🚀 ProPicks AI ให้ผลตอบแทนถึง 34.9%อ่านเพิ่มเติม

เฟดเดินหน้า“ขึ้น” ดอกเบี้ย 0.75% ตามคาด และส่งสัญญาณอาจชะลอประชุมครั้งต่อไป

เผยแพร่ 03/11/2565 11:34
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Fed Funds Target Range

Actual: 3.75-4.00% Previous: 3.00-3.25%

KTBGM: 3.75-4.00% Consensus: 3.75-4.00%

  • คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีมติให้ “ปรับขึ้น” อัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.75-4.00% ตามคาด และย้ำความจำเป็นของการปรับขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมาย 2% นอกจากนี้ เฟดยังได้ส่งสัญญาณอาจพิจารณาชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดๆ ไป ตามความเหมาะสม
  • แม้ว่า แถลงการณ์ผลการประชุมเฟดจะชี้ว่าเฟดมีโอกาสปรับลดอัตราการขึ้นดอกเบี้ยลงเหลือ +0.50% ในการประชุมครั้งถัดๆ ไป แต่ประธานเฟดยังเน้นย้ำว่า เฟดจะยังคงเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องและยังเร็วเกินไปที่จะคาดหวังว่าเฟดจะหยุดขึ้นดอกเบี้ย ทั้งนี้ ประธานเฟดประเมินว่า โอกาสที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง (Recession) จากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมปัญหาเงินเฟ้อนั้น เริ่มลดน้อยลง
  • เราประเมินว่า หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ สะท้อนภาพการชะลอตัวลงของตลาดแรงงานมากขึ้นและอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงคาดการณ์เงินเฟ้อชะลอตัวลงชัดเจน ก็อาจทำให้เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย +0.50% ได้ในการประชุมเดือนธันวาคม แต่ยังคงมองว่า เฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องจนแตะระดับ 5.00% (Terminal Rate) ในต้นปี 2023 และคงไว้ที่ระดับดังกล่าว ก่อนที่จะทยอยปรับลดลงสู่ระดับ 3.00% ในช่วงครึ่งหลังปีหน้า หากสหรัฐฯ เผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  • Next FOMC Decision: Dec 15 2022 (2 AM BKK)

คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีมติให้ “ปรับขึ้น” อัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.75-4.00%

  • FOMC มองกิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวในระดับปานกลาง ส่วนภาวะตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง อย่างไรก็ดีเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง โดยความเสี่ยงเงินเฟ้อยังคงเป็นสิ่งที่เฟดให้ความสำคัญอย่างมาก ดังนั้น เฟดจึงมีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% พร้อมกับเดินหน้าลดงบดุล เพื่อให้เฟดสามารถบรรลุเป้าหมาย ทั้งในด้านการจ้างงานและเงินเฟ้อ โดยเฟดมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับเป้าหมายที่ 2%

  • สำหรับการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคตนั้น เฟดจะคำนึงถึง การขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา, ความล่าช้าของการส่งผ่านนโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ รวมถึงสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดการเงิน ซึ่งเฟดมีการกล่าวถึงประเด็นนี้เป็นครั้งแรกในการประชุม FOMC สะท้อนว่าเฟดอาจพิจารณาชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยได้ในการประชุมครั้งถัดๆ ไป

  • ในส่วนถ้อยแถลงของประธานเฟดช่วง Press Conference นั้น ประธานเฟด เน้นย้ำว่า เฟดยังมีความจำเป็นที่จะต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะสามารถบรรลุภารกิจคุมเงินเฟ้อได้สำเร็จ และยังเร็วเกินไปที่จะคาดหวังว่า เฟดจะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยในระยะสั้น พร้อมกันนี้ ประธานเฟดมองว่า ยังมีโอกาสที่เศรษฐกิจจะไม่ชะลอตัวรุนแรง หรือ Soft Landing ได้ ในช่วงที่เฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อ แต่ทว่า โอกาสเกิดกรณีดังกล่าว “เริ่มน้อยลง” (ซึ่งมองได้ว่าโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ Recession ก็เพิ่มสูงขึ้น)

เราประเมินว่า เฟดอาจชะลอการขึ้นดอกเบี้ยได้ หากเงินเฟ้อและตลาดแรงงานสหรัฐฯ ชะลอลงชัดเจน แต่การขึ้นดอกเบี้ยเฟดจะดำเนินต่อไป จนแตะระดับ 5.00% ในต้นปีหน้า

  • ข้อความใหม่ที่ปรากฎบนแถลงการณ์ผลการประชุมเฟดล่าสุด ชี้ว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดอาจเริ่มมีการพิจารณาชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยได้ หลังจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจในช่วงหลังสะท้อนภาพการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจที่ชัดเจนมากขึ้น ส่วนในฝั่งตลาดแรงงานสหรัฐฯ แม้ว่าการจ้างงานยังคงแข็งแกร่ง แต่จะเริ่มเห็นสัญญาณการชะลอลง จากแนวโน้มการปรับแผนการจ้างงานของบรรดาบริษัทเอกชน ดังนั้น เราจึงมองว่า หากข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอตัวลงชัดเจน ซึ่งต้องเห็น ยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (JOLTS Job Openings) ที่ลดลงต่อเนื่องจากระดับ 10 ล้านตำแหน่ง, เห็นเทรนด์การเพิ่มขึ้นของยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) สูงกว่า 3-4 แสนรายต่อเนื่อง รวมถึงยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ที่ปรับตัวลดลง จนต่ำกว่า 1 แสนราย กอปรกับ หากเงินเฟ้อและเงินเฟ้อคาดการณ์ชะลอตัวลงชัดเจน อาทิ เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) เพิ่มขึ้นในอัตราลดลงจากเดือนก่อนหน้า และเงินเฟ้อคาดการณ์ทั้งระยะสั้น 1 ปี และระยะปานกลาง 5 ปี มีทิศทางลดลงชัดเจน ก็อาจทำให้ เฟดชะลอการขึ้นดอกเบี้ยได้ในการประชุมเดือนธันวาคม โดยเฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยราว +0.50% จนอัตราดอกเบี้ยนโยบายแตะระดับ 5.00% ในต้นปี 2023

  • จากสัญญาณการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึง “Inverted Yields Curve” ระหว่างบอนด์ยีลด์ 10 ปี กับ บอนด์ยีลด์ 3 เดือนของสหรัฐฯ ทำให้เราคงมุมมองเดิมว่า การเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดจะสร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และมีโอกาสทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอยในครึ่งหลังปีหน้า ทั้งนี้เราคงมุมมองเดิมว่า ภาวะถดถอยดังกล่าวไม่ได้มีความรุนแรงมากหรือจะไม่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปัจจุบันอยู่ในจุดที่ตลาดแรงงานแข็งแกร่งและตึงตัวมากเป็นพิเศษ อีกทั้งครัวเรือนสหรัฐฯ รวมถึงบริษัทเอกชนส่วนใหญ่ก็มีฐานะการเงินที่ดีกว่าช่วงก่อนวิกฤติรอบก่อนๆ อย่างไรก็ดี เราประเมินว่า หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย เฟดก็มีแนวโน้มที่จะทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้ โดยเราคาดว่า เฟดอาจเริ่มทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังปีหน้า สู่ระดับ 3.00% ซึ่งจะเป็นระดับ “Neutral Rate” ใหม่ของเฟด ภายใต้ภาวะตลาดแรงงานและ Productivity ของเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปจากช่วงที่ผ่านมา

  • มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่กลับมามองว่า เฟดจะสามารถเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้ต่อเนื่องจน Terminal Rate อาจสูงกว่า 5.00% ได้หนุนให้ บอนด์ยีลด์ระยะสั้นและบอนด์ยีลด์ระยะยาว ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเรามองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวมากขึ้นจนเข้าสู่ถาวะถดถอย จะหนุนให้พันธบัตรรัฐบาลระยะยาว (Long-End Bonds) มีความน่าสนใจมากขึ้น โดยเรามองว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ที่ระดับสูงกว่า 4.10% ก็มีความน่าสนใจมาก ซึ่งผู้เล่นในตลาดอาจเริ่มทยอยเข้ามาซื้อสะสมบอนด์ระยะยาวเพื่อเตรียมปรับพอร์ตรับมือภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ นอกจากนี้ หากพิจารณาถึงความวุ่นวายทางการเมืองสหรัฐฯ ที่จะเพิ่มสูงขึ้นหลังการเลือกตั้งกลางเทอม ซึ่งพรรครีพลับริกัน อาจกลับมาครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯ ทำให้การผ่านร่างกฎหมายหรือนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการผ่านร่างงบประมาณก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากขึ้น (และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Government Shutdown) ก็จะยิ่งทำให้ ภารถือบอนด์ระยะยาวสหรัฐฯ มีความน่าสนใจมากขึ้น

Market expections of FFTR

Market expections of Fed Terminal Rate

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย