณชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ เฉพาะ อย่างยิ่งในเดือน ธ.ค. 66 และอาจลากยาวมาถึงปีนี้ จนทำให้ก่อนหน้านี้ คลัง (สศค.) ได้ปรับลดประมาณการ GDP Growth ไทยปี 2566-67 โตเพียง 1.8%YoY และ 2.8%YoY ตามลำดับ ขณะที่เศรษฐกิจไทยใน 4Q66 อาจขยายน้อยสุดในรอบปีเพียง +1.4%YoY

สำหรับ Indicator ล่าสุดสะท้อนผ่านดัชนีเชื่อมั่นธุรกิจในเดือน ม.ค. อยู่ที่ 48.0 ร่วงลง จาก 49.1 ในเดือน ธ.ค.66 หลังคำสั่งซื้อลดลงมาก นอกจากนี้คาดการณ์เงินเฟ้อไทย เดือน ม.ค. ที่จะมีการรายงานในวันที่ 5 ก.พ. นี้ Consensus ประเมินว่าจะอยู่ที่ระดับ - 0.8%YoY ซึ่งอยู่ในโซนหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ -0.83%YoY ถึงแม้ว่าจะอยู่ ในช่วงเทศกาลปีใหม่และมีโครงการ Easy E-Receipt เข้ามาช่วยหนุนการใช้จ่าย

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีโอกาสขยายตัวได้น้อย อาจเป็นแรงหนุนให้ กนง. พิจารณาการ ปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามการประชุม กนง. ครั้งแรก ของปี 2567 (7 ก.พ. 67) อาจจะเห็นการคงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.5% และมีสัญญาณว่าจะยัง ไม่ปรับลดดอกเบี้ยในเร็ววันนี้ สะท้อนจาก Bond Yield ของไทยที่ยังไม่ได้อยู่ระดับต่ำ กว่าดอกเบี้ยนโยบายถึง 25 bps. ในทุกช่วงอายุ ยกเว้นเพียง Bond Yield ระยะยาว 20 ปีขึ้นไปที่สูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายมาก

สรุป ภาพรวมเศรษฐกิจของไทยที่ส่งสัญญานชะลอตัวลงในเดือน ธ.ค.66 และและอาจ ลากยาวมาถึงปีนี้ มีโอกาสเป็นแรงหนุนให้ กนง. พิจารณาการปรับลดดอกเบี้ยในปี 2567

ต่างชาติกลับมาซื้อหวัง SET สร้างฐาน ก่อนเข้าสู่ช่วงการ รายงานงบ 4Q66 ที่หนาแน่นขึ้น

หลังตลาดหุ้นไทยผ่านเรื่องร้ายๆ มามาก วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยอีก ครั้ง 2.08 พันล้านบาท (เป็นยอดซื้อสุทธิที่สูงที่สุดในปีนี้) และยังเป็นการกระจายซื้อ สุทธิมากสุดจาก 5 โบรกเกอร์ที่เน้นลูกค้าเป็นชาวต่างชาติทั้งหมด อาทิ CGS-CIMB ซื้อสุทธิ890 ล้านบาท, JPM 747 ล้านบาท, KKPS 695 ล้านบาท, UBS 212 ล้าน บาท, UOBKHST 165 ล้านบาท เป็นต้น

ส่วนตลาดหุ้นไทยตั้งแต่สัปดาห์เข้าสู่การรายงานงบ 4Q66 ที่หนาแน่นขึ้น อาทิ หุ้น ADVANC (6 ก.พ. 67), INTUCH (7 ก.พ. 67), MINT (8 ก.พ. 67), SCCC, GPSC (9 ก.พ. 67) เป็นต้น เบื้องต้นฝ่ายวิจัยฯ ประเมินกำไร 4Q66 เพิ่มขึ้น 36.8%YoY แต่ลดลง -15.4%QoQ ซึ่งต้องรอติดตามว่ากำไรจะสูงหรือต่ำกว่าคาดอย่างไร? พร้อมกับจะสร้าง Dowside ต่อประมาณการปี 2567 มากแค่ไหน?

แต่เบื้องต้นฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าเป็นปัจจัยที่สร้างความผันผวนเพียงช่วงสั้นๆ เพราะ Valuation ตลาดหุ้นไทยมีความน่าสนใจมากขึ้น พร้อมกับ Fund Flow ที่สลับเข้ามา พยุงหนุนให้ฐานของ SET Index บริเวณ 1350 – 1370 จุด มีความแข็งแรงและน่า สะสมมากขึ้น กลยุทธ์ยังคงเน้นหุ้น 3 ธีม มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว น่าจะ Outperform ตลาดได้ในช่วงน

• หุ้นปันผลสูง (หลบความผันผวนต่อตลาดได้ดี) แนะ AP, INTUCH, MAJOR, PTTEP

• หุ้นคาดหวังดอกเบี้ยขยับลง (และ Bond Yield10 ปี สหรัฐลงมาเร็ว ล่าสุดต่ำ 4%) แนะ TIDLOR, SAWAD, TISCO

• หุ้นอิงการท่องเที่ยว (ฟรีวีซ่าไทย-จีน ถาวร เริ่มมี.ค. 66 นี้) แนะ AOT (BK:AOT) MINT

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย