ปัจจัยแวดล้อมเช้าวันนี้ยังไม่มีแรงขับเคลื่อนใหม่ ทำให้ Momentum ในการ เหวี่ยงขึ้นของ SET Index ยังคงดำเนินต่อไป ส่วนประเด็นที่รอดูในต่างประเทศคง เป็นเงินเฟ้อเดือน เม.ย.66 ของสหรัฐ ซึ่งเรามองว่าไม่น่าจะเห็นการดีดตัวกลับ จาก ภูมิคุ้มกันเงินเฟ้อใน 3 เรื่องหลักคือ 1) ราคาน้ำมันและ Commodity หลักปรับตัว ลดลง 2) ระดับ CPI ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับสูง และ 3) ดอกเบี้ยที่ ถูกปรับขึ้นเชิงรุกในช่วง 1 ปีเศษที่ผ่านมา ส่วนภาพของ Fund Flow เราเชื่อว่า น่าจะเห็นการไหลเข้าตลาดหุ้นไทยมากขึ้น แรงหนุนมาจากทิศทางเงินบาทที่มี โอกาสแข็งค่าขึ้นได้ต่อ ขณะที่มองเห็นแรงซื้อสุทธิที่กลับเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยวานนี้ซื้อสุทธิกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่ง 2.27 หมื่น ล้านเป็นตราสารระยะสั้น มีโอกาสสลับเข้ามาตลาดหุ้นในระยะต่อไป
ความผันผวนหลังการปรับขึ้นแรงของ SET Index ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ประเมิน จากปัจจัยแวดล้อมแล้ว ก็ยังเชื่อว่า SET Index น่าจะมีMomentum เหวี่ยงขึ้น ต่อ วันนี้คาดกรอบ 1552-1570 จุด Top Pick เลือก CPALL (BK:CPALL), KBANK (BK:KBANK) และ SPALI
ตลาดหุ้นอยู่ในโซนพักตัว รอติดตามตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ
ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปยังคงทรงตัวต่อเนื่อง โดยวานนี้ปิดตัวในกรอบแคบราว -0.6% ถึง +0.02% หลังรอติดตามการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนเม.ย. ในวันนี้ (เวลา 19.30 น. ตามเวลาประเทศไทย) บวกกับเศรษฐกิจสหรัฐยังมีความเสี่ยงจากการผิดนัด ชำระหนี้ ซึ่งในวันศุกร์นี้ (12 พ.ค.) ทางผู้นำสหรัฐจากพรรคเดโมแครต-รีพับลิกัน พร้อมคณะฯ จะมีการหารือกันอีกครั้งเกี่ยวกับการขยายเพดานหนี้ และการควบคุม งบประมาณใช้จ่ายของรัฐบาลกลาง
สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐฯ ระยะถัดไป มีโอกาสลดลงต่อเนื่อง แม้ OPEC+ จะปรับ ลดกำลังการผลิตนำมันดิบลงอีก 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ด้วยความกังวลเรื่อง Recession จึงกดดันราคาสินค้า Commodity หลายรายการ ประกอบกับฐานราคาใน เดือนเดียวกันของปีก่อนที่ใช้ค้านวณเงินเฟ้อค่อนข้างสูง
ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของฝ่ายวิจัยฯ ที่ให้สมมติฐาน CPI รายเดือนเพิ่มขึ้นใน อัตราเท่ากับเดือน มี.ค. คือ 0.05% MoM จะเห็นได้ว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในเดือน ถัดๆไป ลดลงอย่างชัดเจน โดยลดลงจาก 5.0%YoY (เดือน มี.ค.) เหลือ 4.63%YoY (เดือน เม.ย.) ดังรูปด้านล่าง ขณะเดียวกันตลาดหุ้นมักจะ Perform ได้ดี ในกรณีเงินเฟ้อ สหรัฐปรับตัวลดลงต่อเนื่องและอยู่ในระดับต่ำกว่าคาด/ตามคาด
สรุป ตลาดหุ้นอยู่ในโซนของการพักตัวต่อเนื่อง หลังเศรษฐกิจสหรัฐยังมีปัจจัยเสี่ยง ต่อการผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงรอติดตามตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐในวันนี้มีแนวโน้ม ปรับตัวลดลง/ทรงตัว ซึ่งในกรณีที่เงินเฟ้อปรับตัวลดลงต่อเนื่องและอยู่ในระดับต่ำ กว่าคาด ตลาดหุ้นมักจะ Outperform ได้ดีในระยะถัดไป
อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ใกล้จบขาขึ้น กด DOLLAR INDEX อ่อนค่า
อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯใกล้ถึงปลายทางขาขึ้น โดย Bloomberg ได้คาดเพดานดอกเบี้ยของ สหรัฐฯ ไว้อยู่ที่ 5.25% นอกจากนี้ยังประเมินว่า Fed จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยในช่วง 3Q66 ตามการชะลอตัวลงของเงินเฟ้อ ซึ่งสวนทางกับ ECB และ BOE ที่เดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ย ต่อไปราว 2-3 ครั้ง ก่อนที่จะเริ่มปรับลงในช่วง 4Q66 หลังเงินเฟ้อยังยืนอยู่ในระดับสูง และห่างไกลจากกรอบเป้าหมายที่ 2% ซึ่งประเด็นดังกล่าว หนุนให้เม็ดเงินในสหรัฐฯออก จากสินทรัพย์ปลอดภัยอย่าง Dollar Index ให้อ่อนค่าจากจุดสูงสุดในช่วง 2 สัปดาห์ที่ ระดับ 106 จุด สู่ระดับปัจจุบัน 101 จุด ด้วย Dollar Index ที่อ่อนค่า หนุนให้ค่าเงินบาท กลับมาแข็งค่า จนล่าสุดอยู่ที่ 33.6 บาท/เหรียญฯ
ทั้งนี้หากพิจารณาจากข้อมูลในอดีตจะพบว่า ช่วงที่ Fed คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะทำ ให้ตลาดหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ทั้งตลาดหุ้นสหรัฐฯและไทย โดย SPX Index +20.3% และSET Index +19.7% ในช่วงปี 2006, SPX Index +30.5% และ SET Index +8.8% ในช่วงปี 2018 อย่างไรก็ตามในทางกลับกันหาก Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง อย่างรวดเร็ว ก็จะเป็นจุดสะท้อนได้ว่าเศรษฐกิจในช่วงนั้นกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) และอาจเป็นแรงกดดันต่อตลาดหุ้นอย่างมีนัยฯ
สรุป ภาวะดังกล่าวน่าจะทำให้ Fed หลังจากปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบต้น เดือน พ.ค.66 แล้ว น่าจะคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่บริเวณ 5.25% ไว้ได้นาน ขึ้น ซึ่งช่วงการคงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่เม็ดเงินมักไหลออกจาก Dollar Index เข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงเสมอ และทำให้ตลาดหุ้นสามารถ Outperform ได้ดีเฉกเช่นสถิติในอดีต
FUND FLOW จากกองทุน และต่างชาติยังมีแนวโน้มหนุนหุ้นไทยต่อ
วานนี้ SET Index ปรับขึ้นต่อเล็กน้อย 2.4 จุด หรือ 0.15% และ Outperform กว่า ภาพรวมตลาดหุ้นโลก อย่าง MSCI ACWI ที่ -0.46%
แรงผลักดันวานนี้มากจากสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิถึง 5 พันล้านบาท (เป็นการซื้อ สุทธิในวันเดียวที่สูงสุดในปีนี้) หนุนยอดซื้อสุทธิในเดือน พ.ค. 66 ของกองทุนอยู่ที่ 9.3 พันล้านบาท (mtd) เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสะสม 104 ล้านบาท (mtd) ถือเป็น Momentum ที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านๆมา
นอกจากนี้ยังเห็น Fund Flow ไหลทะลักเข้าตลาดตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุ
สรุปคือ ทิศทาง Fund Flow มีการไหลเข้าตลาดการเงินไทยอย่างมีนัยฯ โดยเฉพาะ ตลาดตราสารหนี้ระยะสั้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น หนุนต่างชาติได้ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม รวมถึงน่าจะมี Momentum หนุนตลาดหุ้นไทย ในระยะถัดไปได้เช่นกัน
Top pick วันนี้เลือก KBANK CPALL SPALI
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities