ประเด็นวันนี้จับตา 2 เรื่อง เริ่มจาก MOU ที่เป็นความเห็นร่วมของพรรคร่วม รัฐบาล โดยข้อมูลที่ถูกเผยแพร่งออกมามี 13 ประการ ซึ่งจากที่ติดตามพบว่า น่าจะ เป็นประเด็นที่พรรคร่วมรัฐบาลส่วนใหญ่ยอมรับได้ เนื่องจากประเด็นที่อ่อนไหวต่าง อย่างเช่น การแก้ ม.112 ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระหมากษัตริย์ ไม่มีการเขียนไว้ ใน MOU ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสภาฯ ที่จะดำเนินการ จากทิศทางดังกล่าวน่าจะ เห็นการเซ็น MOU ของพรรคร่วมรัฐบาลส่วนใหญ่โดยมีจำนวนเสียงมีน้อยกว่า 300 เสียง อย่างไรก็ตามต้องรอความชัดเจนหลังการเปิดประชุมสภาและมีการ โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นราวกลางเดือน ก.ค.66 ส่วนอีกเรื่องหนึ่ง เป็นการหาข้อสรุปการขยายเพดานหนี้สหรัฐ ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังไม่มีข้อยุติ แต่ ตลาดก็เชื่อว่าน่าจะสรุปได้ก่อนสิ้นเดือน สะท้อนผ่าน CDS ที่ปรับตัวลดลงชัดเจน
ภาพใหญ่ๆ ของตลาดหุ้นไทย ดูเหมือนยังมีแรงหน่วงจากปัจจัยแวดล้อมทาง พื้นฐาน ขณะที่ Fund Flow ยังไหลออก คาดกดดันให้SET Index ผันผวน แนว รับ 1507 จุด แนวต้าน 1530 จุด Top Pick เลือก BEM, MAJOR และ TTCL
หลายปัจจัยภายนอกยังต้องติดตามต่อ ทั้ง DEBT CEILING, แนวโน้ม ดอกเบี้ยสหรัฐ และความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดตัวในแดนลบเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อยู่ที่ -0.1% ถึง -0.6% หลังการ เจรจาขยายเพดานหนี้สหรัฐไม่คืบหน้า มีการประกาศยุติการเจรจาชั่วคราว เนื่องจาก ฝ่ายพรรคเดโมแครตยังพยายามเสนอของบประมาณรายจ่ายในปีหน้าเพิ่มขึ้นจากปีนี้ ซึ่ง ขัดแย้งกับพรรครีพับลิกันที่ความต้องการตัดงบประมาณให้เท่ากับปี 2022
อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ยังมีหลายประเด็นที่ต้องติดตาม เริ่มจากภายในสัปดาห์นี้คาดว่าจะ มีการบรรลุข้อตกลงเพิ่มเพดานหนี้ได้ โดย ปธน. โจไบเดน และ สส. เควิน แมคคาร์ธีจะ มีการหารือกันอีกครั้งในวันนี้ (22 พ.ค.) เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ก่อนครบ กำหนดในวันที่ 1 มิ.ย. ซึ่งตลาดการเงินตอบสนองเชิงบวก สะท้อนผ่าน CDS สหรัฐฯ 1 ปี ปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบเดือน
สำหรับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ กำลังเปลี่ยนโหมดจากขาขึ้นเป็นทรงตัว ยืนยันจากการ กล่าวสุนทรพจน์ของ นายเจอโรม พาวเวล ประธาน Fed ในงานเสวนา Thomas Laubach Research Conference ว่าด้วยนโยบายการเงิน ที่ได้แสดงความกัววลต่อ ภาวะตึงตัวในภาคธนาคารเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ทำให้ Fed ไม่ปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยในระดับที่สูงมากนัก และจากการสำรวจของ Fed Watch Tool พบว่า มีโอกาส สูงถึง 83% ที่ Fed จะคงดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป
ในช่วงที่ Fed มีการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินจากขึ้นดอกเบี้ยฯ เป็นคงดอกเบี้ยฯ พบว่า SET Index มักจะดีดตัวขึ้น (Highlight สีเขียว) โดย +19.7% ในช่วงปี 2006 และ +8.8% ในช่วงปี 2019 นอกจากนี้ทิศทาง Fund Flow ต่างชาติมีแนวโน้มไหลเข้าโดยใน รอบปี ก.ค. 2006- ก.ย. 2007 พบนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1.09 ล้านบาทหรือคิดเป็น 7.8 พันล้านบาทต่อเดือน ขณะที่รอบ ปลาย ธ.ค. 2008 - ก.ค. 2019 ซื้อสุทธิ 5.75 หมื่น ล้านบาทหรือคิดเป็น 8.2 พันล้านบาทต่อเดือน ดังนั้นหากระยะถัดไป Fed เข้าสู่โหมด ของการคงดอกเบี้ย จึงเชื่อว่า SET Index จะตอบรับในเชิงบวก และอาจเป็นปัจจัยที่ สร้างความหวังต่อ Fund Flow ไหลกลับมาบ้านเรามากขึ้น
ขณะที่การประชุม G7 สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งกินเวลา 3 วันนับตั้งแต่วันที 19-21 พ.ค.66 โดย ประเด็นที่ใหญ่ที่สุดของการประชุมครั้งนี้ คือ สงครามรัสเซีย-ยูเครน และยังมีประเด็น อื่นๆที่ถูกพูดถึงในการประชุมครั้งนี้ โดยประเด็นสำคัญต่างๆมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1. G7 หนุนยูเครนสู้รัสเซียเต็มกำลัง โดย ปธน. โจ ไบเดน แห่งสหรัฐอเมริกา ออก โรงสนับสนุนให้ชาติพันธมิตรร่วมกันฝึกอบรมการขับเครื่องบิน F-16 ให้กับ ทหารยูเครน พร้อมส่งสัญญาณว่า สหรัฐฯ ยินยอมให้ชาติเหล่านั้นสามารถจัดหา เครื่องบินรบให้กับยูเครนได้ นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังได้ประกาศมาตรการคว่ำ บาตรรัสเซียรอบใหม่ ซึ่งมุ่งเป้าไปยังบุคคลหรือองค์กรอีกกว่า 300 แห่งของ รัสเซีย ด้านอังกฤษได้ประกาศแผนแบนการนำเข้าเพชร, ทองแดง, อะลูมิเนียม และนิกเกิล จากรัสเซีย
2. G7 รับจีนคือความท้าทายใหญ่ แต่ตัดทิ้งไม่ได้ เนื่องจากจีนเป็นชาติที่มี บทบาทสำคัญบนเวทีโลก โดยจีนเป็นประเทศที่มีเขตเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก หรือเป็นรองเพียงแค่สหรัฐฯ แต่ถึงเช่นนั้นชาติต่างๆ ก็เห็นพ้องกันว่า ควรมีการดำเนินการเพื่อปกป้องความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีจากจีน ซึ่งอาจส่งผล กระทบต่อความมั่นคงของแต่ละชาติได้ แต่การดำเนินการในส่วนดังกล่าวต้องไม่ ไปจำกัดการค้าและการลงทุนมากเกินควร
3. ประเด็นสิ่งแวดล้อมและ IT ผู้นำกลุ่ม G7 สนับสนุนการลงทุนด้านก๊าซ ธรรมชาติ เพื่อเปิดช่องให้ประเทศต่างๆ สามารถลดการพึ่งพาก๊าซ-พลังงานจาก รัสเซีย ขณะที่ G7 ยังคงยืนยันความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายการลดการปล่อย คาร์บอนบนท้องถนนในระดับสูงภายในปี 2030 และความมุ่งมั่นที่จะบรรลุ เป้าหมายการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์บนท้องถนนภายในปี 2050
สรุป มีหลายปัจจัยที่ต้องติดตามในช่วงนี้ ตั้งแต่การเจรจาขยายเพดานหนี้ในสหรัฐที่ คาดว่าจบภายในสัปดาห์นี้ บวกกับดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐที่มีแนวโน้มเปลี่ยนโหมด จากขาขึ้นเป็นทรงตัว รวมถึงความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่กลายเป็นประเด็นเด่นใน การประชุม G7 พร้อมกับความกังวลว่าอาจทวีความรุนแรงมากขึ้น
นักลงทุนรอติดตามการเซ็น MOU ของพรรคร่วมรัฐบาล เวลา16.30 น.
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา SET Index ปรับตัวลดลง 46 จุด หรือประมาณ -3% สวนทางตลาด หุ้นโลก (MSCI ACWI) ที่ปรับขึ้น 0.1% และ Fund Flow ไหลออกกว่า 1.06 หมื่นล้าน บาท เนื่องจากนักลงทุนรอความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลว่าเสียงสนับสนุนจากสภา ผู้แทนราษฎร์ จะอยู่ที่เท่าไร (เบื้องต้น 313 เสียง) และเมื่อรวมคะแนนเสียงจาก ส.ว. หรือ ส.ส. พรรคที่ไม่ร่วมรัฐบาล จะเกิด 376 เสียง เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี จาก พรรค ก้าวไกลหรือไม่? พร้อมกับแนวทางการดำเนินนโยบายของพรรคก้าวไกลและพรรคร่วม รัฐบาล ซึ่งจะมีการเซ็น MOU กันในวันนี้
ส่วนในมุมมองของฝ่ายวิจัยฯ มีความเห็นว่า ตลาดหุ้นไทยน่าจะสะท้อนความกังวลจาก ปัจจัยดังกล่าวมาในระดับหนึ่งแล้ว และยังเห็นแนวโน้มในการจัดตั้งรัฐบาลในทิศทางที่ดี ขึ้น ดังนี้
1.) แนวร่วมจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคการเมือง (รวมทั้งหมด 313 คน) และมีสว. หลายท่าน ที่จะให้ความเห็นโหวตให้นาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์เป็นนายกฯ คนที่ 30 เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
2). มีการเซ็น MOU (ข้อตกลงร่วนในการจัดตั้งรัฐบาล) วันนี้เวลา 16.30 น. มีโอกาสผ่าน ไปได้ด้วยดี เนื่องจากวานนี้ทางพรรคก้าวไกลโพสผ่านสื่อ Facebook ไว้ชัดเจนว่า MOU เป็นวาระและนโยบายที่ทุกพรรคเห็นตรงกันเป็นส่วนใหญ่ พร้อมผลักดันร่วมกันผ่าน กลไกบริหารและนิติบัญญัติที่รับผิดชอบร่วมกัน ส่วนวาระอ่อนไหวส่วนใหญ่เฉพาะอย่าง ยิ่ง การแก้ไข ม.112 จะอยู่นอกเหนือจาก MOU ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนผ่านกลไกของ สภาผู้แทนราษฎร์
หมายเหตุ : วันที่18 พ.ค. นักลงทุนรอดูรายละเอียด MOU SET ขยับขึ้นไป 19 จุด พอ ไม่มีรายละเอียดอะไร ก็ลดลงมาเหลือ 3.9 จุด
อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะต้องติดตาม โดยเฉพาะแนวทางในการดำเนิน นโยบายที่มีผลต่อตลาดหุ้น ? อาทิ การขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ, การเก็บภาษีซื้อขายหุ้น, การเก็บ ภาษีทรัพย์สินที่สูงกว่า 300 ล้านบาท, การควบคุมธุรกิจนายทุนผูกขาด, การลดค่าไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งพรุ่งนี้ฝ่ายวิจัยฯ จะนำเสนอในมุมการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำส่งผลต่อตลาดหุ้นและ Sector อะไรบ้าง? ในบทวิเคราะห์ Market Talk
ส่วน SET Index วันนี้ประเมินเคลื่อนไหวในกรอบ 1507 –1530 จุด Top pick เลือก MAJOR, TTCL, BEM
หุ้น MAJOR ตกใจเกินกว่าเหตุ จากภาษีภาพยนตร์
ราคาหุ้น MAJOR ปรับตัวลดลงกว่า 10% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเกิดจากความ กังวลเกี่ยวกับนโยบายของพรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาล ที่มีแนวคิด จัดเก็บภาษีโรงภาพยนตร์อัตรา 1% ของค่าตั๋ว เพื่อเป็นทุนในการสนับสนุนผู้ผลิตหนังหน้า ใหม่ แต่ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าจะผลกระทบต่อ MAJOR จำกัดมาก เพราะหากพิจารณาจาก รายได้ตั๋วหนังเฉพาะโรงหนังในประเทศปี 2566 ของ MAJOR ที่ประเมินไว้ราว 3.4 พันล้านบาท หากเก็บภาษี 1% คิดเป็น 34 ล้านบาท จะเป็นการแบ่งค่าใช้จ่ายระหว่าง เจ้าของโรงหนังกับค่ายหนังคนละครึ่ง เท่ากับว่า MAJOR จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 17 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียง 2-3% ของประมาณการกำไรปีนี้ที่คาดไว้ไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาท เท่านั้น โดยอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศที่แข็งแรงขึ้น จากปัจจุบันที่มีภาพยนตร์ ไทยออกฉายเพียงปีละ 40-50 เรื่อง จะเป็นประโยชน์ต่อ MAJOR มากกว่าภาษีที่เสียไป เนื่องจากภาพยนตร์ไทยถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญให้กับ MAJOR ในโรงภาพยนตร์ ต่างจังหวัด นอกจากนี้การทบทวน พ.ร.บ. เซ็นเซอร์ ให้ผ่อนปรนลง จะเปิดโอกาสให้มี ภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ได้มากยิ่งขึ้น ฝ่ายวิจัยคง คำแนะนำ Outperform ให้ราคาเหมาะสม 21.80 บาท
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities