รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ทำไมราคาทองคำ และ BTC ถึงมีการย่อตัวลงในเช้านี้

เผยแพร่ 20/03/2566 11:23

ทำไมราคาทองคำ และ Bitcoin ถึงมีการย่อตัวลงในเช้านี้

มีข่าวดีเข้ามา 2 ข่าวในช่วงเช้านี้นะครับ ทำให้นักลงทุนคลายกังวลเกี่ยวกับวิกฤตธนาคารได้บ้างเล็กน้อย ทำให้เงินได้มีการไหลออกจากสินทรัพย์ปลอดภัยไปยังสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงเช้านี้

เงินไหลออกจากสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ พันธบัตร และ BTC ซึ่งกลายมาเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงเกิดวิกฤตกับระบบการเงินยุคเก่าอย่างระบบธนาคารในขณะนี้

ทำให้ราคาทองคำ และ BTC มีการย่อตัวลง เช่นเดียวกับราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่มีการย่อตัวลงเช่นเดียวกัน

การที่ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หรือ Bond Price มีการปรับตัวลง ก็จะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หรือ Bond Yield นั้นมีการปรับตัวขึ้นนั่นเอง

ในขณะที่เงินไหลออกจากสกุลเงินปลอดภัยอย่างสกุลเงินเยน JPY เช่นเดียวกัน จึงส่งผลให้คู่สกุลเงิน XXXJPY นั้นมีการปรับตัวขึ้นทั้งหมด จากการอ่อนค่าของสกุลเงินเยน JPY นั่นเอง

เราไปดูข่าวที่เข้ามาทำให้นักลงทุนคลายกังวลในช่วงเช้านี้กันครับ

ยูบีเอส (UBS) ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ ได้ตกลงเข้าซื้อกิจการธนาคารเครดิต สวิส ในวงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยหน่วยงานฝ่ายกำกับดูแลด้านการเงินของรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้เข้ามามีส่วนในการทำข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์นี้

การซื้อกิจการดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานร่วมกันระหว่างธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์, รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ และหน่วยงานกำกับดูแลตลาดการเงินของสวิตเซอร์แลนด์ โดยธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ได้ให้คำมั่นว่าจะจัดสรรเงินกู้ยืมจำนวนสูงถึง 1 แสนล้านฟรังก์ (1.08 แสนล้านดอลลาร์) เพื่อสนับสนุนการเทกโอเวอร์กิจการ ขณะที่รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้อนุมัติเงินค้ำประกันจำนวนสูงถึง 9 พันล้านดอลลาร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงให้กับยูบีเอส

"การที่ยูบีเอสตัดสินใจเทกโอเวอร์กิจการเครดิต สวิส ถือเป็นทางออกในการสร้างเสถียรภาพการเงินและช่วยปกป้องเศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ในวิกฤตการณ์นี้ เนื่องจากเครดิต สวิส เป็นธนาคารที่มีความสำคัญในเชิงระบบ" นายโธมัส จอร์แดน ประธานธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์กล่าว

ทางด้านยูบีเอสระบุว่า ธนาคารที่ผ่านการควบรวมกิจการในครั้งนี้ จะมีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 5 ล้านล้านดอลลาร์ และภายใต้ข้อตกลงนั้น กลุ่มผู้ถือหุ้นของเครดิต สวิสจะได้รับหุ้นของยูบีเอสจำนวน 1 หุ้นต่อหุ้นเครดิต สวิส ทุก ๆ 22.48 หุ้นที่ถือครองอยู่

นายโคล์ม เคลเลเฮอร์ ประธานยูบีเอสกล่าวว่า "การเข้าซื้อกิจการของเครดิต สวิส ถือเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้กลุ่มผู้ถือหุ้นของยูบีเอสพึงพอใจ อย่างไรก็ดี เรายอมรับว่าสถานการณ์ของเครดิต สวิสยังคงเป็นเรื่องที่น่ากังวล และนี่เป็นการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน"

นอกจากนี้ นายเคลเลเฮอร์กล่าวว่า ยูบีเอสวางแผนที่จะลดขนาดธุรกิจวาณิชธนกิจของเครดิต สวิส ซึ่งเป็นธุรกิจที่ขาดทุนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการปลดพนักงานจำนวนมากเพียงใด นายเคลเลเฮอร์ตอบว่า "ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่าเราจะปลดพนักงานจำนวนเท่าใดหลังจากการทำข้อตกลงซื้อกิจการในครั้งนี้"

ขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสวิตเซอร์แลนด์กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า "นี่เป็นการหาทางออกในเชิงธุรกิจ ไม่ใช่การอุ้มกิจการแต่อย่างใด"

ในฝั่งสหรัฐนั้น นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ และนายเจอโรม พาเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกมาขานรับความคืบหน้าดังกล่าว พร้อมกับย้ำว่า "สถานะด้านเงินทุนและสภาพคล่องในระบบธนาคารของสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง และระบบการเงินของสหรัฐก็อยู่ในสถานะที่ดีเช่นกัน ที่ผ่านมานั้นสหรัฐได้ติดต่อประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินทั่วโลก เพื่อสนับสนุนการสร้างระบบที่แข็งแกร่ง"

ทั้งนี้ เครดิต สวิส ซึ่งเป็นธนาคารเก่าแก่อายุ 167 ปี นับเป็นธนาคารรายใหญ่สุดที่สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาด หลังจากเกิดวิกฤตการเงินกับธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) และซิกเนเจอร์ แบงก์ของสหรัฐในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเครดิต สวิส ต้องขอกู้เงิน 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์จากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์

นางแคริน เคลเลอร์-ซุตเทอร์ รัฐมนตรีคลังสวิตเซอร์แลนด์ได้จัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเพื่อชี้แจงกรณีธนาคารยูบีเอสเข้าซื้อกิจการธนาคารเครดิต สวิส โดยกล่าวว่า การที่ยูบีเอสเข้าซื้อกิจการของเครดิต สวิสภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์นั้น ไม่ใช่การอุ้มกิจการ และเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในสถานการณ์ที่ยากลำบากในขณะนี้

"เราสามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดได้แล้ว นี่ไม่ใช่การอุ้มกิจการของเครดิต สวิส และการที่ยูบีเอสเข้าเทกโอเวอร์กิจการของเครดิต สวิส ถือเป็นทางออกในเชิงธุรกิจ"
"ธนาคารเครดิต สวิสมีความสำคัญในเชิงระบบ หากธนาคารแห่งนี้ล้มละลายก็จะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ทั้งต่อตลาดการเงินของสวิตเซอร์แลนด์เองและตลาดการเงินทั่วโลก" นางเคลเลอร์-ซุตเทอร์กล่าว

นางเคลเลอร์-ซุตเทอร์ยังกล่าวด้วยว่า เธอได้ติดต่อกับหน่วยงานของรัฐบาลสหราชอาณาจักรและสหรัฐ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ต่างก็ขานรับข่าวยูบีเอสซื้อกิจการเครดิต สวิส เนื่องจากทั่วโลกต่างก็กังวลว่าการล้มละลายของเครดิต สวิสจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการเงินทั่วโลก

ทางด้านนายโธมัส จอร์แดน ประธานธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์กล่าวว่า "การที่ยูบีเอสตัดสินใจเทกโอเวอร์กิจการเครดิต สวิส ถือเป็นทางออกในการสร้างเสถียรภาพการเงินและช่วยปกป้องเศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ในวิกฤตการณ์นี้ เนื่องจากเครดิต สวิส เป็นธนาคารที่มีความสำคัญในเชิงระบบ ทั้งในแง่ของขนาดและการมีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก"

ทั้งนี้ ยูบีเอส ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ ได้ตกลงเข้าซื้อกิจการธนาคารเครดิต สวิส ในวงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยการซื้อกิจการดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานร่วมกันระหว่างธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์, รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ และหน่วยงานกำกับดูแลตลาดการเงินของสวิตเซอร์แลนด์

ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ได้ให้คำมั่นว่าจะจัดสรรเงินกู้ยืมจำนวนสูงถึง 1 แสนล้านฟรังก์ (1.08 แสนล้านดอลลาร์) เพื่อสนับสนุนการเทกโอเวอร์กิจการ ขณะที่รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้อนุมัติเงินค้ำประกันจำนวนสูงถึง 9 พันล้านดอลลาร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงให้กับยูบีเอส

ในขณะที่แฟลกสตาร์ แบงก์ (Flagstar Bank) ซึ่งเป็นธนาคารในเครือของนิวยอร์ก คอมมูนิตี้ บันคอร์ป อิงค์ (New York Community Bankcorp Inc) ได้บรรลุข้อตกลงกับหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐ เพื่อเข้าซื้อสินทรัพย์ซึ่งประกอบด้วยเงินฝากและเงินกู้ ของธนาคารซิกเนเจอร์ แบงก์ (Signature Bank - SB) ซึ่งถูกสั่งปิดกิจการในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา

บรรษัทค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC) ระบุว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้แฟลกสตาร์ แบงก์ สามารถรับช่วงการดำเนินการเงินฝากและเงินกู้ทั้งหมดในพอร์ท รวมทั้งสาขาธนาคารทั้ง 40 แห่งของซิกเนเจอร์ แบงก์ และธนาคารสาขาเหล่านี้จะยังคงดำเนินงานตามปกติ

FDIC ระบุว่า เงินกู้มูลค่าเกือบ 6 หมื่นล้านดอลลาร์ และเงินฝากมูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์ของซิกเนเจอร์แบงก์ จะยังคงภายใต้มาตรการพิทักษ์ทรัพย์ (Receivership) ของรัฐบาล

เมื่อวันที่ 11 มี.ค. รัฐบาลสหรัฐประกาศปิดกิจการซิกเนเจอร์ แบงก์ เป็นธนาคารที่ปล่อยกู้ให้กับอุตสาหกรรมคริปโทเคอร์เรนซี เพื่อควบคุมความเสี่ยงในระบบธนาคาร หลังจากซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (Silicon Valley Bank - SVB) และซิลเวอร์เกต แคปิตอล เผชิญวิกฤตการณ์ด้านการเงินจนถูกสั่งปิดกิจการไปก่อนหน้านี้

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย