รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ตลาดขานรับการประกาศตัวเลขดัชนี PMI เมื่อวานนี้อย่างไร Part 1

เผยแพร่ 24/08/2565 18:24

ในเมื่อวานนี้ได้มีการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นอย่างมาก นั่นคือ ดัชนี PMI ออกมากันอย่างพร้อมเพรียงในทุกภูมิภาคเลยนะครับ ทั้งการประกาศตัวเลขดัชนี PMI ของญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี ยูโรโซน และสหรัฐ

ตัวเลขดัชนี PMI นั้นถือว่าเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากดัชนี PMI นั้นเป็นอีกหนึ่งตัวเลขทางเศรษฐกิจที่บ่งชี้ได้ว่า...เศรษฐกิจของประเทศนั้นๆจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอนาคตหรือไม่

และสำหรับการประกาศตัวเลขดัชนี PMI ของประเทศต่างๆในเมื่อวานนี้ ได้มีการประกาศตัวเลขออกมาทั้งหมด 3 ตัวด้วยกันนะครับ นั่นคือ

1. ดัชนี PMI ภาคการผลิตประจำเดือนสิงหาคม

2. ดัชนี PMI ภาคการบริการประจำเดือนสิงหาคม

3. ดัชนี PMI รวมทั้งภาคการผลิตและภาคการบริการ ประจำเดือนสิงหาคม

ตัวเลขที่ออกมาสูงกว่า 50 จะบ่งชี้ถึงการขยายตัว ส่วนตัวเลขที่ออกมาต่ำกว่า 50 จะบ่งชี้ถึงการหดตัว

และตัวเลขที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ดัชนี PMI ภาคการบริการครับ

เราไปสรุปการประกาศตัวเลขดัชนี PMI ที่ได้มีการประกาศออกมาในเมื่อวานนี้กัน

เริ่มตั้งแต่ในเวลา 07:30 นะครับ ได้มีการประกาศตัวเลขดัชนี PMI ของทางญี่ปุ่นออกมา

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นของ Jibun Bank ปรับลดลงสู่ระดับ 51.0 ในเดือนส.ค. จากระดับ 52.1 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีที่แล้ว

อย่างไรก็ดี ดัชนี PMI ที่ระดับสูงกว่า 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของญี่ปุ่นยังคงมีการขยายตัว

ตัวเลข PMI ภาคการผลิตปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จากการปรับลดลงของผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่โดยรวม โดยยอดคำสั่งซื้อใหม่หดตัวในอัตราเร็วที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี

ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการขั้นต้นปรับลดลงสู่ 49.2 ในเดือนส.ค. จากระดับ 50.3 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมี.ค.

สำหรับดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและภาคบริการขั้นต้น รับลดลงสู่ระดับ 48.9 ในเดือนส.ค. จากระดับ 50.2 ในเดือนก.ค.

การขยายตัวของกิจกรรมภาคการผลิตของญี่ปุ่นชะลอตัวสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 19 เดือนในเดือนส.ค. เนื่องจากผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อใหม่ปรับตัวลดลงมากยิ่งขึ้น ท่ามกลางแรงกดดันที่เพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องของต้นทุนวัตถุดิบและพลังงาน รวมถึงอุปสงค์โลกที่อ่อนแรงลง

ขณะที่ กิจกรรมในภาคบริการหดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน เนื่องจากการปรับลดลงของธุรกิจใหม่สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ที่อ่อนแอในประเทศ

ต่อมาในเวลา 15:00 ได้มีการประกาศตัวเลขดัชนี PMI ของทางยูโรโซนออกมาเช่นกัน

เอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยในเมื่อวานนี้ (23 ส.ค.) ว่า กิจกรรมทางธุรกิจในยูโรโซนหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดกันในเดือนส.ค. โดยวิกฤติค่าครองชีพบีบให้ผู้บริโภคต้องปรับลดการใช้จ่าย ขณะที่ข้อจำกัดด้านอุปทานส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตเช่นกัน

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคผลิต-บริการขั้นต้นของยูโรโซน ลดลงสู่ระดับ 49.2 จุดในเดือนส.ค. จากระดับ 49.9 จุดในเดือนก.ค. และสูงกว่าคาดการณ์ที่ 49.0

ทั้งนี้ ดัชนี PMI ที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่า ภาคธุรกิจของยูโรโซนอยู่ในภาวะหดตัว นอกจากนี้ยังเป็นตัวเลข PMI รวมขั้นต้นที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ก.พ 2564

PMI ภาคบริการของยูโรโซนร่วงลงแตะ 50.2 จุดจาก 51.2 จุด เหนือกว่าเส้นแบ่ง 50 จุดเล็กน้อย

ส่วน PMI ภาคการผลิตลดลงสู่ระดับ 49.7 จุด จาก 49.8 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2563

แอนดรูว์ ฮาร์เกอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจของเอสแอนด์พี โกลบอล กล่าวว่า "ข้อมูล PMI ล่าสุดสำหรับยูโรโซนบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจอยู่ในภาวะหดตัวในไตรมาส 3" โดยผลสำรวจของรอยเตอร์เมื่อเดือนที่แล้วคาดว่าไตรมาสนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวเพียง 0.2%

ตัวเลขดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจจะไม่ฟื้นตัวเร็ว ๆ นี้ ขณะที่อุปสงค์ก็ลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยดัชนีธุรกิจใหม่อยู่ที่ 47.7 จุด มากกว่าเดือนก.ค.ที่ 47.6 จุดเล็กน้อย

และปิดท้ายกันที่ในเวลา 20:45 นะครับ ได้มีการประกาศตัวเลขดัชนี PMI ของทางสหรัฐออกมาด้วยเช่นเดียวกัน

เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 45.0 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 27 เดือน จากระดับ 47.7 ในเดือนก.ค.

ดัชนี PMI ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคธุรกิจของสหรัฐอยู่ในภาวะหดตัว โดยหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ขณะที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน แม้ว่าความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน

ทั้งนี้ ดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้น อยู่ที่ 51.3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 25 เดือน จากระดับ 52.2 ในเดือนก.ค.

ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้น อยู่ที่ 44.1 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 27 เดือน จากระดับ 47.3 ในเดือนก.ค.

แต่ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐยังไม่หมดนะครับ ยังมีอีกหนึ่งตัวเลขที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

ในเวลา 21:00 ได้มีการประกาศยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐประจำเดือนกรกฎาคมออกมานะครับ

ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐ เป็นอีกหนึ่งตัวเลขที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน เนื่องจากจะบ่งบอกถึงผลกระทบของปัญหาเงินเฟ้อในภาคส่วนอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่ดิ่งลง 12.6% สู่ระดับ 511,000 ยูนิตในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2559 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 575,000 ยูนิต จากระดับ 585,000 ยูนิตในเดือนมิ.ย.

เมื่อเทียบรายปี ยอดขายบ้านใหม่ทรุดตัวลง 29.6% ในเดือนก.ค.

ยอดขายบ้านใหม่ได้รับผลกระทบจากราคาบ้านในระดับสูง และการดีดตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง

นอกจากนี้ ราคาเฉลี่ยของบ้านใหม่เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 439,400 ดอลลาร์ในเดือนก.ค.

ส่วนสต็อกบ้านใหม่เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 464,000 ยูนิต

เมื่อพิจารณายอดขายบ้าน และสต็อกบ้านในตลาด พบว่า ผู้ขายบ้านต้องใช้เวลา 10.9 เดือนในการขายบ้านจนหมดสต็อกในตลาด

และเราไปดูกันครับว่าตลาดขานรับข่าวนี้อย่างไร

1. ตลาดหุ้นยุโรป ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันอังคาร (23 ส.ค.) โดยปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับราคาพลังงานที่พุ่งขึ้น และแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอ หลังจากข้อมูลบ่งชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคหดตัวลงในเดือนนี้

ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 431.35 จุด ลดลง 1.82 จุด หรือ -0.42%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,362.02 จุด ลดลง 16.72 จุด หรือ -0.26%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 13,194.23 จุด ลดลง 36.34 จุด หรือ -0.27% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,488.11 จุด ลดลง 45.68 จุด หรือ -0.61%

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 1 เดือน โดยถูกกดดันจากผลสำรวจกิจกรรมทางธุรกิจของยูโรโซนที่หดตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือนส.ค. ขณะที่วิกฤตค่าครองชีพทำให้ผู้บริโภคปรับลดการใช้จ่าย และภาวะอุปทานชะงักงันส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ผลิต โดยในเยอรมนีนั้น ภาวะชะลอตัวรุนแรงขึ้นในเดือนส.ค. เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ เผชิญกับอุปสงค์ที่อ่อนแอลงเพราะเงินเฟ้อสูง, อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

ดัชนีกิจกรรมการผลิตของเยอรมนีปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 49.8 ในเดือนส.ค. จาก 49.3 ในเดือนก.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 48.2 แต่ดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตยังคงหดตัว

หุ้นกลุ่มรถยนต์, ธนาคาร และพลังงานปรับตัวขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นจากความวิตกเกี่ยวกับภาวะอุปทานตึงตัว

ราคาก๊าซในสหภาพยุโรป พุ่งขึ้น 13% สู่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากรัสเซียจะหยุดส่งก๊าซไปยังยุโรปผ่านท่อนอร์ดสตรีม 1 เป็นเวลา 3 วันในสิ้นเดือนนี้

บรรดานักลงทุนวิตกเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในตลาดยุโรป เนื่องจากคาดว่าวิกฤตพลังงานจะรุนแรงขึ้น

นอกจากนี้ นักลงทุนยังชะลอการซื้อขายหุ้นก่อนการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่เมืองแจ็กสันโฮล รัฐไวโอมิ่งในวันศุกร์นี้ โดยจะรอฟังการแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดเกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงินของสหรัฐ

2. ตลาดหุ้นอังกฤษ

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลดลงในวันอังคาร (23 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับวิกฤตก๊าซในยุโรป และข่าวเกี่ยวกับกิจกรรมทางธุรกิจที่ชะลอตัวลงเกินคาดทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้ การที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นได้ถ่วงหุ้นกลุ่มส่งออกลดลง

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,488.11 จุด ลดลง 45.68 จุด หรือ -0.61%

ราคาก๊าซที่พุ่งขึ้นในอังกฤษทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

ผลสำรวจบ่งชี้ว่า การขยายตัวของภาคเอกชนอังกฤษชะลอตัวลงในเดือนส.ค. เนื่องจากผลผลิตของโรงงานลดลง และภาคบริการขยายตัวเล็กน้อย ซึ่งบ่งชี้ว่าอาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันเนื่องจากนักลงทุนคาดว่า ธนาคารกลางอังกฤษจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมเดือนหน้า

เงินปอนด์ที่แข็งค่าขึ้นถ่วงหุ้นกลุ่มเภสัชภัณฑ์และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งมีรายได้เป็นสกุลเงินดอลลาร์

ทั้งนี้ เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอเกินคาดกระตุ้นความหวังว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง

หุ้นรายตัวที่ปรับตัวลง อาทิ หุ้นวู้ด บริษัทบริการด้านบ่อน้ำมันและวิศกรรม ร่วงลง 2.4% หลังรายงานผลประกอบการลดลง 5% ในช่วงครึ่งปีแรก

3. ตลาดหุ้นสหรัฐ

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร (23 ส.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งรวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการที่หดตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่เมืองแจ็กสัน โฮล ในสัปดาห์นี้

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,909.59 จุด ลดลง 154.02 จุด หรือ -0.47%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,128.73 จุด ลดลง 9.26 จุด หรือ -0.22% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,381.30 จุด ลดลง 0.27 จุด หรือ -0.00%

บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐ โดยเอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 45.0 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 27 เดือน จากระดับ 47.7 ในเดือนก.ค.

ทั้งนี้ ดัชนี PMI อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคธุรกิจของสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะหดตัว เนื่องจากผลกระทบจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีที่ยังคงอยู่เหนือระดับ 3% โดยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีเป็นพันธบัตรที่ใช้อ้างอิงในการกำหนดราคาของตราสารหนี้ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง หากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้น จะทำให้บริษัทต่าง ๆ เผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นจากการชำระหนี้ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทเหล่านี้ลดการลงทุน และลดการจ่ายเงินปันผลแก่นักลงทุน

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปียังคงยืนเหนือระดับ 3% ในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขเศรษฐกิจ ก่อนการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 3.048% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.248%

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐยังคงถูกกดดันจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ นักลงทุนหันมาคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในเดือนก.ย. หลังก่อนหน้านี้คาดว่าจะปรับขึ้นเพียง 0.50%

FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 56.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนักเพียง 43.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50%

ก่อนหน้านี้ นักลงทุนให้น้ำหนัก 68.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนักเพียง 31.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%

แต่ล่าสุดนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนก.ย. หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอในเมื่อคืนนี้

ล่าสุด ตัวเลขคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% และ 0.75% ในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนก.ย.เริ่มเข้าใกล้ 50-50 หลังจากที่ก่อนหน้านี้นักลงทุนเทน้ำหนักว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ในขณะนี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 51.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนัก 48.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%

นักลงทุนจับตาการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 25-27 ส.ค. โดยคาดว่าเฟดจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ ทิศทางอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งการปรับลดขนาดงบดุล (QT)

สำหรับหัวข้อในการประชุมประจำปีนี้คือ "Reassessing Constraints on the Economy and Policy" โดยนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด จะขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในวันศุกร์ที่ 26 ส.ค.เวลา 10.00 น.ตามเวลาสหรัฐ หรือ 21.00 น.ตามเวลาไทย

นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 2/2565 และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ

4. ตลาดสกุลเงินต่างประเทศ

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (23 ส.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอความแรงในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.39% แตะที่ระดับ 108.6240

ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 136.85 เยน จากระดับ 137.50 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2964 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3051 ดอลลาร์แคนาดา แต่ดอลลาร์แข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9647 ฟรังก์ จากระดับ 0.9646 ฟรังก์

ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ที่ระดับ 0.9963 ดอลลาร์ จากระดับ 0.9935 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.1818 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1753 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.6922 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6872 ดอลลาร์สหรัฐ

ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐ โดยเอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 45.0 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 27 เดือน จากระดับ 47.7 ในเดือนก.ค.

นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังอ่อนค่าจากการที่นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนก.ย. หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอเมื่อคืนนี้ โดยล่าสุด ตัวเลขคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% และ 0.75% ในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนก.ย.เริ่มเข้าใกล้ 50-50 หลังจากที่ก่อนหน้านี้นักลงทุนเทน้ำหนักว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%

ก่อนหน้านี้ นักลงทุนให้น้ำหนัก 56.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนักเพียง 43.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50%

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ในขณะนี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 51.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนัก 48.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%

ยูโรยังคงปรับตัวต่ำกว่า 1 ดอลลาร์ในวันนี้ แตะระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปี ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานในยุโรป ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจเผชิญภาวะถดถอย

ยูโรร่วงลง 12% เทียบดอลลาร์ในปีนี้ โดยถูกกดดันจากการที่รัสเซียลดการส่งก๊าซไปยังยุโรปเพื่อตอบโต้ต่อมาตรการคว่ำบาตรจากยุโรป หลังจากที่รัสเซียส่งกำลังทหารบุกโจมตียูเครนตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ.

ก๊าซพรอม ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานรายใหญ่ของรัสเซีย ประกาศว่า บริษัทจะปิดท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 ในวันที่ 31 ส.ค.-2 ก.ย.เพื่อทำการซ่อมบำรุง

การปิดท่อส่งก๊าซดังกล่าวจะส่งผลให้ยุโรปเผชิญวิกฤตพลังงาน ซึ่งจะทำให้ราคาก๊าซพุ่งขึ้น และเงินเฟ้อดีดตัวขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจอาจเผชิญภาวะถดถอย

นอกจากนี้ ยูโรยังถูกกดดัน หลังเอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยว่า กิจกรรมทางธุรกิจในยูโรโซนหดตัวลงเป็นเดือนที่ 2

ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคผลิต-บริการขั้นต้นของยูโรโซน ลดลงสู่ระดับ 49.2 จุดในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2564 จากระดับ 49.9 จุดในเดือนก.ค. โดยดัชนี PMI ที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคธุรกิจของยูโรโซนอยู่ในภาวะหดตัว

ส่วนเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอเกินคาดกระตุ้นความหวังว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง

ในส่วนของทางด้านตลาดทองคำ ตลาดน้ำมัน ตลาดหุ้นเอเชียในวันนี้ และตลาดหุ้นยุโรปในช่วงบ่ายที่ผ่านมาจะขานรับข่าวการประกาศตัวเลขดัชนี PMI ออกมาอย่างไร รอติดตามกันในบทวิเคราะห์ Part 2 นะครับ!!!

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ความคิดเห็นล่าสุด

ขอบคุณมากครับอาจารย์
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย