🚀 ProPicks AI ให้ผลตอบแทนถึง 34.9%อ่านเพิ่มเติม

สรุปการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญและภาพรวมตลาดเมื่อคืนนี้

เผยแพร่ 15/09/2565 16:08
DX
-

ข้อมูลจากสมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) ของสหรัฐ ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐได้พุ่งขึ้นเหนือระดับ 6% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2551 และเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยเพื่อการจำนองแบบคงที่ระยะเวลา 30 ปีได้เพิ่มขึ้น 0.07% สู่ระดับ 6.01% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดวิกฤตการเงินและภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยเพื่อการจำนองได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 2565 โดยปรับตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ซึ่งเป็นอัตราอ้างอิงสำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

สมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) ของสหรัฐ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการจำนองลดลง 1.2% ในสัปดาห์ที่แล้ว หลังการดีดตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง

จำนวนผู้ที่ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการรีไฟแนนซ์ลดลง 4% ในสัปดาห์ที่แล้ว และดิ่งลง 83% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ส่วนจำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% ในสัปดาห์ที่แล้ว และลดลง 29% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยเพื่อการจำนองแบบคงที่ระยะเวลา 30 ปี สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 647,200 ดอลลาร์ ดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 6.01% จากระดับ 5.94% ในสัปดาห์ก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวพุ่งขึ้นเหนือระดับ 6% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2551 และเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดวิกฤตการเงินและภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยเพื่อการจำนองได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 2565 โดยปรับตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ซึ่งเป็นอัตราอ้างอิงสำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

นักลงทุนเพิ่มการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในเดือนนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สูงกว่าคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ทั้งนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวเป็นข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญตัวสุดท้าย ก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 20-21 ก.ย.

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 36% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% สู่ระดับ 3.25-3.50% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนัก 64% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%

ก่อนหน้านี้ นักลงทุนไม่เคยให้น้ำหนักว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมเดือนก.ย. และเพิ่งเริ่มให้น้ำหนัก 18% เมื่อวานนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงเกินคาด

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์จากโนมูระคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์หน้า หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเกินคาด

ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์จากโนมูระและสถาบันการเงินอื่นต่างคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมรอบนี้ ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% เป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน หลังจากปรับขึ้น 0.75% ทั้งในเดือนมิ.ย.และก.ค.

ขณะเดียวกัน โนมูระคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ทั้งในเดือนพ.ย.และธ.ค. ก่อนที่จะปรับขึ้น 0.25% ในเดือนก.พ.2566

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยลดลง 0.1% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากปรับตัวลง 0.4% ในเดือนก.ค.เมื่อ

เทียบรายปี ดัชนี PPI เพิ่มขึ้น 8.7% ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2564 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.8% จากระดับ 9.8% ในเดือนก.ค.

การชะลอตัวของดัชนี PPI มีสาเหตุจากการดิ่งลงของราคาพลังงาน

ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 0.2% เมื่อเทียบรายเดือน โดยต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.3% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนก.ค.

เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PPI พื้นฐาน ปรับตัวขึ้น 5.6% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2564 หลังจากดีดตัวขึ้น 5.8% ในเดือนก.ค.

กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือ (โอเปก) ยังคงคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกที่แข็งแกร่งในปี 2565 และ 2566 โดยอ้างถึงสัญญาณว่า เศรษฐกิจในประเทศใหญ่ ๆ ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้แม้จะเผชิญอุปสรรคต่าง ๆ ก็ตาม เช่น อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น

โอเปกระบุในรายงานประจำเดือนว่า อุปสงค์น้ำมันจะเพิ่มขึ้น 3.1 ล้านบาร์เรล/วัน ในปี 2565 และ 2.7 ล้านบาร์เรล/วันในปี 2566 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับคาดการณ์ของเดือนก่อนหน้า

รายงานระบุว่า การใช้น้ำมันปรับตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในช่วงโควิด-19 แม้ว่าราคาน้ำมันที่พุ่งสูงและการระบาดของโควิดในจีนจะปรับลดคาดการณ์สำหรับปี 2565 ก็ตาม

โอเปกเสริมว่า อุปสงค์น้ำมันในปี 2566 คาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจที่ยังคงแข็งแกร่งในประเทศผู้บริโภครายใหญ่ เช่นเดียวกับการผ่อนปรนข้อจำกัดด้านโควิด-19 และความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ลดลง

ทั้งนี้ โอเปกคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.1% ในปี 2565 และปี 2566 และรายงานได้ชี้ให้เห็นถึงสัญญาณของกิจกรรมที่เริ่มฟื้นตัว เช่น การใช้จ่ายสำหรับค้าปลีกในสหรัฐและยูโรโซน และเน้นย้ำถึงความเสี่ยงขาขึ้นที่อาจเกิดขึ้น

สำนักงานพลังงานสากล (IEA) เปิดเผยว่า การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกคาดว่าจะหยุดชะงักลงในไตรมาสสี่ของปีนี้ เพราะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่รุนแรง แต่อาจฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งอีกครั้งในปี 2566

IEA ระบุในรายงานประจำเดือนว่า อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันจากเศรษฐกิจจีนที่ซบเซา และการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของกลุ่มประเทศในองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)

รายงานระบุว่า IEA ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันในปีนี้ลง 110,000 บาร์เรล/วัน เหลือ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ยังคงคาดการณ์การเติบโตสำปรับปี 2566 ที่ 2.1 ล้านบาร์เรล/วัน

ขณะเดียวกัน อุปสงค์จากกลุ่มประเทศร่ำรวยใน OECD คิดเป็นอุปสงค์ส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ ขณะที่ประเทศนอก OECD โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนจะหนุนการเติบโตในปีหน้า หากจีนผ่อนคลายกฎควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น 2.4 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล

EIA ยังเปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคูชิง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าของสหรัฐ ลดลง 200,000 บาร์เรล

ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 1.8 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล

นอกจากนี้ สต็อกน้ำมันกลั่น ซึ่งรวมถึงฮีตติ้งออยล์และน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 4.2 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 800,000 บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI พุ่งขึ้นกว่า 2% เหนือระดับ 89 ดอลลาร์ในวันนี้ ขานรับรายงานของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ซึ่งคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันที่แข็งแกร่ง

ณ เวลา 20.55 น.ตามเวลาไทย สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนต.ค. ซึ่งมีการซื้อขายที่ตลาด NYMEX เพิ่มขึ้น 2.05 ดอลลาร์ หรือ 2.35% สู่ระดับ 89.36 ดอลลาร์/บาร์เรล

ราคาน้ำมันร่วงลงวานนี้ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลังการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจเผชิญภาวะถดถอย และส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน

ด้านโอเปกคาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันยังคงมีความแข็งแกร่งในปี 2565 และ 2566 โดยได้อานิสงส์จากการขยายตัวของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่

นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ในวันนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 200,000 บาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว โดยลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน

ราคาทองฟิวเจอร์ร่วงลงใกล้หลุดระดับ 1,710 ดอลลาร์ โดยปรับตัวลงต่อเนื่องจากวานนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ณ เวลา 21.11 น.ตามเวลาไทย สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลบ 4.1 ดอลลาร์ หรือ 0.24% สู่ระดับ 1,713.20 ดอลลาร์/ออนซ์

ถึงแม้ทองได้รับการมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ และเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในยามที่ตลาดเผชิญความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจ แต่การที่เฟดมีแนวโน้มเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็ได้บดบังปัจจัยบวกดังกล่าว โดยการดีดตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือครองทอง เนื่องจากทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย

นักลงทุนเพิ่มการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในเดือนนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สูงกว่าคาด

ทั้งนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวเป็นข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญตัวสุดท้าย ก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 20-21 ก.ย.

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 36% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% สู่ระดับ 3.25-3.50% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนัก 64% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%

ก่อนหน้านี้ นักลงทุนไม่เคยให้น้ำหนักว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมเดือนก.ย. และเพิ่งเริ่มให้น้ำหนัก 18% เมื่อวานนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงเกินคาด

ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก โดยถูกกดดันจากการแข็งค่าของเยน หลังจากที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งสัญญาณเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตรา

ณ เวลา 21.24 น.ตามเวลาไทย ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลบ 0.18% สู่ระดับ 109.62 ขณะที่ดอลลาร์ร่วงลง 1.28% สู่ระดับ 142.70 เยน ส่วนยูโรดิ่งลง 1.2% สู่ระดับ 142.35 เยน และขยับขึ้น 0.03% สู่ระดับ 0.997 ดอลลาร์

เยนแข็งค่าในวันนี้ โดยได้ปัจจัยหนุนจากการคาดการณ์ว่า BOJ อาจเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อสกัดการอ่อนค่าของเยน

แหล่งข่าวระบุว่า BOJ ได้ดำเนินการตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนในวันนี้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวถูกมองว่าเป็นสัญญาณล่วงหน้าที่บ่งชี้ว่า BOJ อาจเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราโดยตรง

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้น หลังจากนายชูนิชิ ซูซูกิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น กล่าวว่า ญี่ปุ่นจะใช้ทุกทางเลือก ซึ่งรวมถึงการเข้าแทรกแซงตลาดโดยตรง หากเยนยังคงทรุดตัวลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ

ดอลลาร์ดอลลาร์ดีดตัวขึ้นวานนี้ หลังการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 36% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% สู่ระดับ 3.25-3.50% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนัก 64% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทระยะสั้นยังคงดีดตัวขึ้นในวันนี้ แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวได้ปรับตัวลง

ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) พุ่งขึ้นเหนือระดับ 3.8% แตะระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี

ณ เวลา 22.28 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี อยู่ที่ระดับ 3.765% หลังพุ่งแตะระดับ 3.834% ก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2550 ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับตัวลงสู่ระดับ 3.393% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 3.471%

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวขึ้นวานนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 36% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% สู่ระดับ 3.25-3.50% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนัก 64% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย