🧮 ยังเลือกซื้อหุ้นแบบเก่า ๆ อยู่อีกหรือ? ถึงเวลาลองของใหม่ เลือกหุ้นด้วยเทคโนโลยี AI ดีกว่ารับส่วนลด 50%

เงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมเร่งขึ้นสู่ระดับ 1.54%

เผยแพร่ 07/06/2567 16:22

ตามการปรับตัวขึ้นของราคาพลังงานและราคาสินค้าเกษตร ท่ามกลางสภาพอากาศร้อน

  • Headline Inflation May 2024

Actual: 1.54%       Previous: 0.19% 

KTBGM: 1.50%     Consensus: 1.19%

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคมเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 1.54% ตามการปรับตัวขึ้นของราคาพลังงาน เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง และการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าเกษตรหลายรายการ จากสภาพอากาศร้อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นสู่ระดับ 0.39% 
  • สำหรับเดือนมิถุนายน 2024 กระทรวงพาณิชย์มองว่า อัตราเงินเฟ้ออาจเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลง ตามผลกระทบจากฐานราคาต่ำของค่ากระแสไฟฟ้าที่ลดลง การต่ออายุมาตรการลดภาระค่าไฟฟ้าครัวเรือนอีก 4 เดือน ราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะผักสดอาจลดลง หลังเริ่มเข้าฤดูฝน การขยายตัวในระดับต่ำของเศรษฐกิจอาจทำให้ผู้ประกอบการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาขายได้จำกัดและการทำโปรโมชั่นราคาสินค้าต่างๆ ก็อาจกดดันราคาสินค้าและบริการบางอย่างได้ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ คงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ ในกรอบ 0.0% ถึง 1.0% (ค่ากลาง 0.5%)
  • แนวโน้มการทยอยปรับตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ทำให้เราคงมองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% ตราบใดที่ภาพเศรษฐกิจและทิศทางอัตราเงินเฟ้อ ไม่ได้เปลี่ยนไปจากคาดการณ์ล่าสุดของ กนง. อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ เรามองว่า ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองในประเทศ รวมถึงความกังวลต่อแนวโน้มปริมาณการออกบอนด์ของรัฐบาล อาจกดดันให้บอนด์ยีลด์ไทยโดยเฉพาะระยะกลาง-ยาว อาจปรับตัวขึ้นต่อได้บ้าง และทำให้การถือ Inflation-Linked Bond (ILB) ที่เราได้แนะนำไปในเดือนกุมภาพันธ์ ก็อาจทำผลตอบแทนได้ดีกว่าการถือบอนด์อายุใกล้เคียงกัน

กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ        1.54% สูงขึ้นจากระดับ 0.19% ในเดือนเมษายน เป็นผลจากการปรับตัวขึ้นของราคาพลังงาน ทั้งค่ากระแสไฟฟ้า ราคาน้ำมัน รวมถึงราคาไข่ไก่และสินค้าเกษตรหลายรายการ

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนล่าสุด เพิ่มขึ้น 0.63% จากเดือนก่อนหน้า (เรามอง +0.60%) ตามการปรับตัวขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้นกว่า +1.37% ที่ได้แรงหนุนหลักจากการปรับตัวขึ้นของราคาผักสดและผลไม้กว่า +8.2% ท่ามกลางผลกระทบจากสภาพอากาศร้อน ส่วนราคาในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม +0.09% ตามการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล ขณะที่ ราคาสินค้าสำคัญบางอย่างปรับตัวลดลง เช่น ค่าโดยสารเครื่องบิน และผลิตภัณฑ์ซักผ้า เป็นต้น
  • เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เงินเฟ้อทั่วไปเร่งขึ้นสู่ระดับ 1.54% จาก 0.19% ในเดือนก่อนหน้า ตามการปรับตัวขึ้นของราคาพลังงาน ทั้งค่ากระแสไฟฟ้า และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงราคาสินค้าเกษตรหลายรายการ เช่น ผักสด ผลไม้สด และไข่ไก่ ที่ผลผลิตสู่ตลาดลดลงจากสภาพอากาศร้อน อย่างไรก็ดี เมื่อหักราคาอาหารสดรวมถึงพลังงานออก อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) สูงขึ้นเล็กน้อยสู่ระดับ 0.39%
  • กระทรวงพาณิชย์ ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ ในกรอบ 0.0% ถึง 1.0% (ค่ากลาง 0.5%) ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และอาจมีการปรับเปลี่ยนคาดการณ์ได้ หากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มทยอยปรับตัวสูงขึ้น เข้าสู่กรอบเป้าหมายของ กนง. ทำให้ เราคงมุมมอง กนง. คงดอกเบี้ยนโยบายตลอดทั้งปีนี้ พร้อมย้ำ Long Inflation-Linked Bond อาจทำผลงานได้ดีกว่าบอนด์ที่อายุใกล้เคียงกัน 

  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทยอยปรับตัวสูงขึ้นและมีแนวโน้มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 1%-3% ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยเราประเมนว่า หากในช่วงที่เหลือของปีนี้ เศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวต่อเนื่องได้ ทำให้โมเมนตัมรายเดือนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย +0.2%m/m ก็จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปก็จะอยู่ในกรอบเป้าหมายของ กนง. ได้ไม่ยาก และโดยเฉลี่ยทั้งปีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ระดับ 1.0% 
  • จากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อและพัฒนาการของเศรษฐกิจที่ยังเป็นไปตามคาด ทำให้เรายังคงประเมินว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ในปีนี้ แต่หากการเบิกจ่ายและการลงทุนของภาครัฐออกมาแย่กว่าคาดไปมากในไตรมาสที่ 2 และมีแนวโน้มที่ปัญหาการเมืองในประเทศอาจส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมถึงการจัดทำงบประมาณในปีหน้า พร้อมกับ การชะลอลงชัดเจนของเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจ อย่าง การบริโภคภาคเอกชนและการส่งออก ที่อาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงภายนอกเพิ่มเติม เช่น เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญอาจชะลอตัวลงหนักกว่าคาด ก็อาจทำให้ กนง. จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายราว 1-2 ครั้งในปีนี้ 
  • ทั้งนี้ เรายังคงมองว่า Inflation-Linked Bond (ILB) นั้นมีความน่าสนใจในการทยอยเข้าลงทุนเป็นอย่างมาก (เราได้นำเสนอ Trade Idea นี้มาตั้งแต่ต้นปี และเริ่ม Initiate Long position เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์) หลังอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มทยอยปรับตัวสูงขึ้น ตามที่เราประเมินไว้ ซึ่งจะช่วยให้ ILB มีโอกาสกลับมาทำผลงานได้ดีกว่า (Outperform) บอนด์ที่อายุเท่ากันได้ในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า แม้ว่าบอนด์ยีลด์ไทยอาจมีการปรับตัวขึ้นได้บ้าง ตามความวุ่นวายของการเมืองในประเทศที่อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติเลือกที่จะลดสถานะถือครองบอนด์ไทยได้ รวมถึงความกังวลต่อแนวโน้มปริมาณการออกบอนด์ของรัฐบาลเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่สูงขึ้นและการใช้ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในอนาคต โดยเฉพาะ โครงการ Digital Wallet (ซึ่งเราคงมองว่าโครงการ DW อาจมีความไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นได้จริง ภายในปีนี้) อนึ่ง ผู้เล่นในตลาดต่างต้องการถือ ILB มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ Trade Idea นี้อาจไม่สามารถทำตามได้ง่ายนัก ทว่า ผู้เล่นในตลาดก็สามารถทยอยเข้าซื้อกองทุน KT-ILF (Krungthai Inflation Linked Fund) เพื่อเป็น proxy ในการดำเนินกลยุทธ์การลงทุนตาม Trade Idea นี้ได้เช่นกัน  

 

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย