รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

บทวิเคราะห์ผลการประชุมเฟด: เดิมพันกับอัตราเงินเฟ้อไว้สูงและเสี่ยงเกินไป

เผยแพร่ 30/07/2564 16:57
อัพเดท 20/09/2566 17:34

เชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่คงทราบแล้วว่าผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมาได้ข้อสรุปคงนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ดังเดิม เฟดให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจอเมริกากำลังอยู่ในช่วงปรับตัวเพื่อพาตัวเองเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ทางธนาคารกลางตั้งเป้าเอาไว้ แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะกล่าวยืนยันออกมาเช่นนั้น แต่ส่วนตัวเรากลับเชื่อว่าเมื่อเวลามาถึง เฟดจะตัดสินใจเปลี่ยนนโยบายการเงินแบบเซอร์ไพรส์ตลาดชนิดที่นักวิเคราะห์หรือสำนักข่าวใดๆ จะจินตนาการถึงได้

เป็นที่ทราบกันดีจากถ้อยแถลงของธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าสิ่งที่รั้งเฟดให้คงนโยบายการเงินเอาไว้ดังเดิมคืออัตราการจ้างงาน ถึงแม้ว่าข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจทั้งหลายจะระบุตรงกันว่าอัตราเงินเฟ้อนั้นได้วิ่งขึ้นเกินกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ แล้ว และนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดก็ได้ยอมรับว่าเงินเฟ้อตอนนี้เกินเป้า 2% ของพวกเขาไปแล้วจริงๆ แต่เฟดก็บอกว่าเงินเฟ้อยังจำเป็นอยู่ต่อการเติบโตของตลาดแรงงาน นอกจากนี้เฟดยังเชื่อว่าภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในตอนนี้เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว และจะลดลงภายในช่วงครึ่งปีหลัง พวกเขาเชื่อมั่นถึงขนาดยอมทิ้งเงินเฟ้อเอาไว้เช่นนี้และรอดูการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน10-2 Year Treasury Spreadแม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเชื่อมั่นแบบนั้น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่คิดแบบเดียวกับเฟด ตั้งแต่การประชุมของเฟดในเดือนมิถุนายน ความกังวลที่มีต่อภาวะเงินเฟ้อได้สะท้อนออกมาในตลาดพันธบัตร และความกังวลนั้นก็ยังตอกย้ำอีกครั้งหลังจากการประชุมในรอบเดือนกรกฎาคมสิ้นสุดลง ด้วยภาพที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นสามารถปรับตัวขึ้นเหนือกว่าเส้นกราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ซึ่งทุกคนทราบดีว่ากราฟผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวเปรียบเสมือนเส้นวัดความมั่นคงทางการเติบโตของเศรษฐกิจ การที่สัญญาณเช่นนี้เกิดขึ้น หมายความว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังชะลอตัว

ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือการที่กราฟผลตอบแทนระยะสั้นสามารถขึ้นมาวิ่งเหนือกราฟฯ ระยะยาวได้ ยังหมายความว่าตลาดลงทุนมั่นใจว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะต้องเปลี่ยนนโยบายการเงินแบบกระทันหัน จากผ่อนคลายมาเป็นรัดกุม แม้ว่าจะต้องแลกมาด้วยการปล่อยให้อัตราเงินเฟ้อลอยตัวต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งจะกลายเป็นการซ้ำแผนกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกระลอก10-Year Breakeven Inflation Rateถึงแม้ว่าในตอนนี้จะยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดเฟดจะเริ่มส่งสัญญาณดึงสภาพคล่องออกจากระบบเมื่อไหร่ (เพราะเฟดไม่เคยพูดเรื่องเป้าหมายออกมาเป็นตัวเลขอย่างเป็นจริงเป็นจัง) ดังนั้นนักวิเคราะห์หลายสำนักจึงคาดการณ์คล้ายๆ กันว่าให้จับตาดูตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานในช่วงไตรมาสที่ 3 เอาไว้ให้ดี โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) และตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกที่ประกาศออกมาเป็นประจำทุกสัปดาห์ หากตัวเลขการจ้างงานในช่วงสามเดือนนี้เพิ่มขึ้น ประกอบกับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ ลดลง เราอาจจะได้เห็นเฟดวางกรอบเป้าหมายที่จะลดสภาพคล่องชัดเจนขึ้นภายในเดือนกันยายนหรือตุลาคมนี้

นอกจากนี้โปรแกรมเงินเยียวยาสำหรับคนว่างงานในหลายๆ รัฐกำลังจะหมดอายุลงภายในสิ้นเดือนนี้ และในบางรัฐจะหมดลงภายในเดือนกันยายน เมื่อแคมเปญนี้จบลง เชื่อว่าตัวเลขการจ้างงานในไตรมาสที่ 3 มีโอกาสจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะชาวอเมริกันจะเริ่มกลับไปทำงานกันมากขึ้น หากเฟดเห็นว่าตัวเลขการจ้างงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคมมาจนถึงกันยายนเพิ่มขึ้นอย่างที่พวกเขาต้องการ เราอาจจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินที่รัดกุมขึ้นภายในเดือนกันยายนหรือตุลาคม

เชื่อว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นในรูปแบบของเงินเฟ้อคือสิ่งที่เฟดตั้งใจยอมรับความเสี่ยงนี้เอาไว้แล้ว มิเช่นนั้นเราคงจะไม่ได้เห็นภาพที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สะท้อนจากนักลงทุนว่ามองอัตราเงินเฟ้อในอนาคตอายุ 10 ปี (10-year breakeven inflation expectations) วิ่งอยู่ที่ 2.4% ซึ่งอยู่สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ของเฟด ในขณะเดียวกันตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อฯ 5 ปีก็ได้วิ่งอยู่ที่ 2.6% สูงกว่าตัวเลขเป้าหมายของเฟดเช่นกัน

หากสิ่งที่นักลงทุนในตลาดพันธบัตรเชื่อเป็นความจริง หมายความว่าเศรษฐกิจของอเมริกาในอนาคตจะชะลอตัว และอาจจะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์หลายคนคาดการณ์ไว้ ตราบใดที่เฟดยังดื้อไม่ยอมดึงสภาพคล่องออกจากตลาด หากธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัดสินใจลดสภาพคล่องเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งลดความสูญเสียนี้ได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย