ปลดล็อคข้อมูลพรีเมียม: ส่วนลดสูงสุดถึง 50% InvestingProรับส่วนลด

กนง. “คง” ดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 30/03/2565 16:26

Bank of Thailand Benchmark Interest Rate

Actual: 0.50% Previous: 0.50%

KTBGM: 0.50% Consensus: 0.50%

  • กนง. มีมติเอกฉันท์ ให้ “คง” ดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% ตามคาด เพื่อประคองให้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้ว่าเงินเฟ้อจะเร่งสูงขึ้น แต่ กนง. ยังมองว่ามาจากปัจจัยด้านอุปทานเป็นหลัก ในขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อจากด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำ กนง. จึงมองว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายยังมีความจำเป็นเพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลัง

  • เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดย กนง. มองว่า เศรษฐกิจอาจโตราว 3.2% ในปีนี้ และ 4.4% ในปีหน้า ลดลงไม่มากจากประมาณการครั้งก่อนจากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ขณะที่ เงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 4.9% และ 1.7% ในปีนี้และปีหน้า จากราคาสินค้าพลังงานและราคาอาหารเป็นหลัก โดย กนง. มองว่ายังไม่เห็นสัญญาณการเร่งตัวขึ้นราคาสินค้าและบริการเป็นวงกว้าง อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ทำให้ เรายังคงมั่นใจว่า กนง. จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% จนกว่าเศรษฐกิจจะกลับมาสู่ระดับก่อนวิกฤติ COVID-19

  • การประชุมครั้งถัดไป: 8 มิถุนายน 2565

กนง. มีมติเอกฉันท์ ให้ “คง” ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% โดยอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นยังมาจากปัจจัยด้านอุปทานเป็นหลัก ขณะเดียวกัน ยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่อง

  • กนง. มองว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ทว่าผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน อาจทำให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจได้รับผลกระทบบ้าง ทำให้ กนง. ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลง โดยมองว่าเศรษฐกิจอาจโตได้ +3.2% ในปีนี้ จากที่เคยมองไว้ +3.4% นอกจากนี้ ในการประชุมครั้งนี้ กนง. ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มสูงกว่าที่เคยประเมินไว้และสูงกว่ากรอบเป้าหมาย จากการปรับตัวขึ้นของราคาพลังงานและราคาอาหาร ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 4.9% ก่อนที่จะทยอยปรับตัวลดลงกลับสู่กรอบเป้าหมายในช่วงต้นปี 2023 ซึ่ง กนง. ยังมองว่าอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นนั้นมาจากปัจจัยด้านอุปทานเป็นหลัก จึงยังมองว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายควบคู่ไปกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลังจะช่วยหนุนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ ทำให้ กนง. จึงยังคงเห็นควรให้คงดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้

  • แม้ กนง. ยังคงมองว่าปัจจัยที่ผลักดันเงินเฟ้อให้พุ่งสูงขึ้นนั้นยังมาจากปัจจัยด้านอุปทานเป็นหลัก แต่อัตราเงินเฟ้อก็ยังมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่อาจสูงกว่าคาด รวมถึงการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการที่สูงกว่าคาด อนึ่ง อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานปลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ซึ่ง กนง. จะติดตามเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่า อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังสอดคล้องกับเป้าหมาย

  • อย่างไรก็ดี กนง. ยังให้น้ำหนักการสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ทั้งนี้ กนง. จะติดตาม 1. ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวเศรษฐกิจ 2. ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ 3. การส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น และ 4. แนวโน้มและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลาง

กนง. ยังให้ความสำคัญการฟื้นตัวเศรษฐกิจมากกว่าความกังวลเงินเฟ้อ ทำให้เรายังมั่นใจว่า ดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ 0.50% ไปจนถึงไตรมาสที่ 2 2023 ที่อาจจะเริ่มเห็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกได้

  • แม้ว่า กนง. จะมีการปรับประมาณการเงินเฟ้อสูงขึ้นจากเดิมมาก แต่ กนง. ยังมองว่า แรงกดดันเงินเฟ้อเป็นปัจจัยด้านอุปทาน ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนมากนักและยังอยู่ในกรอบ 1.0%-3.0% ทำให้ กนง. ยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อเหมือนกับธนาคารกลางอื่นๆ ซึ่งเรามองว่า กนง. อาจให้น้ำหนักกับการฟื้นตัวเศรษฐกิจเป็นสำคัญ จนกว่าจะเห็นภาพว่า อัตราเงินเฟ้อเริ่มมาจากสินค้าหลายกลุ่มมากขึ้น หรือ เงินเฟ้อคาดการณ์ระยะปานกลางพุ่งสูงขึ้น ทำให้เรายังคงมั่นใจว่า กนง. จะคง อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ระดับ 0.50% จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ดีกว่าระดับก่อน COVID-19 ซึ่งอาจเป็นช่วงกลางปี 2023 ดังนั้น บนสมมติฐานที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของ กนง. และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ดีในปี 2023 เรายังคงคาดว่า กนง. อาจตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ 1 ครั้ง สู่ระดับ 0.75% ในช่วงกลางปี 2023

  • ทั้งนี้ เรามองว่า สิ่งที่น่าสนใจ คือ หาก กนง. เริ่มทยอยขึ้นดอกเบี้ยได้ จุดสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Terminal Rate) จะอยู่ที่เท่าไหร่? ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2000 เราพบว่า Terminal Rate ของไทย อาจอยู่สูงกว่า ค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อทั่วไปในระยะเวลา 2 ปี ไม่น้อยกว่า 0.50% ซึ่ง หากเราประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อในอนาคตโดยเฉลี่ยแล้วอาจอยู่ในระดับ 1.0%-1.5% ก็อาจจะพอมองได้ว่า Terminal Rate ของไทย อาจอยู่ในช่วง 1.50%-2.00% ดังนั้น หากพิจารณาบอนด์ยีลด์ของไทย ณ ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า บอนด์ยีลด์ระยะยาว อาทิ บอนด์ยีลด์ 10ปี ได้ปรับตัวขึ้นไปมากพอสมควร ซึ่งหาก Terminal Rate ไม่เกิน 2.00% ก็จะทำให้ บอนด์ยีลด์ 10ปี หากปรับตัวแตะระดับ 2.60% มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นและอาจเปิดโอกาสในการลงทุนได้

 

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย