ข่าวเด่น
เสนอซื้อเสนอขาย
ประเภทตราสารทั้งหมด

โปรดลองค้นหาใหม่อีกครั้ง

รับส่วนลด 50% 0
ลด 50%! ชนะตลาดในปี 2025 ด้วย InvestingPro
รับส่วนลด

การวางคำสั่งที่เหมาะสมที่สุด

 

“คุณรู้จักเศรษฐีกี่คนที่ร่ำรวยมาได้จากการลงทุนในบัญชีออมทรัพย์ ผมมีคำพูดแค่นี้แหละ"
- โรเบิร์ต จี อัลเลน

การมองหาโอกาสในตลาดการเงินนั้นขึ้นอยู่กับการอยู่ในที่ที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม แต่แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่พร้อมกันในทุกที่ การตรวจติดตามสินทรัพย์ทุกรายการเมื่อราคามีความผันผวนตลอดทั้งวันก็ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้จริง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องพลาดโอกาส ในทางกลับกัน การวางกลยุทธ์อย่างรอบคอบว่าอย่างไรและที่ไหนที่คุณจะวางคำสั่งจะสามารถปลดล็อกศักยภาพของตลาดได้โดยไม่ต้องคอยเป็นห่วงอยู่ตลอดเวลา

คำสั่งประเภทต่าง ๆ มีอะไรบ้าง

แม้ว่านักลงทุนมือใหม่ส่วนใหญ่เชื่อว่าการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินนั้นง่ายเหมือนการเลือกสินทรัพย์และการเลือกซื้อหรือขาย แต่ก็มีงานและการป้องกันที่ควรจะต้องดำเนินการอีกเล็กน้อย เริ่มจากการทำความเข้าใจคำสั่งประเภทต่าง ๆ และแต่ละประเภทนั้นจะสามารถมีบทบาทที่เป็นประโยชน์ในกลยุทธ์ของคุณได้อย่างไร คำสั่งหลัก ๆ ที่นักลงทุนควรทำความคุ้นเคยมีอยู่ 3 ประเภท

  • Market Order: Market Order คือคำสั่งที่วางโดยเทรดเดอร์ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ดำเนินการทันทีที่ราคาตลาดปัจจุบันหรือราคาที่ดีที่สุดที่แพลตฟอร์มซื้อขายแสดง
  • Limit Order ถือเป็นคำสั่งแบบมีเงื่อนไขที่อิงตามราคาของสินทรัพย์ที่ต้องถึงระดับหนึ่งก่อน คำสั่งจึงจะถูกเรียกใช้และดำเนินการในที่สุด คำสั่งนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นคำสั่ง “Buy Limit” และ “Sell Limit” คำสั่ง Buy Limit คือคำสั่งให้ซื้อสินทรัพย์ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน เมื่อถึงระดับราคานั้น คำสั่งซื้อจะถูกประมวลผลและเปิดการซื้อขายไปพร้อมกัน คำสั่ง Sell Limit คือคำสั่งให้ขายสินทรัพย์ในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน เมื่อถึงราคาที่สูงกว่านั้น คำสั่งจะไปเปิดสถานะขาย
  • Stop Order: เช่นเดียวกับ Limit Order ที่จะเปิดเมื่อราคาของสินทรัพย์ตรงตามเงื่อนไขบางอย่างที่กำหนดโดยคำสั่งนั้น Stop Order ก็จะถูกเปิดเฉพาะเมื่อราคาของสินทรัพย์ถึงระดับหนึ่ง ในกรณีของคำสั่ง Buy Stop คำสั่งให้ซื้อสินทรัพย์จะถูกวางไว้สูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน เมื่อราคาของสินทรัพย์เพิ่มขึ้นและเรียกใช้คำสั่ง Buy Stop ก็จะมีการเปิดสถานะซื้อ ในทางกลับกัน จะมีการเปิดคำสั่ง Sell Stop ในราคาต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน เมื่อราคาของสินทรัพย์ตกลงไปที่ระดับนั้น จะมีการดำเนินการตามคำสั่งและเปิดสถานะขายในระดับที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

คำสั่ง Limit Order และ Stop Order ยังเป็นพื้นฐานให้กับคำสั่งประเภทที่ขั้นสูงกว่าที่จะถูกนำไปใช้เพื่อบริหารความเสี่ยงและผลตอบแทน เหล่านี้รวมถึงคำสั่ง Take-profit (ประเภทของคำสั่ง Limit Order) ซึ่งจะปิดการเทรดที่เปิดอยู่ที่กำไรหนึ่ง ๆ โดยอัตโนมัติเมื่อถึงระดับหนึ่ง และ Stop-loss (ประเภทของ Stop Order) ซึ่งจะปิดการเทรดที่แพ้ ณ จุดที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

นอกจากนี้ยังมี Trailing Stop ซึ่งเป็นคำสั่ง Stop Order อีกประเภทหนึ่งที่จะเลื่อนไปตามราคาตลาด หากมีการตั้งค่า Trailing Stop ให้ปิดการเทรดซื้อ มันจะเลื่อนตามหลังราคาตลาดไปเมื่อราคาของสินทรัพย์สูงขึ้น และจะเรียกใช้คำสั่ง หากราคาของสินทรัพย์กลับตัว Trailing Stop สามารถปิดการเทรดได้ไม่ว่าจะขาดทุนหรือกำไรขึ้นอยู่กับการตั้งค่า

ประเภทคำสั่งทั้งหมดข้างต้นมีให้บริการในบัญชี FXTM ECN Zero ซึ่งไม่มีค่าคอมมิชชั่นสำหรับการเทรด แม้ว่าจะต้องเพิ่มระดับ Stop-loss และ Take-profit หลังจากที่ดำเนินการตามคำสั่งเทรดแล้ว แต่ยังมีคุณสมบัติที่มีประโยชน์อื่น ๆ เช่นความสามารถในการกำหนด Time Limit ว่าจะให้คำสั่งที่ไม่ได้ดำเนินการเสียทีนั้นหมดอายุลงเมื่อใด แทนที่จะเปิดอยู่อย่างถาวร

ทำไมต้องใช้ประเภทคำสั่งที่แตกต่างกัน

คำสั่ง Limit Order และ Stop Order มีประโยชน์อย่างยิ่ง และอาจยิ่งมีค่ามากกว่า Market Order เพียงเพราะให้นักลงทุนสามารถกำหนดเวลาและตำแหน่งที่พวกเขาวางแผนที่จะเข้าร่วมในการเทรดได้ ยิ่งไปกว่านั้น พวกมันยังช่วยเรื่องเวลาให้นักลงทุนเทรดได้โดยไม่ต้องคอยเฝ้าดูตลาดอยู่ตลอดโดยการกำหนดจุดเข้าและออกที่ได้เปรียบมากยิ่งขึ้น

บางครั้งความตื่นเต้นในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและราคาก็เป็นเหตุผลที่ดึงดูดให้เข้าร่วมในการเทรด อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งที่การหลงอยู่กับความตื่นเต้นนี้อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่ดีและเร่งรีบในการเข้าร่วมแทนที่จะวางแผนการเทรดอย่างระมัดระวังและเตรียมพร้อมสำหรับผลลัพธ์ที่แตกต่าง

แทนการรีบไปเข้าร่วมและซื้อที่ราคาสูงสุดและขายที่ราคาต่ำสุด ซึ่งจะติดอยู่กับโมเมนตัมผิดด้าน การรอคอยอย่างอดทนด้วยการตั้งคำสั่งแบบมีเงื่อนไขที่ระดับราคาสำคัญ ๆ สามารถช่วยคุณบริหารความเสี่ยงและสร้างกลยุทธ์การเข้าและออกตลาดที่น่าดึงดูดกว่าได้

การปฏิเสธความรับผิด: ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ: บทความ/ทัศนวัสดุนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและมุมมองส่วนบุคคล ไม่ควรตีความเนื้อหาว่ามีคำแนะนำในการลงทุนประเภทใด ๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใด ๆ ไม่ได้ส่อความถึงภาระผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือทำนายผลการดำเนินงานในอนาคต FXTM บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการบริษัท เจ้าหน้าที่ หรือพนักงานไม่รับประกันความถูกต้อง ความแม่นยำ ความทันเวลา หรือความสมบูรณ์ของข่าวสารหรือข้อมูลใด ๆ ที่มีให้และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการลงทุนบนพื้นฐานเดียวกันนั้น

FXTM เป็นโบรกเกอร์ซื้อขายฟอเร็กซ์ออนไลน์ระหว่างประเทศที่ให้บริการทางการเงินในตลาดฟอเร็กซ์ CFD ของโลหะแบบซื้อขายทันทีและ CFD ของสินค้าโภคภัณฑ์แบบซื้อขายล่วงหน้า ดัชนี และหุ้น

แบรนด์ FXTM ได้รับอนุญาตและกำกับดูแลภายใต้หลายเขตอำนาจศาล ForexTime Limited (www.forextime.com/eu) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ไซปรัส หมายเลขใบอนุญาต CIF 185/12 และได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงิน (FSCA) ของแอฟริกาใต้ หมายเลข FSP 46614 นอกจากนี้ บริษัทยังจดทะเบียนกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของสหราชอาณาจักร หมายเลข 600475 อีกด้วย Exinity Limited (www.forextime.com) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริการด้านการเงินของสาธารณรัฐมอริเชียส โดยถือใบอนุญาตตัวแทนจำหน่ายการลงทุนหมายเลข C1130122 Forextime UK Limited (www.forextime.com/uk) ได้รับอนุญาตและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงิน หมายเลขอ้างอิงของบริษัท 777911

CFD เป็นตราสารที่ซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงในการสูญเสียเงินอย่างรวดเร็วเนื่องจากเลเวอเรจ 90% ของบัญชีของนักลงทุนรายย่อยสูญเสียเงินเมื่อทำการซื้อขาย CFD กับผู้ให้บริการรายนี้ คุณควรคิดพิจารณาให้ดีว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD แล้วและคุณสามารถรับความเสี่ยงสูงในการสูญเสียเงินของคุณได้หรือไม่”

@2019 FXTM

ลงชื่อเข้าใช้ด้วย Apple
สมัครสมาชิกด้วย Google
หรือ
สมัครสมาชิกด้วยอีเมล