🔥 กลยุทธ์การหุ้นคัดเลือกโดย AI ของเรา หุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่ ทะยานขึ้น +7.1% ในเดือน พฤษภาคม เข้าเทรดขณะหุ้นกำลังมาแรงรับส่วนลด 40%

สรุปการลงทุนปี 2022 ฉบับวิตามินหุ้น ตอนที่ 1 

เผยแพร่ 30/12/2565 11:10

ปีนี้ผลตอบแทนเป็นบวก แต่น้อยกว่าเป้าที่วาดไว้ เป็นปีที่เริ่มต้นดี กลางปีผันผวน และจบปีกลับมาดี

สิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่ได้เรียนรู้ ข้อดี ข้อผิดพลาด และวิธีการแก้ไข วิตามินหุ้นสรุปให้ฟังแบบนี้

สิ่งที่เกิดขึ้น

1. ต้นปีดีด้วยบุญเก่า แต่กว่าจะตัดใจขายได้ก็นานอยู่

ถือหุ้นตัวนึงเกี่ยวกับการขนส่งมาตั้งแต่ปี 2020 ช่วง COVID ทุนประมาณ 3 บาท ด้วยความที่ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน ค่าระวางเรือขึ้นแรงมาก ราคาหุ้นก็วิ่งมาจนกำไรประมาณ 8 เด้ง (แต่ก็ไม่ได้ผลตอบแทนเยอะแยะหรอกครับ เพราะไม่ได้ซื้อเยอะมากมาย)

ทีแรกก็กะว่าจะขาย เพราะเราก็ตามดูดัชนี SCFI ทุกวันศุกร์ มันก็ลงมาเรื่อยๆ แต่ด้วยอคติที่ว่า เดี๋ยวจะรอหุ้นลูกที่ทำเรื่องขนส่งทางบก ทางรางเข้าตลาด แล้วค่อย switch มาทีเดียว แต่ก็ดีเลย์เรี่อยมา จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้เข้าตลาด

จุดที่ตัดสินใจขาย คือ ค่าระวางลงไม่หยุด โวลุ่มที่จะเพิ่ม เหมือนว่าจะมาชดเชยไม่พอ กราฟหลุดตามแนวรับมาเรื่อยๆ ถึงแม้จะเด้งระหว่างทาง แต่เห็นแล้วว่าคือ กราฟไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ เป็น Lower High, Lower Low ตลอด ก็เลยไม่รอละหุ้นลูก ขายได้กำไรมาเหลือ 6 เด้ง แต่อย่างที่บอก ไม่ได้ใส่เงินเยอะหรอก ก็ได้กำไรพอประมาณ คิดว่าคุ้มกับ 2 ปี ที่ถือ

2. ซื้อหุ้นตัวใหม่แบบวางเงินหนัก แต่หุ้นไม่ไปไหน พอร์ตเลยไม่ขยับ

หุ้นอสังหาแนวราบตัวนึง ซื้อตั้งแต่วันเข้าตลาด สะสมมาเรื่อยๆ เพราะดูแผนการเติบโตแล้ว โตเป็น 100% แน่ๆ มี JV อีกทุกไตรมาส วันที่ซื้อ P/E สูงกว่าอสังหาทั่วไป คือ 15 เท่า แต่ดูการโตแล้ว ยังไงเดี๋ยวสิ้นปี น่าจะลงมาเหลือ 6-7 เท่า

ปัญหาที่เจอ เรื่องแรก คือ ปันผลไม่จ่าย เพราะจ่ายไปแล้วก่อนเข้าตลาด ขณะที่หุ้นตัวอื่นจ่ายกันเยอะเป็นปกติ P/E ถ้าดู Trailing ก็สูงกว่าเพื่อน งบออกมาดีกว่าที่คาดทุกไตรมาส แต่ราคาขยับลงเป็นว่าเล่น

สิ่งทีทำคือ ซื้อเยอะขึ้นเรื่อยๆ เพราะคิดว่ามี upside พอสมควร ยิ่งราคาลงก็ยิ่งซื้อ มีทำ SAP บ้าง และก็มีเปิดอีกพอร์ตเล่นรอบทำกำไรตามกราฟ คือ ทำหลายอย่างอยู่ สุดท้ายไม่ได้วางแผนดี มาดูอีกที โห ซื้อไปเยอะมาก กะว่า ถ้ามันดีดกลับมาเมื่อไหร่ น่าจะได้เยอะ

แต่พอเวลาผ่านไปหลายเดือน ราคาก็มีขึ้นบ้าง แต่ก็วนกลับมาอีก ต่ำกว่าทุนก็หลายรอบ จนเริ่มเกิดความคิดว่า ปีนี้โตขนาดนี้ตลาดยังไม่เล่น แล้วปีหน้าถ้าโตชะลอลงจากฐานสูง ตลาดจะเล่นหรอ เราเสียเวลาอยู่กับหุ้นตัวนี้นานไปมั้ย ลงเงินเยอะเกินไปเปล่า หุ้นตัวอื่นๆ ในพอร์ตกำไรเยอะ แต่เราไม่มีเงินไปซื้อแล้ว พอร์ตเลยไม่ได้บวกเยอะอย่างที่ตั้งใจ เลยคิดว่า เอาละ ทยอยขายบ้างดีกว่า จะได้มีเงินไปซื้อหุ้นตัวอื่น

คิดได้แบบนั้นก็ทยอยขายเรื่อยมา มีซื้อเพิ่มบ้างระหว่างทาง งบ Q3 ออกมาก็ไม่สวยมาก ก็เลยหาจังหวะขายทั้งขาดทุนและกำไร แล้วไปซื้อหุ้นตัวอื่นเพิ่มที่งบดูดีกว่า โอกาสโตมากกว่า แต่เรื่องตลกคือ เดือนธันวา อสังหาดันมากันแรง รวมทั้งหุ้นตัวนี้ที่เราขายไปบางส่วนแล้วด้วย แต่ก็ยังเหลืออยู่ เพราะซื้อไว้เยอะ ส่วนหุ้นตัวใหม่ที่ไปซื้อแทน ก็ขึ้นนะ แต่ไม่มาก ถ้าคิดรวมๆ แล้ว อดทนอยู่เฉยๆ จะได้ผลตอบแทนดีกว่าสลับไปมา

3. ปรับพอร์ตให้สมดุลมากขึ้น

ช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะหลังงบ Q3 ออก ก็เลยปรับพอร์ตให้สมดุลขึ้น กับมาที่หลักการเดิมของตัวเองที่โดยปกติจะซื้อหุ้น 5 ตัวๆ ละ 20% เพราะอย่างน้อย ถ้าหุ้นตัวไหนลงเยอะ ก็จะไม่กระทบมาก หรือกลับกันถ้าหุ้นตัวไหนขึ้นเยอะก็จะไม่ได้ดึงพอร์ตขึ้นมาก แต่เพราะผมตั้งเป้าโตแต่ละปี 26% ก็เลยคิดว่า วิธีการนี้มันโอเคทำได้อยู่ เพราะถ้าหุ้นลงเกิน 10% ส่วนใหญ่ก็คัท ยกเว้นมั่นใจพื้นฐานมากๆ

หุ้นที่ซื้อก็จะมี หุ้นเก่าที่ถือมาดูแล้วน่าจะโตต่อได้ก็ทยอยหาจังหวะซื้อเพิ่มให้ครบ หุ้นใหม่ที่งบดี ดูแววแล้วมีโอกาสเติบโตได้ต่อก็เอาเข้าพอร์ต ช่วงนี้ก็ยังได้ไม่ครบตามที่ตั้งใจ ก็ทยอยปรับตามจังหวะที่เหมาะสม ไม่เร่ง ไม่ไล่ราคา ซื้อตามแผน ผลลัพธ์ถือว่าใช้ได้ ทุกตัวยังเขียวดี

====================

4. ขายหมูหุ้นเติบโต มีอนาคต แต่ติดกับดัก P/E สูง

หุ้นดี P/E สูง แต่งบดี สตอรี่ดี หุ้นโรงเรียน หุ้นอิเล็กทรอนิกส์ หุ้นขนม หุ้นสินค้าขายดีในร้านสะดวกซื้อ หลายตัวเลยที่ซื้อมาในราคาดี งบดี แต่พอเจอจังหวะราคาขึ้นไปสูง P/E ก็สูง บางช่วงบางตอน ราคาเริ่มย่อให้เห็น ตลาดก็รับรู้เยอะ มวลชนเข้ามาเพียบ

เราก็กลัวว่าเดี๋ยวประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเหมือนต้นปีที่พอไม่ขาย ก็คืนกำไรให้ตลาด เลยขายออกไปหลายตัว แต่สุดท้ายมันก็พิสูจน์ว่า เราผิด เพราะหุ้นขึ้นต่อไปอีกไกล เพราะงบมันโตต่อ และโอกาสที่จะมี runway ไปอีกไกลก็ยังเห็นชัดอยู่ พอเราเอาอารมณ์กลัวออกไป แล้วมามองย้อนหลังดู เรากลับเห็นชัดขึ้นนะว่า ตัวไหนควรขาย ตัวไหนควรปล่อยให้มันย่อเพื่อไปต่อ

5. ขาดทุน 3 ตัว ทั้งๆ ที่ก็รู้ว่าน่าจะไม่ดี

ค้าส่งตัวใหญ่ ที่ขายหุ้นเพิ่มทุน จริงๆ คือ ชอบโอกาสในการเติบโต ชอบที่ว่าถ้าขายหมดจะผ่านเกณฑ์ FF 15% เข้าดัชนีได้ และถ้าบริหารค้าปลีกที่ซื้อมาได้ อนาคตจะดีมาก แต่ชีวิตจริงไม่ง่ายเหมือนในกระดาษ หุ้นขายไม่ได้ตามเกณฑ์ FF งบที่ประกาศตามหลังมาก็ดูไม่ดีนัก ค่าใช้จ่ายเพียบ ราคาหุ้นก็สะท้อนตามนั้น ร่วงเละเทะ สุดท้ายคิดว่า ยาวๆ คงดีแหละ แต่ยาวของเค้ากับเราไม่เหมือนกัน เราไม่อยากรอละ เลยขายขาดทุนไปตัวอื่นดีกว่า น่าจะคุ้มกว่า แต่ก็มีเล่นบ้างตามรอบ rebound

ค้าส่ง IT ซื้อเพราะคิดว่าราคาถูก iPhone รุ่นใหม่เดาว่าขายดี และขายสินค้า house brand เปิดตลาดมือสอง รวมทั้งหาแบรนด์ใหม่ๆ เข้ามาอีกเพียบ ดูแล้วก็น่าจะดีนะ แต่ก็รู้อยู่ลึกๆ ว่า ตลาด IT ดีมาแล้วตอน work from home เค้าอาจจะไม่เล่นกันแล้วก็ได้ ซึ่งก็จริงตามนั้น งบออกมาก็ถือว่าโอเค แต่อาจจะไม่ว้าวมาก คือ เดาว่า ราคาไม่แพง ถ้ารอได้ เดี๋ยวก็คงเด้งกลับมา แต่ด้วยความที่ว่า ราคามันลงมาเยอะ โดยเปรียบเทียบกับ upside ของหุ้นตัวอื่นที่เราเห็นในตลาด ก็เลยขายขาดทุนออกมาแล้วเปลี่ยนตัวดีกว่า

อสังหาแนวราบตัวเล็ก เคยได้กำไร ได้ปันผล กับหุ้นตัวนี้มาก่อน ตอนกำไรดีๆ เปิดโครงการเยอะๆ เราก็เลยเอา playbook เล่มเดิมมาใช้ บวกกับปกติเส้น 200 วัน รับอยู่ตลอด พอราคามาถึงตรงนั้นก็เลยซื้อไป แต่กลายเป็นว่า เปิดโครงการเยอะจริง แต่กำไรก็เริ่มชะลอลง Rejection Rate ก็ดูเหมือนจะสูงนะ เพราะกำลังซื้อคนระดับกลางลงมาอาจมีปัญหา และแบงค์ก็ดูไม่ปล่อยกู้ง่ายนัก ราคาหุ้นก็ร่วงลงมา เราก็เลยคิดว่า อาจจะผิดทาง พอมันเด้งกลับมาที่เส้น 200 วัน อีกรอบ แต่ไม่ผ่าน เลยขายขาดทุนไปซื้อหุ้นอสังหาตัวอื่นที่ดูทรงดีกว่า

6. จดๆ จ้องๆ ไม่กล้าซื้อเพียบ

ปีนี้อ่านหุ้นเยอะมาก งบออกก็สแกนดูทุกตัว อ่าน MD&A หมด คือ ผมไม่มีปัญหาเรื่องการหาหุ้นเท่าไหร่ แต่ปัญหา คือ การคร่อมจังหวะ บางตัวไม่กล้าซื้อ ต่อราคา สุดท้ายตกรถ บางตัวรีบร้อนซื้อเลย สุดท้ายหุ้นตก ต้องมานั่งแก้ไข และก็อีกหลายตัวที่ไม่ได้ซื้อ แล้วหุ้นก็วิ่งไปต่อหน้าต่อตา ตรงนี้คือจุดที่ต้องแก้ไข

เขียนไปเขียนมาเริ่มยาวครับ เดี๋ยวไว้มาต่อตอนหน้า เรื่องข้อคิดที่ได้ และแนวทางแก้ไขในปีหน้าว่าจะเริ่มต้นยังไงให้ดีขึ้น

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกทาง Stock Vitamins - วิตามินหุ้น

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย