🚀 ProPicks AI ให้ผลตอบแทนถึง 34.9%อ่านเพิ่มเติม

ลุ้นรายงานเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ และจับตาถ้อยแถลงประธานเฟด

เผยแพร่ 09/01/2566 09:15
อัพเดท 09/07/2566 17:32
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หลังการเติบโตของค่าจ้างในสหรัฐฯ ชะลอลงมากกว่าคาด ทำให้ตลาดมั่นใจแนวโน้มเงินเฟ้อชะลอตัวต่อเนื่อง หนุนโอกาสเฟดชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ย
  • ทิศทางนโยบายการเงินเฟด ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อตลาด โดยต้องติดตาม รายงานเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ และ ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะประธานเฟด Jerome Powell

  • ระวังถ้อยแถลงประธานเฟดและบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ก่อนตลาดรับรู้รายงานเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ โดยเราคาดว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดอาจย้ำจุดยืนเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมปัญหาเงินเฟ้อ กดดันให้ตลาดอาจระมัดระวังตัวมากขึ้นและเงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้นได้บ้าง ทั้งนี้ หากอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ชะลอลงชัดเจน ตลาดก็พร้อมเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น กดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อได้ แต่ระหว่างสัปดาห์ ก็อาจเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่า หากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น พร้อมกับการย่อตัวของราคาทองคำ แต่เราคงมองว่า เงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมาก เนื่องจากผู้ส่งออกบางส่วนต่างก็รอทยอยขายเงินดอลลาร์ ส่วนผู้เล่นต่างชาติก็รอจังหวะเพิ่มสถานะ Short USDTHB ตามความคาดหวังการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    33.50-34.20
    บาท/ดอลลาร์

  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – ทิศทางนโยบายการเงินเฟดยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อตลาดการเงินสหรัฐฯ ทำให้ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ โดยเฉพาะ รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนธันวาคม โดยตลาดประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อาจชะลอลงสู่ระดับ 6.5% จากระดับ 7.1% ในเดือนก่อนหน้า ตามการปรับตัวลดลงของราคาพลังงาน, ปัญหา Supply Chain ที่คลี่คลายลง รวมถึงการปรับตัวลดลงต่อเนื่องของราคาสินค้าและบริการหลายรายการตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมผลของราคาอาหารและพลังงาน ก็จะชะลอลงสู่ระดับ 5.7% จากระดับ 6.0% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งภาพดังกล่าวอาจทำให้ผู้เล่นในตลาดมีความสบายใจมากขึ้นว่า เงินเฟ้อสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลง จนอาจทำให้เฟดพิจารณาชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต เหลือ +0.25% (ลดลงจาก +0.50% ในการประชุมเดือนธันวาคม) อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของเฟด ผ่านถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะ ประธานเฟด Jerome Powell ซึ่งเรามองว่า หากในช่วงนี้ ตลาดการเงินเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) จากความหวังว่าเฟดจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดก็อาจพยายามปรับลดความคาดหวังดังกล่าวของผู้เล่นในตลาด ด้วยการส่งสัญญาณเน้นย้ำจุดยืนว่า เฟดจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องและอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงจนกว่าเฟดจะคุมปัญหาเงินเฟ้อได้สำเร็จ

    • ฝั่งยุโรป – รายงานข้อมูลเศรษฐกิจยุโรปในช่วงที่ผ่านมาส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาด อีกทั้งแนวโน้มเงินเฟ้อ CPI ก็ชะลอลงชัดเจนมากขึ้น ทำให้บรรดานักลงทุนสถาบันและนักวิเคราะห์อาจมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและตลาดการเงินยุโรป สะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนโดย Sentix (Investor Confidence) เดือนมกราคม ที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ -18 จุด

    • ฝั่งเอเชีย – การค้าระหว่างประเทศของจีนในเดือนธันวาคม อาจยังคงซบเซาต่อเนื่อง กดดันโดยผลกระทบของการระบาด COVID-19 ในจีน โดยตลาดประเมินว่า ยอดการส่งออก (Exports) ของจีนในเดือนธันวาคม อาจหดตัวกว่า -12%y/y ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและปัญหาในภาคการผลิตท่ามกลางสถานการณ์การระบาด COVID-19 ส่วนยอดการนำเข้า (Imports) ก็อาจหดตัวราว -10%y/y อย่างไรก็ดี แม้ว่ารายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีนจะยังไม่สดใส แต่ผู้เล่นในตลาดอาจมองข้ามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว จากความหวังว่า การทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและการเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการจีนอาจทำให้เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งภาพดังกล่าวได้สะท้อนผ่านการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของตลาดหุ้นจีนและตลาดหุ้นฮ่องกง รวมถึงการแข็งค่าของเงินหยวน (CNY) ในส่วนนโยบายการเงิน ตลาดคาดว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) อาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย +0.25% สู่ระดับ 3.50% หลังเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงราว 5.0% เมื่อเทียบกับเป้าหมายที่ 2.0%

    • ฝั่งไทย – เราประเมินว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนธันวาคมมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 49.5 จุด ท่ามกลางความหวังการฟื้นตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจ หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยมากขึ้นต่อเนื่องและล่าสุดก็มีความหวังการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนที่เร็วขึ้นกว่าคาด ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด COVID-19 ของทางการจีน

    Weekahead carlendar

    US wage growth


    CME FedWatch Tool

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย